โรคหัดเยอรมัน Rubella
เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxovirus ทำให้เกิดอาการคือมีไข้ ผื่น และต่อมน้ำเหลืองโต ส่วนใหญ่มักจะหายเองโดยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน หากเกิดในหญิงมีครรภ์อาจจะทำให้เด็กที่เกิดมาพิการ
โรคหัดเยอรมันคืออะไร
เป็นโรคติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ ไข้ ผื่นที่ผิวหนัง และต่อมน้ำเหลืองแถวคอโต ถ้าเป็นในเด็กอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นในหญิง มีครรภ์อ่อน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีโอกาสพิการ
สาเหตุโรคหัดเยอรมัน
เกิดจากเชื้อไวรัส RNA จัดอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus
การติดต่อโรคหัดเยอรมัน
ติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจเอาเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยซึ่งจามหรือไอออกมา ระยะติดต่อ 1 อาทิตย์ก่อนและหลังออกผื่น
อาการโรคหัดเยอรมัน
- ระยะฟักตัว หลังจากได้รับเชื้อ (หลังสัมผัสกับผู้ป่วย
) 14-24 วัน
- ร้อยละ 25-50 อาจจะไม่มีอาการหรืออาการน้อย อาการนำในเด็กไม่ค่อยมีอาการอะไร ก่อนออกผื่นโดยมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เยื่อบุตาอักเสบจะมีไข้ 1-5วัน น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อย
- ระยะออกผื่น โดยเริ่มที่หน้าผากแถบไรผม กระจายมายังรอบปาก และใบหู แล้วลามลงมาที่คอ ลำตัว แขนขา ขณะที่ผื่นกระจายมาลำตัว ใบหน้าจะไม่ค่อยมีผื่น ผื่นอาจจะมีอาการคันหรือไม่ก็ได้ ผื่นมีลักษณะสีชมพูอ่อน แบนราบ และมักอยู่แยกจากกัน ผื่นเป็น 3 วันจะเริ่มจาง มีต่อมน้ำเหลืองหูโต คลำได้เป็นก้อน บางรายอาจมีปวดข้อ ถ้าหากเป็นในคนท้องระยะ 3 เดือนแรก เด็กที่เกิดมาอาจมีพิการแต่กำเนิ เช่น ปัญญาอ่อน หัวใจผิดปกติ ตาผิดปกติ
การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน
เนื่องจากโรคนี้หากเด็กปรกติจะมีอาการไม่มากการวินิจฉัยทำได้จากอาการ และการตรวจร่างกายเท่านั้น หากคนตั้งครรภ์จะต้องเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน
MMR(หัด หัดเยอรมัน คางทูม )
ยังไม่มีรายงานว่าได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์แล้วจะทำให้เกิดพิการแต่กำเนิด
แต่แนะนำให้คุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีน
การรักษาโรคหัดเยอรมัน
โรคนี้หายได้เอง ให้วัดไข้วันละ 2 ครั้ง ควรพบแพทย์ถ้าไข้มากกว่า 38ํ ห้ามใช้ aspirin ในการลดไข้เนื่องจากอาจจะทำให้เกิด Reye's syndrome
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ อาจพบสมองอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าเกิดกับหญิงมีครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดมาพิการ เช่น ตาพิการ ต้อกระจก ต้อหิน หัวใจพิการ หูหนวก สมองเสื่อม
ภาวะแทรกซ้อนโรคหัดเยอรมัน
- ข้ออักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นข้อเล็กๆ เช่นข้อนิ้ว
- ภาวะแทรกซ้อนในระบบประสาทกลาง พบไม่บ่อย ที่พบคือสมองอักเสบ
ทารกที่เกิดจากแม่ที่ป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน
ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อโรคหัดเยอรมันอาจจะมีความพิการตามมาโดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความพิการได้แก่
- หูหนวก อาจจะเกิดข้างเดียวหรือสองข้าง อาการจะปรากฏประมาณอายุ 2 ปี
- ต้อกระจกมักจะเป็นกับตาทั้งสองข้าง
- ความผิดปกติของหัวใจ
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
- โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน MMRโดยฉีดครั้งแรกตอนอายุ 9-15 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี
- ผู้หญิงที่จะแต่งงาน หรือตั้งใจจะมีลูก ถ้ายังไม่เคยฉีดวัคซีน ต้องฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 วัน ระวังนี้ให้คุมกำเนิด
- สำหรับหญิงคู่และไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนจนพ้นการระบาดของโรค
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันควรหยุดเรียน หยุดทำงาน พักผ่อนอยู่กับบ้านเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังจากมีผื่นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
- เด็กทารกที่คลอดออกมาและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการพาไปที่สาธารณะเป็นเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เพราะเด็กเหล่านี้ยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว
- ผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต แต่มีความเป็นไปได้ที่การได้รับเชื้ออีก จะทำให้ติดเชื้อได้ เพียงแต่จะไม่แสดงอาการ
โรคหัด โรคไข้สุกใส