สาเหตุของโรคเอสแอลอี SLE
สาเหตุของโรคเอสแอลอี SLE
สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุเช่นพันธ์กรรม สิ่งแวดล้อมและระบบภูมิคุ้มกัน มักพบโรคเอสแอลอี SLE ในคู่แผดจากไข่ใบเดียวกัน มากกว่าแผดจากไข่คนละใบ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
แสงแดด ความเครียด ยาบางชนิด
การติดเชื้อบางชนิด
เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคเอสแอลอี ในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มโรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากผู้ป่วยสู่คนอื่น
ภูมิคุ้มกัน antibodies ของโรคเอสแอลอี SLE
จะทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองเรียก
autoantibodies
ทำให้เกิดการอักเสบของหลายอวัยวะ
เกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน
ที่อวัยวะนั้น autoantibodiesบางส่วนจับกับสารในร่างกายเกิดเป็น
immune complexes
ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ
ปัจจัยทางพันธุกรรม
- จากการศึกษาพบมีหลักฐานสนับสนุนปัจจัยทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรคเอสแอลอี SLEมากขึ้น โดยพบอัตราการเกิดโรคลุปัสในฝาแฝดที่เป็นแฝดชนิดไข่ใบเดียวกันจะมีโอกาศเกิดโรคสูงถึง 14- 57 ในขณะที่แฝดจากไข่คนละใบจะมีโอกาศเกิดโรคSLEประมาณ 2 -12
- ในปัจจุบันมีการค้นพบยีนที่เอื้อต่อการเกิดโรคเอสแอลอี SLE (lupus susceptibility gene) มากมาย ซึ่งยีนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นยีนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในผู้ป่วยโรคSLEที่มีเชื้อชาติแตกต่างกัน เช่น กลุ่มประชากรที่สืบเชื้อสายมาจากยุโรป ประชากรที่สืบเชื้อสายมาจากแอฟริกา ประชากรที่สืบเชื้อสายมาจากเอเชีย ฯลฯ พบว่ายีนที่เอื้อต่อการเกิดโรคเอสแอลอี SLEบางยีนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเอสแอลอี SLEเหมือนกัน ในความถี่ที่เท่ากันในทุกเชื้อชาติ บางยีนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเอสแอลอี SLEเหมือนกัน แต่ในความถี่ที่ต่างกันระหว่างเชื้อชาติ บางยีนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเอสแอลอี SLEต่างกันระหว่างเชื้อชาติ
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันมีการศึกษาปัจจัยต่อการแสดงออกของยีน (epigenetic study) ในโรคลุปัสดังกล่าวข้างต้นแล้วว่าถึงแม้จะพบว่ายีนที่เอื้อต่อการเกิดโรคเอสแอลอี SLEเป็นปัจจัยของการเกิดโรคเอสแอลอี SLE แต่คนที่มียีนที่เอื้อต่อการเกิดโรคลุปัสมีการแสดงออกของการเกิดโรคลุปัสที่แตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติ ระหว่างพี่น้อง และแม้กระทั่งระหว่างฝาแฝดจากไข่ใบเดียวกันซึ่งน่าจะมีลำดับของสารพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าน่าจะมีปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคSLE หรือมีผลต่อการแสดงออกของยีนที่เอื้อต่อการเกิดโรคSLE จากการศึกษาในอดีตถึงปัจจุบันเชื่อว่าปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคได้แก่
- ภาวะขาดคอมพลีเมนท์ (complement deficiency) โดยเฉพาะคอมพลีเมนท์ ในช่วงแรกของระบบการทำงานของคอมพลีเมนท์ เช่น การขาด C1q, C2, หรือ C4 เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลุปัส
- ฮอร์โมนเพศหญิง เช่น estrogen เนื่องจากพบโรคSLEในเพศหญิงมากกว่าเพศชายหลายเท่าดังกล่าวข้างต้น และยังมีข้อมูลสนับสนุนจากการติดตามกลุ่มพยาบาลหญิงที่ได้รับฮอร์โทน estrogen ทั้งจากการกินยาคุมกำเนิด และจากการใช้ฮอร์โมนเสริมในวัยหมดประจำเดือนพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ ฮอร์โมน estrogen เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคSLE 1.5-2.1 เท่า
- Chromosome X ได้มีการศึกษาความชุกของ Klinefelter’s syndrome (47, XXY) ในผู้ป่วยโรคลุปัสเพศชาย พบว่าผู้ป่วยโรคSLEเพศชายมีความชุกของการเกิด Klinefelter’s syndrome สูงกว่าผู้ชายทั่วไปถึง 14 เท่า จึงอาจเป็นไปได้ว่าการมีปริมาณของ Chromosome X ที่เพิ่มขึ้นนั้นเพิ่มโอกาสการเกิดโรคSLEมากขึ้น
- แสงแดด พบว่าผู้ป่วยโรคเอสแอลอี มักมีอาการกำเริบของโรคหลังสัมผัสแสงแดด นอกากนี้ยังมีรายงานพบว่าแสงแดดสามารถกระตุ้นการสร้าง interferon เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณที่มีรอยโรค
- การติดเชื้อ มีการศึกษาการติดเชื้อไวรัส เช่น Epstein-Barr virus (EBV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิด DNA พบว่าสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อนิวเคลียสได้ โดยมีการศึกษาในเด็กและวัยรุ่นพบมีการตรวจพบแอนติบอดีต่อ EBV ร้อยละ 99 และตรวจพบ EBV ร้อยละ 100 นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคลุปัส เช่น cytomegalovirus หรือ herpes zoster ฯลฯ
- ยา หลังจากการใช้ยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง พบว่ายาบางชนิดก่อให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานต่อต้านตนเอง แต่มิได้ก่อให้เกิดอาการแสดงใด ๆ เรียก drug-induce autoimmunity (DIA) ซึ่งในปัจจุบันมีการรายงานยาที่ก่อให้เกิด DIA มากมาย แต่ยาที่ก่อให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานต่อต้านตนเองและก่อให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกคล้ายกับโรคSLEร่วมด้วย เรียก drug-induce lupus (DIL) ในปัจจุบันยาที่มีการศึกษาสนับสนุนและเป็นที่ยอมรับว่าเป็น DIL ได้แก่ hydralazine, procainamide และ quinidine ส่วนยาที่ได้รับความสนใจ และมีการศึกษามากขึ้นของโอกาสการเกิด DIL ได้แก่ สารชีวะภาพในกลุ่มต้านไซโตคายส์ ชนิด TNF-α
- สารเคมีในสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ฝุ่นซิลิกา สีย้อมผม การสุบบุหรี่ และยาฆ่าแมลง ฯลฯ มีการรายงานประปรายในการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคSLE แต่ยังต้องรอการศึกษาสนับสุนต่อไป
สาเหตุของโรคแอลอี อาการของโรคเอสแอลอี การวินิจฉัย SLE การรักษาโรค SLE