ตัวโลน
เกิดจากแมลงตัวเล็กที่เรียกว่า
pediculosis pubis อาศัยอยู่ที่ขนหัวเหน่า ดูดเลือดคนเราเป็นอาหาร หากอดอาหาร 24 ชั่วโมงตัวเชื้อจะตายผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการคันเป็นหลัก
เมื่อเกาจะทำให้เจ้าตัวเชื้อแพร่ไปยังบริเวณอื่น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยตาเปล่า
จะพบไข่สีขาวเกาะตรงโคนขน ไข่จะมีลักษณะวงรี ส่วนตัวแมลงเมื่อกินเลือดเต็มที่จะออกสีน้ำตาล
การติดต่อตัวโลน
- ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อจะอาศัยอยู่บริเวณขนที่หนา
เช่นขนตา ขนคิ้ว ขนบริเวณหัวเหน่าแต่จะไม่ติดบนผม เมื่อมีเพศสัมพันธ์เชื้อจะติดจากขนของคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่ง
- ติดต่อทางอื่นที่มิใช่จากเพศสัมพันธ์
เช่นการนอนเตียงหรือใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนที่ติดเชื้อ ใส่เสื้อผ้าของคนที่ติดเชื้อ
หรือนั่งบนโถส้วมที่มีเชื้ออยู่
อาการของตัวโลนเป็นอย่างไร
- อาการที่สำคัญคืออาการคันบริเวณที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะบริเวณหัวเหน่า
- อาจจะสังเกตเห็นตัวโลนที่หัวเหน่า
- สังเกตพบไข่ที่โคนขนหัวเหน่า
- อาจจะพบรอยช้ำบริเวณที่ตัวโลนดูดเลือด
- อาจจะพบตัวโลนในบริเวณอื่น
เช่นขนรักแร้ เครา ขนคิ้ว ขนตา
การวินิจฉัยตัวโลน
- ท่านสามารถเห็นไข่หรือตัวเชื้อด้วยตาเปล่า
หรืออาจจะใช้แว่นขยาย
- หากท่านสงสัยก็ไปพบแพทย์ซึ่งจะนำไปส่องกล้อง
การรักษาตัวโลน
การรักษาตัวโลนสามารถซื้อยาทาได้ตามร้านขายยา
แต่คนท้องหรือเด็กควรจะปรึกษาแพทย์
การป้องกัน สมาชิกในครอบครัว
เพื่อนสนิท คู่นอนควรจะได้รับการดูแลพร้อมกันเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
เสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนควนจะนำไปต้มหรือซักแห้ง แล้วรีดด้วยเตารีด ตัวแมลงอยู่ได้เพียง
24 ชั่วโมงเมื่อไม่ได้อยู่กับคน ส่วนไข่อยู่ได้นานถึง 6 วัน
- Permethrin creamทาบริเวณที่ติดเชื้อทิ้งไว้
10 นาแล้วล้างออก ไม่ใช้บริเวณที่ขนตา
- Lindane shampoo ใช้สระขนบริเวณที่เป็นทิ้งไว้
4 นาทีแล้วล้างออก ไม่ใช้บริเวณขนตา ไม่ใช้ในคนที่เป็นโรคลมชัก ไม่ใช้บริเวณที่มีแผล
หรือคนท้อง หรือเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
- Pyrethrins ใช้สระขนทิ้งไว้
10 นาทีแล้วล้างออก
การป้องกันตัวโลน
- หลังจากรักษา ท่านสามารถกำจัดไข่โดยการใช้เล็บหยิบออก
- เปลี่ยนชุดและที่นอนใหม่ที่สะอาด
- รักษาคู่ขา
- งดร่วมเพศจนกระทั่งรักษาหายขาดแล้ว
- หลังจากรักษาแล้วเสื้อผ้า
ที่นอน เครื่องใช้ยังติดต่อ เพราะฉะนั้นต้องนำเสื้อผ้า ผ้าห่ม เครื่องนอนทั้งหลายไปต้มและอบแห้งด้วยความร้อน
- อุปกรณ์ที่ต้มหรืออบไม่ได้ต้องนำอุปกรณ์ดังเกล่าเก็บไว้ในถุงหรือลังไว้
2 สัปดาห์