อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


กลุ่มอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(Acute Coronary Syndrome )

ผู้ที่เป็นโรคโคโรนารี coronary disease จะมาโรงพยาบาลด้วย กลุ่มที่เรียกว่า Acute Coronary Syndrome เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน อาการที่สำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่อาการเจ็บหน้าอก กลุ่มโรคดังกล่าวได้แก่

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดซึ่งมีสองลักษณะคือ
    • กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด non-ST elevation myocardial infarction (NSTEMI)
    • กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด acute ST-elevation myocardial infarction (STEMI)

นอกจากนั้นยังมีอาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีได้หลายลักษณะได้แก่

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องหัวใจวาย Congestive heart failure
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตเฉียบพลัน Sudden cardiac death

กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด

เป็นกลุ่มที่มีรุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกเฉียบพลัน หายใจเหนื่อย หน้ามืดเป็นลม และจะต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการเนื่องจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจฟื้นคืนได้ สาเหตุของโรคกลุ่มนี้ได้แก่

  • เกิดการฉีดขาดของคราบไขมัน และเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดโคโรนารีทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด (STEMI)
  • เกิดจากคราบไขมันหนาขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ NSTEMI

กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคโคโรนารี coronary disease อาการเจ็บหน้าอกจะมีลักษณะเฉพาะ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการที่พบบ่อยของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • อาการแน่หน้าอก ตรงกลางหน้าอก เจ็บมากขึ้น พักหรืออมยาขยายหลอดเลือดจะไม่หายปวด
  • จุกเสียดบริเวณลิมปี่ แขซ้าย หรือคอและกรามด้านซ้าย
  • หายใจเหนื่อยหอบ อาจจะมีหรือไม่มีแน่หน้าอก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หน้าซีดเหงื่อออก
  • เวียนศีรษะหน้ามืด

Table 1. ความไวและความจำเพาะของอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแยกตามเพศ1

อาการ

หญิง ชาย
ความไว, % ความจำเพาะ, % ความไว, % ความจำเพาะ, %
แน่นหน้าอก 66 36 63 41
ปวดไหล่ 45 67 29 72
เหงื่อออก 37 70 33 70
ใจสั่น 27 66 17 77
อึกอัดหน้าอกChest discomfort 66 33 69 34
ปวดหลังส่วนบน 34 64 14 78
หายใจเหนื่อย 58 39 41 40
ปวดแขน 49 69 32 72
อ่อนเพลีย 40 54 32 52
คลื่นไส้ 38 58 30 70
เวียนหัว 40 55 34 58
เจ็บหน้าอก 67 37 72 36
จุกเสียดท้องอาหารไม่ย่อย 30 78 18 76

ACS indicates acute coronary syndrome.

aSensitive and/or specific for a diagnosis of ACS.

 


อาการเจ็บหน้าอกจะมีสองลักษณะคือ

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina อาการเจ็บหน้าอกจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย พักหรืออมยาก็หายปวด การดูแลทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการปรับยา
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina อาการเจ็บหน้าอกจะเจ็บนานและรุนแรงกว่าแบบแรก หากไม่รักษาอาจจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากขาดเลือด

กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือโคโรนารีแต่ไม่มีอาการเตือนเรื่องแน่นหน้าอก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีโรคแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตสูง

 

หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ปั้มเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและปั้มเลือดไปปอดเพื่อฟอกเลือด ในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจต้องได้รับ สารอาหารและ oxygen จากหลอดเลือด coronary arteries ซึ่งมีอยู่ 3 เส้น ถ้าหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดอุดด้วยลิ่มเลือด หรือตีบตันจากหลอดเลือดแข็งทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือด ภายใน 20 นาทีกล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะตาย

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ

หลอดเลือดหัวใจ

ภาพตัดขวางของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งมีการตีบ50% เมือมีการหดเกร็งของหลอดเลือดดังภาพซ้ายก็เกิดอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก Rest angina ส่วนภาพกลางมีการตีบ75%ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย Exercise-induced angina ส่วนภาพขวามีการตีบ 30%และไม่มีการหดเกร็งของหลอดเลือดจึงไม่เจ็บหน้าอก

จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด จะมีอาการเตือนก่อนเกิดการอุดตันประมาณ 1 เดือน และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการแน่หน้าอก สำหรับผู้หญิง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอาการอาจจะไม่เหมือนผู้ป่วยทั่วไปเช่น บางคนมาด้วยอาการเพลีย กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน อาการอาจจะมากน้อยต่างกัน



อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สำคัญคือ

  1. ผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการแน่นหน้าอก angina pectoris คล้ายมีของหนักทับหน้าอก บางคนบอกคล้ายมีอะไรมาบีบรัด เจ็บใต้กระดูกด้านซ้าย อาจเจ็บร้าวถึงขากรรไกรและแขนซ้ายอาการเจ็บมักจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกายเช่นวิ่งตามรถเมล์ เดินขึ้นสะพานลอย ยกของหนัก ภาวะเครียดจัด อาการเจ็บมักไม่เกิน 15-30นาทีและอมยาแล้วหายปวด พักแล้วอาการเจ็บจะหาย ทำให้คนทั่วไปคิดว่าไม่เป็นไร
  2. บางท่านอาจจะมาด้วยอาการเจ็บร้าวไปไหล่ คอ ขากรรไกร หลัง
  3. บางท่านอาจจะมีอาการปวดท้องโดยเฉพาะอาจจะเจ็บหน้าอกร้าวมาบริเวณลิ้มปี่
  4. อาจจะมีอาการหายใจเหนื่อยหรือหอบ หายใจไม่ออก เหนื่อย นอนราบไม่ได้เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายมาก ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้อย่างเพียงพอหรือจะเรียกว่าหัวใจวายก็ได้
  5. เวียนศรีษะ หน้ามืดจะเป็นลม หรือหมดสติเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  6. คลื่นไส้อาเจียน
  7. เหงื่อออก

หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกและมีอาการดังกล่าวข้างต้นเป็นครั้งแรกท่านต้องไปพบแพทย์ แต่หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกมานานและความรุนแรงไม่ได้เปลี่ยนแปลง ท่านอาจจะรับประทานยาเก่าต่อและปรึกษาแพทย์

คำแนะนำสำหรับอาการเจ็บหน้าอก

  1. ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกและสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดไม่ควรจะปรึกษาทางโทรศัพท์ ควรจะไปพบพทย์เพื่อประเมินอาการ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเจาะเลือด
  2. ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ควรจะรีบตามรถพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือตามยาติให้นำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
  3. ในรถพยาบาล หรือที่บ้านควรจะมี ASA ขนาด 300 มกไว้หากมีอาการเจ็บหน้าอกที่เหมือนกับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ให้เคี้ยวและกลืนทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีข้อห้ามในการให้ ASA
  4. สำหรับผู้ที่เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อน เมื่อเจ็บหน้าอกให้อมยา Nitroglycerin 1 เม็ดหากอาการปวดไม่หายให้โทรแจ้งรถพยาบาลทันทีก่อนที่จะอมยาเม็ดที่ 2 สำหรับผู้ที่อมยาแล้วหายปวดให้อมยาทุก 5 นาทีจำนวน 3 ครั้งหากอาการไม่ดีขึ้นให้ตามรถพยาบาล
  5. สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมกับอาการต่างๆได้แก่ เจ็บนานเกิน 20 นาที ความดันโลหิตต่ำ หน้ามือเป็นลม หายใจเหนื่อย ต้องรีบไปโรงพยาบาล

สำหรับท่านที่มีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ก่อนหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า unstable angina

  • เจ็บครั้งนี้เจ็บมากกว่าครั้งก่อนๆ
  • เจ็บครั้งนานกว่า 30 นาที
  • เจ็บครั้งนี้เกิดขณะพัก
  • เจ็บครั้งนี้อมยาแล้วไม่หายเจ็บ
  • เจ็บครั้งนี้เจ็บมากจนเหงื่อออก เป็นลม หรือหายใจหอบ

นอกจากนั้นอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยคือ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืดเป็นลม ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยเบาหวานบางรายไม่มีอาการแน่นหน้าอกแต่มาด้วยอาการใจสั่น เป็นลมหรืออาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยดังนี้

  • อาจะปวดจุกท้องบริเวณลิมปี่
  • หายใจไม่พอ หายใจสั้นๆ
  • กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย
  • ใจสั่นเหงื่อออก

ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจะพบแพทย์

สำหรับท่านทมีโรคซึ่งเป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และเป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ ท่านอาจจะสังเกตุว่าหากทำงานถึงระดับหนึ่งจะมีอาการแน่หน้าอก พักสักครู่ก็หายดดยที่ไม่ต้องอมยาใต้ลิ้น แต่หากอาการเจ็บหน้าอกของท่านเปลี่ยนไปดังต่อไปนี้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยโทรเบอร์ 1669

  • เจ็บหน้าอกขณะพัก
  • เจ็บแต่ละครั้งนานกว่าปกติอาจจะเจ็บนานถึง20 นาที
  • อาการเจ็บจะมากกว่าเก่ามาก
  • เจ็บจนเหงื่อออก
  • เจ็บจนเป็นลมหรือหน้ามืด
  • อมยาใต้ลิ้นแล้วไม่หายปวด หรือต้องอมบ่อย
  • มีอาการของหัวใจวาย อ่านเรื่องหัวใจวาย

1669

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบแพทย์ท่านไม่ควรขับรถไปเอง ให้โทรแจ้งเบอร์ 1669 ซึ่งควรจะไปถึงโรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งโรงพยาบาลใหญ่จะมีขบวนการที่เรียกว่า Fast track โดยการลดขั้นตอนเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่เร็วที่สุด

สำหรับท่านที่ไม่เคยเจ็บหน้าอกมาก่อนหากมีอาการเจ็บหน้าอกโดยเแพาะตรงกลางหน้าอก และอาจจะมีอาการเจ็บร้าวไปแขนหรือคอ แม้ว่าจะพักแล้วหาย ท่านต้องไปพบแพทย์ตรวจและจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อตรวจโรค

อาการดังต่อไปนี้ไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • เจ็บเหมือนถูกของแหลมตำเจ็บมากเมื่อไอหรือหายใจลึกๆ
  • เจ็บบริเวณกลางท้องลงข้างล่าง
  • ผู้ป่วยสามารถชี้จุดระบุตำแหน่งชัดเจน
  • อาการเจ็บเมื่อผู้ป่วยขยับหรือเมื่อกดหน้าอกแล้วเจ็บมากขึ้น
  • เจ็บหน้าอกต่อเนื่องเป็นชั่วโมงเนื่องจากผู้ป่วยที่หัวใจขาดเลือดมักจะมาโรงพยาบาลเนื่องจากปวดมาก
  • เจ็บไม่กี่วินาที
  • ปวดร้าวไปขา
กลไกการเกิดโรค ความเสี่ยงของการเกิดโรค

เพิ่มเพื่อน