/

การวินิจฉัยโรคเอสแอลอี SLE

การตรวจเลือด

การตรวจทางรังสี

  • การตรวจรังสีของข้อ
  • การตรวจรังสีปอด Chest radiography and chest CT scanning
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจ Echocardiography
  • การตรวจ MRI/ MRA สมอง
  • การตรวจ Cardiac MRI

การตรวจพิเศษ

ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเช่น

  • การเจาะเข่าในกรณีที่มีการอักเสบของเข่า
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง
  • การตัดชิ้นเนื้อไต

การวินิจฉัยโรคเอสแอลอี

การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลุปัสในปัจจุบันจะอิงตามเกณฑ์ของ American College of Rheumatology ซึ่งเกณฑ์นี้ประกอบไปด้วยอาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์โดยผู้ป่วยควรมีจำนวนข้อที่เข้าได้อย่างน้อย 4 ข้อหรือมากกว่าจากจำนวนทั้งหมด 11 ข้อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในหลายระบบ เกณฑ์วินิจฉัยดังกล่าว ให้ความไวในการวินิจฉัยโรค SLE ร้อยละ 96 และมีความแม่นยำร้อยละ 96

ในบางครั้งผู้ป่วยอาจจะมีจำนวนข้อที่เข้าได้ตามเกณฑ์น้อยกว่า 4 ข้อ เนื่องจากบางครั้งอาการ และอาการแสดงต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการค่อนข้างมาก และมีอาการโน้มเอียงทาง โรคSLEแพทย์อาจต้องพิจารณาให้การรักษาก่อน เช่น ผู้ป่วยมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัมร่วมกับมีเม็ดเลือดแดง แคสเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ร่วมกับมี ANA ให้ผลบวกในระดับสูง anti-ds DNA ให้ผลบวก การตัดตรวจเนื้อไตเข้าได้กับภาวะไตอักเสบSLE ถึงแม้ผู้ป่วยรายนี้จะมีเพียง 3 ข้อก็ตาม ก็ควรได้รับการรักษาในทันทีการวินิจฉัยโรค SLE ไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากอาการของโรคซับซ้อน การวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยที่ค่อยข้างละเอียด และแพทย์ต้องระลึกถึงโรคนี้อยู่เสมอ การตรวจร่างกายถ้าพบลักษณะเฉพาะก็สามารถวินิจฉัยได้ นอกจากนั้นแพทย์จะเจาะเลือดเพื่อวินิฉัยดังนี้

  1. Antinuclear antibody คือตรวจหาว่ามีภูมิคุ้มกันของร่างกาย antibody ทำลาย nucleus ตัวเองหรือไม่ วิธีการโดยการหยด serum ของผู้ป่วยบนเซลล์ของตับหนู แล้วใช้ antihuman IgG ซึ่งฉาบสารเรืองแสงส่องกล้องจุลทรรศน์เรืองแสงจะพบความผิดปกติได้ ถ้าการตรวจให้ผลบวกแสดงว่าเป็น SLE
  2. การตัดชิ้นเนื้อ biopsy ที่ผิวหนังและไตเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันที่เกาะติดอวัยวะดังกล่าว
  3. การตรวจหา VDRL ให้ผลบวกหลอก
  4. การตรวจ CBC อาจจะพบว่าซีด หรือเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำ
  5. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวรั่วมากกว่า 0.5กรัม ต่อวันและบางรายอาจจะพบเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะด้วย
  6. ตรวจพบ LE cell ในเลือด
  7. ตรวจ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) ถ้ามีการอักเสบมากค่า ESR จะสูงค่าตัวนี้ใช้ติดตามการรักษา
  8. เจาะหา Complement levels คือสารเคมีในร่างกายถ้าโรคเป็นมากค่านี้จะต่ำ

การเจาะเลือดตรวจ

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคSLE Systemic Lupus Erythematosus (SLE)

การวินิจฉัยโรคโรคพุ่มพวง,โรคเอสแอลอี จะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย และผลตรวจเลือด การวินิจฉัยจะอาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น เกณฑ์การวินิจฉัย( ตาม American College of Rheumatology (ACR) criteria )จะมีความไว 85% และความแม่นยำ 95% เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่

  1. มีผื่นที่แก้ม
  2. มีผื่น Discoid rash
  3. มีผื่นอาการแพ้แสง
  4. แพทย์ตรวจพบแผลในปาก
  5. มีข้ออักเสบ พบข้อมีอาการปวด บวม แดง ร้อนมากกว่า 2 ข้อ
  6. เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  7. ตรวจปัสสาวะพบโปรตีนหรือพบ cellular casts
  8. มีอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก อาการทางจิต
  9. มีความผิดปกติทางโรคเลือดได้แก่โลหิตจางจาก Hemolytic anemia หรือเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 4000/L หรือเซลล์ lymphopeniaน้อยกว่า 1500/L หรือเกล็ดเลือดขาวต่ำกว่า thrombocytopenia 100,000/L
  10. ตรวจเลือดระบบภูมิพบ Anti-dsDNA, anti-Sm,และหรือ anti-phospholipid
  11. ตรวจพบ Antinuclear antibodies: อ่านที่นี่

เกณฑ์การวินิจฉัยต้องใช้ 4 ใน 11 ข้อ

 

อาการโรค SLE การรักษาโรค SLE

สาเหตุของโรคแอลอี อาการของโรคเอสแอลอี การวินิจฉัย SLE การรักษาโรค SLE