โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังได้แก่ไขมันใต้ผิวหนัง พังผืด และกล้ามเนื้อ โรคแบคทีเรียกินเนื้อคนพบไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงมากซึ่งอันตรายถึงกับชีวิตหากรักษาไม่ทัน เชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ
หากท่านเป็นคนแข็งแรง มีภูมิปกติ และมีการดูแลแผลอย่างถูกต้องโอกาศที่จะเป็นโรคนี้จะน้อย
สาเหตุโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus หรือที่เรียกว่าแบคทีเรียกินเนื้อคน เมื่อเชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อโดยผ่านทางแผลเล็กที่ผิวหนัง เชื้อจะเจริญอย่างรวดเร็วและหลั่งสารพิษที่เรียกว่า Toxin ซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นไม่พอ เมื่อกล้ามเนื้อตาย เชื้อจะเข้ากระแสเลือดและลามไปทั่วร่างกาย
อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน
จะสงสัยว่าเป็นโรคเนื้อเน่าหรือแบคทีเรียกินเนื้อคนเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการปวดแขน/ขาหรือบริเวณที่เป็นโรคอย่างมากไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เห็น เช่นมีผื่นที่ผิวหนังเล็กน้อย
- โรคเนื้อเน่าเกิดกับส่วนใดๆของร่างกายก็ได้ แต่พบบ่อยที่แขน/ขา บริเวณฝีเย็บ และลำตัว
- มักจะมีปะวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเล ถูกก้างปลา
- อาการจะเริ่มจากมีก้อนซึ่งเจ็บขึ้นที่ผิวหนัง
- ก้อนนั้นโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนเป็นสีออกม่วงและมีอาการปวดมาก
- บริเวณรอบของก้อนจะกลายเป็นเนื้อตายมีสีดำ
- ผิวจะแยกออก และมีน้ำเหลือไหลออกมา
อาการทั่วไป
- ไข้สูง
- หนาวสั่น
- คลื่นไส้อาเจียน
- เหงื่อออก
- เป็นลม
- ช็อกหมดสติ
อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน แบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค
อาการของโรคเนื้อเน่าตั้งแต่วันที่1-2
- จะมีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบ หรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกซึ่งมองไม่เห็น
- อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการทางผิวหนังที่ตรวจพบ
- ขอบเขตของโรคไม่ชัดเจน พบว่าบริเวณที่กดเจ็บจะกว่ากว่าบริเวณผื่น(ผิวหนังอักเสบจะกดเจ็บเฉพาะบริเวณผื่น)
- ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
- ไม่ค่อยมีท่อน้ำเหลืองอักเสบ
- ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว หัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะขาดน้ำ
อาการของโรคเนื้อเน่าวันที่2-4
- พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง
- มีผื่นพุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออกในพุพอง(ซึ่งไม่พบในผู้ป่วยผิวหนังอักเสบ)
- ผิวจะมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย
- เมื่อกดผิวหนังจะพบว่าแข็ง ไม่สามารถคล้ำขอบเขตของกล้ามเนื้อ(ต่างจากผิวหนังอักเสบ)
- อาจจะคลำได้กรอบแกรบใต้ผิวหนังเนื่องจากเกิดก๊าซใต้ผิวหนัง
- อาการปวดอาจจะมากหรืออาจจะไม่ปวดเนื่องจากเส้นประสาทเริ่มตาย
- หากมีแผลจะพบว่าแผลจะแยกง่ายเลือดไม่ค่อยไหล
อาการของโรควันที่4-5
ความสำคัญของโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
- โรคนี้วินิจฉัยในระยะเริ่มต้นของโรคยาก เพราะจะมีอาการเหมือนกับโรคผิวหนังอักเสบ cellulitis
- อาการที่สำคัญที่ทำให้คิดถึงโรคนี้ได้แก่ อาการไข้สูง อาการปวด และกดเจ็บบริเวณแผล อาการของผู้ป่วยมากกว่าที่ตรวจพบ
- จะมีผื่นพุพอง และผิวหนังบริเวณที่เกิดโรคจะมีสำคล้ำม่วงๆ(ซึ่งไม่พบในผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ cellulitis)
- หากพบอาการดังกล่าวจะต้องรีบให้การรักษาทันที
เชื้อที่เป็นสาเหตุโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่สามารถแบ่งได้ดังนี้
- Type 1 -เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดทั้งที่ใช้ออกซิเจน aerobic และไม่ใช้ออกซิเจน anaerobic bacteriaการติดเชื้อนี้มักพบในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือมีโรคเรื้อรัง
- Type 2 -เกิดจากเชื้อ Group A streptococcus (GAS):เป็นการติดเชื้อกับคนที่แข็งแรง
- Type 3 - เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Gram-negative monomicrobial infection:
- เช่น Vibrio spp. และ Aeromonas hydrophila, กลุ่มนี้มักจะเกิดติดเชื้อกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับโดยเชื้อจะเข้าตามผิวหนังที่มีแผลเดิม หรือแผลถูกตำ
- การติดเชื้อนี้จะรุนแรงและเสียชีวิตใน 48 ชั่วโมง
- Type 4 -เกิดจากเชื้อราได้แก่:
- Zygomycetes ติดเชื้อหลังจากเกิดแผล หรือไฟไหม้.
