การตรวจเม็ดเลือดขาว white bllod cell


ในเลือดของคนเราประกอบไปด้วยน้ำเหลือง เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด แม้จะมีปริมาณเพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำเลือด แต่เม็ดเลือดขาวก็มีบทบาทในการต่อต้านโรคร้ายต่างๆ และโรคติดเชื้อ
เม็ดเลือดขาวนั้นมีหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันได้แก่

  1. Neutrophils (นิวโตรฟิลส์)
  2. Eosinophils (อีโอซิโนฟิลส์)
  3. Basophils (เบโซฟิลส์)
  4. Monocytes (โมโนไซต์)
  5. Lymphocytes (ลิมโฟไซต์)

หน้าที่ของเม็ดเลือดขาว

โดยหลักแล้วหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ป้องกันโรคเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งการต่อต้านโรคที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่นโรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ และการติดเชื้อทั้งเชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย เม็ดเลือดขาวจะสร้างที่ไขกระดูกและลำเลียงไปสู่ร่างกายทางหลอดน้ำเหลือง และเลือด เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ต่างกันออกไปแต่อาจจะทำงานร่วมกัน เช่น เม็ดเลือดชนิด Neutrophils จะทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และทำให้เกิดการอักเสบ Eosinophils และ Basophils จะทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ ส่วน Monocytes และ Lymphocytes จะทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

ไขกระดูก

การนำเดือดมาตรวจ

เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้เหยียดแขนข้างที่จะเจาะเลือด เจ้าหน้าที่จะรัดแขนเหนือข้อศอก และตรวจหาเส้นเลือดที่จะเจาะ หลังจากนั้นจะทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่จะเจาะ เจ้าหน้าที่จะนำเข็มพร้อมทั้ง syrinx มาเจาะเลือด เมื่อได้จำนวนตามต้องการแล้ว เจ้าหน้าที่จะคลายสายยาง ดึงเข็มออกจากผิวหนัง และใช้สำลีหรือผ้า gauzeกดบริเวณที่เจาะ ให้กดหรือพับแขนไว้สักครู่จนเลือดหยุด

ค่าปกติของ WBC

ผู้ใหญ่ (ชาย/หญิง) : WBC count : 5,000 – 11,000 cells/cu.mm.

ค่าผิดปกติ

เม็ดเลือดขาวต่ำหรือที่เรียกว่า Leukopenia ซึ่งมีสาเหตุ

  1. ร่างกายกำลังได้รับพิษจากยา (drug toxicity) เช่น การได้พิษจากยาเคโมรักษามะเร็ง หรือวิธีเคมีบำบัด (chemotherapy)
  2. ไขกระดูกมีความผิดปกตไม่สามารถสร้างเม็ดเลือด (bone marrow failure) เช่น เนื้องอก การติดเชื้อ ยาที่กดไขกระดูก
  3. ร่างกายติดเชื้ออย่างรุนแรง (overwhelming infection) โดยทั่วไปการติดเชื้อเม็ดเลือดขาวจะสูง หากหากการติดเชื้อรุนแรงมากอาจจะเกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ
  4. ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามิน บี 12 กรดฟอลิกหรือธาตุเหล็ก ฯลฯ
  5. ม้ามทำงานมากเกินไป (hypersplenism) โดยดักจับเก็บเม็ดเลือดขาวไว้อย่างมากผิดปกติจาก

เม็ดเลือดขาวมากหรือที่เรียกว่า leukocytosis

  1. ร่างกายอาจกำลังได้รับเชื้อโรค หรือเกิดโรคจากจุลชีพก่อโรคที่หลุดเข้าสู่ร่างกาย จึงกระตุ้นให้ต้องเร่งสร้างจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น
  2. อาจเกิดโรคสร้างเม็ดเลือดขาวมากผิดปกติจากไขกระดูก (myeloproliferative disorders)
  3. อาจกำลังเกิดมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)
  4. อาจกำลังเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ (trauma) เช่น เกิดจากความเครียด หรือริดสีดวงทวาร อุบัติเหตุ แผลไฟไหม้
  5. มีโรคที่เกิดการอักเสบ เช่น rheumatoid arthritis หรือภูมิแพ้  allergy
  6. อาจเกิดสภาวะการขาดน้ำ
  7. ต่อมไทรอยด์อาจทำงานมากเกินไป
  8. อาจกินยากลุ่ม steroid มานานเกินไป

การแปลผล

ในการรายงานผลแต่ละแห่งอาจจะใช้คำไม่เหมือนกันเช่น Neutrophil,polymorphonuclear cell,PMN ทั้งหมดคือความหมายเดียวกัน การแปลผลเม็ดเลือดขาวจะต้อง

  1. ดูจำนวนเม็ดเลือดขาวว่าจำนวนมากหรือน้อยซึ่งจะพบว่าอาจจะมีค่าปกติ สูง หรือต่ำ
  2. หลังจากดูจำนวนเม็ดเลือดขาวจึงมาดูชนิดของเม็ดเลือดขาว ว่าแต่ละชนิดมีจำนวนเท่าไรเมื่อเทียบกับจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด การรายงานจะออกมาในรูป % เช่น Neutrophil …………….%
  3. หากอยากรู้ว่าเซลล์แต่ละชนิดมีเท่าไรก็ให้นำ%ที่ได้คูณด้วยจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หารด้วย100 ก็จะได้เซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด
  4. พิจารณาถึงจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดว่ามีมากไปน้อยน้อยไปจากค่าปกติ
  5. หลังจากนั้นก็ดูความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวว่ามีรูปร่างผิดปกติ หรือมีตัวอ่อนออกมามากน้อยแค่ไหน

Hemoglobin | Hematocrit | Red blood cell | Inclusion body | เม็ดเลือดแดง | Reticulocyte count | MCV | MCHC | MCH | ลักษณะเม็ดเลือดแดง | เกล็ดเลือด | เม็ดเลือดขาว | Neutrophil | Lymphocyte | Eosinophil | Monocyte | Basophil | Rh | กรุปเลือด