การเจาะน้ำตาลในเลือด

การน้ำตาลในกระแสเลือดหมายถึงการเจาะเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือด กลูโคสในเลือดมาจากอาหารที่เรารับประทาน เช่น อาหารแป้ง ไขมัน หรือโปรตีน นอกจากนั้นน้ำตาลในเลือดส่วนหนึ่งมาจากการสร้าง เช่นจากตับ หรือการหลั่งจากน้ำตาลที่สะสมที่ตับ ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลินเพื่อนำน้ำตาลเข้าเซลล์


การเจาะน้ำตาลในเลือด

เราสามารถเจาะน้ำตาลได้หลายรูปแบบ



วัตถุประสงค์ของการเจาะน้ำตาลในเลือด

การเจาะเลือดมีกี่วิธี

1การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร Fasting blood sugar (FBS)

ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอื่นนอกเหนือจากน้ำอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องรอจนเจาะเลือดก่อนจึงรับประทานหรือฉีดยา อ่านเรื่องการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร

2การน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง 2-hour postprandial blood sugar

จะเจาะเลือดหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมงเหมาะสำหรับการเจาะเลือดด้วยตัวเองที่บ้านเพื่อประเมินผลการรักษาโรคเบาหวาน การน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง

3การเจาะนำตาลแบบสุ่ม Random blood sugar (RBS)

ท่านผู้ไม่ต้องเตรียมตัวอะไร เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะเจาะเลือดโดยที่ไม่ต้องงดอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการของเบาหวาน เช่นหิวบ่อย น้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อย หรือผู้ที่มีอาการเหมือนน้ำตาลในเลือดต่ำ

4การเจาะเลือดเพื่อวัดความทนทานต่อน้ำตาล Oral glucose tolerance test

เป็นการว่าร่างกายใช้น้ำตาลได้ดีเพียงใด โดยการให้ผู้ป่วยอดอาหาร 8 ชั่วโมงเมื่อมาถึงให้เจาะเลือด หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวาน แล้วเจาะหาระดับน้ำตาลที่ 1,2 และ3 ชั่วโมงหลังจากดื่มน้ำตาล การแปรผลขึ้นกับระดับน้ำตาลที่เจาะได้

5น้ำตาลเฉลี่ยหรือ glycohemoglobin A1c or Glycohemoglobin A1c

การเจาะเลือดนี้ไม่ต้องงดอาหารสามารถเจาะได้ตลอดเวลา ค่าแสดงจะเป็นค่าน้ำตาลเฉลี่ยระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา อ่านเรื่อง น้ำตาลเฉลี่ย

วิธีการเจาะเลือด

เจ้าหน้าที่จะเรียกให้ไปนั่งที่เจาะเลือด แขนข้างที่เจาะบางบนหมอนให้แขนเหยียดตรง

การเจาะเลือดอันตรายหรือไม่

การเจาะเลือดไม่มีอันตรายอะไร

สาเหตุค่าน้ำตาลมีค่าสูง

ยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้น

สาเหตุค่าน้ำตาลต่ำ

ค่าน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงที่มีค่าต่ำกว่า 40 mg/dL สำหรับสตรีหรือต่ำกว่า 50 mg/dL สำหรับบุรุษ และมีอาการน้ำตาลต่ำ สาเหตุ

ยาที่ทำให้ระดับน้ำตาลต่ำลง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการน้ำตาลในเลือด

น้ำตาล น้ำตาลหลังอดอาหาร8ชั่วโมง น้ำตาลหลังจากรับประทานอาหาร2ชั่วโมง การทดOGTT

เอกสารอ้างอิง

โรคเบาหวาน  

ทบทวนวันที่ 27/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน