การตรวจหัวใจโรคหัวใจวายหรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ

การตรวจ Echo มีประโยชน์มากในการประเมินการทำงานของหัวใจ การตรวจนี้สามารถบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาเท่าใด หัวใจโตหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ โรคหรือกลุ่มอาการที่การตรวจ Echo ประโยชน์ของการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงคือ

  1. ประเมินการทำงานของหัวใจโดยการดู Ejaction fraction (ปริมาณเลือดที่บีบตัวออกแต่ละครั้งเมื่อเทียบกับปริมาณเลือดในหัวใจ)
  2. ประเมินดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนมีการทำงานผิดปกติหรือไม่(regional Left ventricular function)

กลุ่มโรคที่จะตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง

  • ผู้ป่วยที่มีอาการบวมและหอบเหนื่อย อาการบวมเกิดจากโรคหัวใจ ตับ ไต โรคหัวใจที่ทำให้เกิดบวมได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ และโรคที่เยื่อหุ้มหัวใจ การใช้ Echo จะช่วยบอกว่าอาการบวมนี้เกิดจากโรคหัวใจหรือไม่
  • ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการของโรคหัวใจวาย หัวใจวายเป็นภาวะที่บอกว่าหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างพอเพียงทำให้เกิดกลุ่มอาการและอาการแสดง (รายละเอียดอ่านที่นี่ ) การจะบอกว่วหัวใจวายเกิดจากโรคอะไรจะต้องใช้ echo ช่วยการวินิจฉัย ภาวะหัวใจวายอาจจะเกิดจากหัวใจบีบตัวไม่ดีเราเรียก systolic dysfunction เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง ส่วนโรคหัวใจวายที่เกิดจากหัวใจคลายตัวไม่ดีเราเรียก dyastolic dysfunction เช่นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจหนา
  • Hypertrophic Cardiomyopathy โรคนี้กล้ามเนื้อหัวใจจะหนามากทำให้เกิดอาการหัวใจวาย
  • ดูหัวใจห้องขวา

 

การใช้เครื่อง Echocardiography ในการตรวจโรคเยื่อหุ้มหัวใจ

ประโยชน์ของการตรวจ echo มีดังนี้

  1. ตรวจหาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ pericardial effusion
  2. ตรวจภาวะน้ำบีบหัวใจ cardiac temponade หมายถึงภาวะที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ่มหัวใจมากจนกระทั่งเลือดไม่สามารถไหลกลับเข้าหัวใจ เกิดอาการหัวใจวาย
  3. ตรวจหาความหนาของเยื่อหุ้มหัวใจ
  4. ตรวจหาภาวะเยื่อหุ้มหัวใจไม่ขยาย constrictive pericarditis

การใช้เครื่อง Echocardiography ในการตรวจโรคเนื้องอกหัวใจ

สามารถตรวจหาเนื้องอกในหัวใจทั้งห้องบนและห้องล่างรวมทั้งเนื้องอกที่แพร่กระจายมาจากที่อื่น

การใช้เครื่อง Echocardiography ในการตรวจโรคหลอดเลือดแดง

โรคที่ได้ประโยชน์คือ

  • Aortic Aneurysm
  • Aortic Dissection
  • Aortic Intramural Hematoma
  • Aortic Rupture and Thoracic Degenerative Disease
  • โรคของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด Pulmonary vein

การใช้ ehocardiography ในการตรวจผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

  • ประโยชน์ช่วยในการวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ เพราะผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาจะมีผลสู้คนที่หัวใจปกติไม่ได้
  • ช่วยในการหา Ejaction
  • ประโยชน์ช่วยวินิจฉัยหัวใจวาย
  • ประโยชน์ในการหาโรคแทรกซ้อน เช่นเส้นเลือดหัวใจตับ

การใช้ ehocardiography ในการตรวจผู้ป่วยโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ

ผู้ป่วยที่มาอาการอ่อนแรงของแขนขามีสาเหตุใหญ่สมองประการคือ สมองขาดเลือด และเส้นเลือดสมองแตก ส่วนสมองขาดเลือดก็มีสาเหตุสองประการคืคเส้นเลือดตีบและมีลิ่มเลือดลอยไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง สาเหตุของลิ่มเลือดนี้เกิดในหัวใจเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะโรคหัวใจดังต่อไปนี้

  • Mitral stenosis
  • Dilated cardiomyopathy
  • Left ventricular aneurysm
  • Atrial septal aneurysm
  • Left ventricular thrombus
  • Patent foramen ovale
  • Mitral valve prolapse
  • Aortic atheroma
  • Vegetation
  • Atrial septal defect

ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดปกติหรือมีอาการใจสั่น

หัวใจเต้นผิดปกติหรืออาการใจสั่นอาจจะเกิดจากระบบการสร้างไฟฟ้าหัวใจหรือทางเดินไฟฟ้าในหัวใจ หรืออาจจะเกิดจากโรคหัวใจก็ได้ การใช้ echo เพื่อตรวจว่าหัวใจมีโรคหรือไม่ และเพื่อวางแผนในการรักษา การตรวจ echo จะมีประโยชน์มากในการตรวจหัวใจภาวะดังต่อไปนี้คือ atrial fibrillationหรือ flutter, re-entrant
tachycardias, ventricular tachycardia, หรือ ventricular fibrillation.

สำหรับผู้ที่มีการเต้นผิดปกติแบบ atrial หรือ ventricular premature beats. จะทำการตรวจในรายที่สงสัยว่าจะมีโรคหัวใจเท่านั้น หรือผู้ป่วยมีความกังวลมาก

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง | การใช้ Echo | ตรวจโรคหัวใจอะไรบ้าง วิธีการตรวจมีกี่วิธี