jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

ข้อเท้าแพลง การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยข้อเท้าแพลง

เมื่อผู้ป่วยสงสัยว่ามีอาการข้อเท้าแพลงไปพบแพทย์ ในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจร่างกายดังนี้

หากอาการบาดเจ็บมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสแกนข้อเท้า เพื่อวินิจฉัยอาการจากภาพฉายภายใน ซึ่งจะตรวจสอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูก กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อในข้อเท้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

หลักการรักษาข้อเท้าแพลง

ข้อเท้าแพลงส่วนใหญ่สามารถดูแลด้วยตัวเองที่บ้านได้สำหับรับในรายที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมิ นและวางแผนการรักษาขั้นตอนการรักษาทั้งได้รับบาดเจ็บไม่รุนแรงจนถึงรุนแรงแบ่งเป็นสามระยะ

ทั้งสามระยะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับรายที่ได้รับบาดเจ็บไม่รุนแรง ส่วนรายที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจะใช้เวลา 6-12 สัปดาห์

การตรวจรักษาข้อเท้าแพลง

หลังจากที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วและอาการเริ่มดีขึ้นก็ให้เริ่มต้นบริหารโดยการ

การรักษาข้อเท้าแพลง

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษาและฟื้นตัว ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการให้แน่ชัด ว่ามีอาการรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับกระดูกหรือเนื้อเยื่อส่วนอื่นด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใด แพทย์อาจมีวิธีการรักษาและแนะนำขั้นตอนปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

การใช้อุปกรณ์ช่วย นอกจากการใช้ผ้ายืดพันยึดรอบข้อเท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์แบบสวมพยุงข้อเท้า (Brace) หรือใช้ไม้เท้าCrutchesช่วยพยุงร่างกายในขณะเคลื่อนไหว

การบำบัด หลังอาการบวมและบาดเจ็บหายไป ผู้ป่วยอาจต้องฝึกออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะบริหารบริเวณข้อเท้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของเอ็นและกล้ามเนื้อ และฝึกการทรงตัวให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมภายใต้คำแนะนำของแพทย์

การทำหัตถการ หากอาการปวดบวมจากข้อเท้าแพลงไม่คงที่หรือไม่บรรเทาลง แพทย์อาจส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใส่เฝือกดามบริเวณข้อเท้า หรือใส่เฝือกรองเท้าช่วยเดิน (Walking Boot) จนกว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นและกลับมาเดินได้ตามปกติ

การผ่าตัด

แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการข้อเท้าแพลง หากอาการข้อเท้าแพลงไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ หรืออาการข้อเท้าแพลงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้เอ็น และกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นอย่างรุนแรง

แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดรักษาข้อเท้าแพลงตามความรุนแรงของอาการ เช่น

การพักฟื้นหลังการผ่าตัด หลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน โดยผู้ป่วยควรดูแลตนเองและพักฟื้นร่างกายภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มาพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อรับการตรวจและติดตามผล บริหารข้อเท้า ออกกำลังกาย หรือทำกายภาพบำบัดตามที่แพทย์แนะนำ

ภาวะแทรกซ้อนของข้อเท้าแพลง

หากเกิดอาการข้อเท้าแพลงขึ้นแล้วปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นได้ เช่น เกิดอาการปวดอย่างเรื้อรัง เกิดภาวะเอ็นข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง เสี่ยงเกิดข้ออักเสบเร็วขึ้น เป็นต้น

ถ้ายังปวดอยู่อาจเสี่ยงต่ออาการของข้อหลวม ควรรีบพบแพทย์ นอกจากข้อหลวมยังมีอาการอื่นที่ไม่สามารถรักษาเองได้ เช่น กระดูกอ่อนมีการบาดเจ็บ หรือมีผังพืดเกิดเยอะและขัดภายในข้อ วิธีสังเกตอาการให้ยึดที่อาการปวดเป็นหลัก ถ้าทานยาแล้วอาการปวดไม่ลดลงเลย หรือเป็นมากขึ้นหลังผ่านไป 2-3 วัน ควรให้แพทย์ดูอาการ

การป้องกันข้อเท้าแพลง

การทำกายภาพ

การทำกายภาพบำบัดจะป้องกันข้อติด เพิ่มความแข็งแรงของข้อ และป้องกันปัญหาข้ออักเสบเรื้อรง ซึ่งมีหลักการทำดังนี้

การป้องกันข้อเท้าแพลง

โรคข้อเท้าและเอ็น