- เชื้อ Candidal infectionเกิดในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกัยบกพร่อง
- อัตราการเสียชีวิตสูงเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้อเน่าได้แก่
- ผิวหนังมีแผลจากแมลงกัดต่อย อุบัติเหตุถูกของมีคมตำหรือบาด แผลผ่าตัด
- มีโรคประจำตัวเช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค
- อาจจะเกิดหลังจากป่วยเป็นโรคไข้สุกใส
- มีการใช้ยา Steroid
การวินิจฉัยโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
โรคนี้วินิจฉัยได้โดยประวัติ การตรวจร่างกาย แพทย์จะเจาะเลือดตรวจเลือดทั่วไป เคมีของเลือด เพาะเชื้อจากเลือด เพื่อเตรียมผ่าตัด หากสงสัยให้ผ่าตัดทันทีซึ่งจะพบลักษณะสำคัญคือ จะมีเนื้อตายสีเทา เลือดไม่ค่อยไหล เส้นเลือดอุดตัน เนื้อเยื่อแยกจากกันง่าย
การตรวจวินิจฉัยโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
- การตรวจเลือดจะพบว่า เม็ดเลือดขาวสูง เลือดมีความเป็นกรด โปรตีนในเลือดต่ำ ไตทำงานเสื่อม
- เม็ดเลือดขาวมากกว่า >15.4 x 109/L.
- เกลือแร่โซเดี่ยมต่ำ 135 mmol/L.
- Raised CRP ( >16 mg/dL).
- Raised CK level (>600 U/L).
- Urea >18 mg/dL.
- Microbiology:
- เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ
- นำหนองจากแผลไปเพาะเชื้อ
- นำหนองไปย้อมหาเชื้อโรค
- เพาะหาเชื้อรา
- การตรวจทางรังสี
- การ x-ray หรือ CT หรือ ultrasound อาจจะพบก๊ายในเนื้อเยื่อ
การรักษาโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis
ความสำคัญของการรักษาอยู่ที่การวินิจฉัยให้เร็ว และผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายหรือเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด
- จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดทันทีที่วินิจฉัยได้ ในระยะแรกควรจะครอบคลุ่มเชื้อที่เป็นสาเหตุเมื่อได้ผลเพาะเชื้อจึงเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตามผลเพาะเชื้อ
- ผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออก และตัดเนื้อเยื่อที่ตาย
- หากติดเชื้อรุนแรงอาจจะจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก
- จะต้องให้น้ำเกลืออย่างเพียงพอ
ผลการรักษา
ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้
- การวินิจฉัย หากวินิจฉัยได้เร็ว และให้การรักษาเร็วก็จะให้ผลการรักษาดี
- สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
- ตัวเชื้อแบคทีเรีย
- การแพร่กระจายของเชื้อ
- ประสิทธิภาพของการรักษา
โรคแทรกซ้อนของโรคเนื้อเน่าหรือแบคทีเรียกินเนื้อคน
- อัตราการเสียชีวิตจะสูง
- เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ
- การติดเชื้ออาจจะทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดถูกทำลาย
- อาจจะต้องตัดอวัยวะทิ้ง
การป้องกันโรคเนื้อเน่า
การป้องกันการติดเชื้อ Group A streptococcal infection (GAS)มีดังนี้
- ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยทุกรายควรจะได้รับข้อแนะนำการปกฺบัติตัว และอาการของโรค
- การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันจะให้ในกรณี
- ทารกหรือแม่ที่คนใดคนหนึ่งติดเชื้อ invasive GAS.
- ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดและมีอาการของการติดเชื้อ เช่นเจ็บคอ ไข้ ติดเชื้อผิวหนัง
- สมาชิกในครอบครัวควรจะได้ยาปฏิชีวนะหากมีสมาชิกในครอบครัวปวดด้วยโรคนี้ มากกว่า2คนใน 1 เดือน
- Penicillin V เป็นยาที่นิยมให้เพื่อป้องกัน หากแพ้ยา penicillin ก็ใช้ยา azithromycin แทน
การดูแลแผล
การดูแลแผลจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเนื้อเน่า
- เมื่อเกิดแผลแม้ว่าจะเล็กน้อยต้องรีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดจนแผลสะอาด
- จะต้องทำความสะอาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณืทำแผลที่สะอาด และปิดแผล จนกระทั่งแผลหายสนิท
- ระหว่างที่มีแผลพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำร่วมกัน การใช้อ่างอาบน้ำ
- ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสแผล