โรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมหมายถึงโรคของข้อที่เกิดกับกระดูกอ่อน cartilage และเยื่อหุ้มข้อ ทำให้มีการสร้างเนื้อเยื่อจำนวนมาก โดยมากจะเกิดบริเวณข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกหลัง
![]() |
![]() ตำแหน่งข้อเสื่อมที่พบบ่อย |
![]() |
ปกติข้อของคน จะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ปลายกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อราบรื่น กระดูกอ่อนสามารถรับแรงกระแทกจากกระดูก ผู้ที่เกิดกระดูกเสื่อม จะมีกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อสึกและบางลง ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูก เมื่อเวลาเคลื่อนไหว จะเกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เมื่อเวลาผ่านไป จะมีการงอกของหินปูนเข้าไปในข้อ และมีเศษกระดูกลอยในข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อ และเคลื่อนไหวลำบาก
ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าท่านเป็นข้อเสื่อม
เนื่องจากโรคนี้จะมีอาการค่อยเป็นโดยที่ผู้ที่ป่วยไม่ทราบ ข้อที่เสื่อมสามารถเป็นได้ทุกข้อ อาการจะเริ่มต้นด้วยอาการปวดโดยมากมักจะปวดตอนเช้า ออกกำบังแล้วหาย หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลง เวลาขยับข้อจะเกิดเสี่ยงกระดูกเสียดสีกัน หลังจากนั้นข้อจะโตขึ้น เนื่องจากมีการสะสมของกระดูกอ่อน เอ็น และเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เวลาเดินจะทำให้ปวดมากขึ้น
ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลัง จากรูปจะพบว่าข้อนิ้วผิดรูป และข้อบวม อาการตามข้อต่างๆ
- ข้อมือโดยเฉพาะข้อนิ้วเป็นข้อปลายนิ้วทำให้เกิดตุ่มที่เรียกว่าHeberden nodes มักจะมีประวัติในครอบครัวเป็นมากในผู้หญิง ข้อนิ้วที่เป็นจะใหญ
- ข้อเข่า
- ข้อสะโพก
- กระดูกสันหลัง
สาเหตุของข้อเสื่อม
- อายุ พบมากในคนสูงอายุแต่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
- อ้วน
- ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือจากการทำงาน
- กรรมพันธ์
- อายุน้อยกว่า 45 ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง อายุมากกว่า 45 ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
อาการของข้อเสื่อม
- มักจะปวดข้อตลอดวัน หรือปวดมากเวลาใช้งาน เวลาพักจะหายปวด ปวดตอนกลางคืน
- ข้อติดขณะพัก พอขยับข้อก็หายติด แต่ข้อไม่ติดตอนเช้าเหมือนโรครูมาตอยด์
- ข้อบวม มักจะเป็นที่กระดูกที่โตขึ้น
สัญญาณเตือนว่าจะเป็นโรคเข่าเสื่อม
- มีอาการปวดข้ออยู่ตลอดเวลา
- ข้อจะยึดหรือข้อติดหลังจากตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
- ข้อบวมหรือกดเจ็บ
- รู้สึกเหมือนกระดูกกระทบกัน
- ข้อเสื่อมมักจะไม่แดงหรือร้อน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายรวมทั้งการx-ray