หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตั้งครรภ์ในโรคSLEอาจทำให้โรคมีการกำเริบได้ และการตั้งครรภ์ในระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคที่กำเริบอยู่นั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กในครรภ์มีขนาดเล็กกว่าอายุ คลอดก่อนกำหนด หรือเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีกลุ่มโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมด้วย ดังนั้นในขณะที่โรคมีอาการแสดงที่ยังกำเริบอยู่นั้นผู้ป่วยควรได้รับการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ
ในระยะที่อาการแสดงของโรคกำเริบ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยคุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย หรือฉีดยาคุมกำเนิด เช่น depo-progesterone แต่การฉีด depo-progesterone นั้นไม่ควรใช้นานเกิน 2 ปี เนื่องจากการฉีดยาเป้นเวลานาน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูงอาจทำให้อาการของโรคกำเริบ และในผู้ป่วยที่มีภาวะแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หากจำเป็นต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดควรใช้ชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ใช้ในขณะที่โรคสงบ ไม่มีอาการของโรคกำเริบ และต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมการคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น การใส่ห่วงคุมกำเนิดนั้นไม่แนะนำเนื่องจากผู้ป่วยโรคลุปัสมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกอาจพิจารณาการทำหมัน
การตั้งครรภ์อาจจะทำให้โรค SLE อาจจะทำให้โรค SLE กำเริบดังนั้นเวลาที่เหมาะสมได้แก่
ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าควรให้ผู้ป่วยหยุดยาทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ส่วนยาต้านมาลาเรียในขณะตั้งครรภ์นั้น จากการศึกษาพบว่าจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์จึงไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อน
ขณะตั้งครรภ์ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ควรได้รับการนัดตรวจทุก 4-6 สัปดาห์ เพื่อประเมินอาการ
ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์และมีอาการแสดงของโรคกำเริบขณะตั้งครรภ์อาจควบคุมด้วยยา prednisolone เพราะยาจะถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกทำให้ยาไปถึงลูกในขนาดต่ำควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา dexamethasone เนื่องจากยา dexamethasone จะไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกจึงสามารถข้ามรกไปสู่ลูกได้ อย่างไรก็ตามขนาดของยา prednisolone ที่สูงกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ และภาวะเบาหวานในคนท้อง
ประมาณร้อยละ 25-35 ของผู้ป่วยโรคSLEตรวจพบ anti-cardiolipin antibodies ให้ผลบวกและร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ มีลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ หลอดเลือดไปเลี้ยงสทองอุดตัน มีการอุดตันของหลอดเลือดเล็กในไต ฯลฯ การรักษาผู้ป่วยที่มีโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมที่มีหลอดเลือดอุดตันนั้นควรให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยา wafarin เพื่อให้ค่า prothombin time ยาวขึ้นประมาณ 2-3 เท่าจากค่าควบคุม ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำอุดตัน 3 เท่าจากค่าควบคุมในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงอุดตัน 3-4 เท่าจากค่าควบคุมร่วมกับยาแอสไพรินขนาดต่ำในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตันซ้ำหลังจากได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรให้นานไปตลอดชีวิต
มียาบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อเป็นเวลานาน (โดยไม่จำกัดความ มากกว่า 1 เดือน) อาจทำให้เกิดอาการเหมือนโรคSLE และทำให้ผลการตรวจ anti-nuclear antibody (ANA) ให้ผลบวก เราเรียกภาวะนี้ว่าเป็น โรคSLEจากการใช้ยา ได้แก่