หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

โรคหัดญี่ปุ่น Kawasaki syndrome

เราคุ้นเคยกับโรคหัดธรรมดา โรคหัดเยอรมัน แต่เรายังไม่คุ้นเคยกับโรคหัดญี่ปุ่นซึ่งเป็นโรคที่พบไม่บ่อย และหากวินิจฉัยไม่ได้อาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โรคนี้ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ปี 1967 โดยครั้งแรกเรียกกลุ่มอาการ mucocutaneous lymph node syndrome ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการที่สำคัญดังนี้ ไข้ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ริมฝีปากและในช่องปากมีการอักเสบ

ใครมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัดญี่ปุ่น

โรคหัดญี่ปุ่นหรือ Kawasaki syndrome มักจะเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ร้อยละ80ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5ปีเด็กชายจะเป็นมากกว่าเด็กหญิง1.5 ต่อ1น้อยกว่าร้อยละ2ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำอีกครั้ง

สาเหตุของโรคหัดญี่ปุ่น

โรคนี้เป็นโรคที่เรียกว่า Autoimmune เกิดจากร่างกายสร้างภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อของร่างกายให้มีหลอดเลือดขนาดกลาง medium-sized blood vessels ทั่วร่างกายมีการอักเสบโดยจะเป็นบริเวณ หลอดเลือด ผิวหนัง เยื่อบุในปาก และต่อมน้ำเหลือง เด็กบางคนอาจจะมีเส้นเลือดหัวใจอักเสบทำให้เสียชีวิตได้

อาการที่สำคัญของโรคหัดญี่ปุ่น

อาการไข้เป็นอาการที่สำคัญ มักจะมีไข้สูง ไข้มักจะไม่ลงเมื่อให้ยาลดไข้ ( 39-40°C) ระยเวลาที่เป็นไข้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หากไม่ได้รักษาอาจจะมีไข้ถึง 3-4 สัปดาห์ หากเป็นไข้นานก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจ

มักจะมีเยื่อบุตาอักเสบของตาทั้งสองข้าง ไม่มีหนอง ไม่ปวดตามักจะเป็นหลังไข้


หัดญี่ปุ่น

ริมฝีปากจะแดง บวมและมีรอยแตกทำให้เกิดอาการปวด ลิ้นจะบวมแดงมีลักษณะที่เรียกว่า strawberry tongue เนื่องจากมีการอักเสบของหลอดเลือด


หัดญี่ปุ่น

หัดญี่ปุ่น


พบได้ประมาณร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโดยโตที่คออย่างน้อยต้องมีขนาดมากกว่า 1.5 ซม

ฝ่ามือฝ่าเท้าจะบวมและแดง และมักจะมีหนังลอกบริเวณนิ้ว


หัดญี่ปุ่น

นอกจากนั้นยังพบผื่นแดงที่ลำตัว ใบหน้า แขนและขา ขาหนีบ

เนื่องจากโรคนี้จะเป็นกับหลายอวัยวะดังนั้นอาจจะมีอาการของ ปวดข้อทั้งสองข้าง อาการของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 การวินิจฉัย

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่การตรวจวินิจฉัยใดๆที่บอกโรคได้ 100 % การวินิจฉัยอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายโดยมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

ต้องมีเกณฑ์ข้อ 1 ร่วมกับเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 4 ข้อ ได้แก่

  1. มีการเปลี่ยนแปลงบริเวณแขนหรือขา

ผื่นแดงและบวมมักเกิดใน5วัน

ผิวลอกมักเกิดหลังจากไข้ 2 สัปดาห์

  1. ผื่นตามผิวหนัง ผื่นมักจะเกิดภายใน 5 วัน ผื่นมีหลายรูปแบบ อาจจะมีลักษณะคล้ายลมพิษ หรือผื่นแบบโรคหัด แต่จะไม่มีตุ่มน้ำ
  2. เยื่อบุตาอักเสบทั้งสองข้าง ไม่แสบหรือเคืองตา ไม่มีขี้ตา
  3. การเปลี่ยนแปลงที่ปากและริมฝีปาก ลิ้นจะแดงเหมือน strawbery ริมปีปากจะบวมแดงและมีรอยแตกที่สำคัญจะไม่มีแผล
  4. มีต่อมน้ำเหลืองโตมักโตข้างเดียวขนาด 1.5 ซม.
  5. ต้องแยกโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

การวินิจฉัยแยกโรค 

โรคที่มีลักษณะคล้ายกับ Kawasaki Disease

Measles
Scarlet fever
Drug reactions
Stevens-Johnson syndrome
Other febrile viral exanthems
Toxic shock syndrome
Rocky Mountain spotted fever
Staphylococcal scalded skin syndrome
Juvenile rheumatoid arthritis
Leptospirosis
Mercury poisoning

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การเจาะเลือดไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค เม็ดเลือดขาวอาจจะสูง เกล็ดเลือดอาจจะต่ำ อาจจะพบไข่ขาวในปัสสาวะ

การรักษา

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

ภาพแสดงหลอดเลือดแดงหัวใจโป่งพอง

    หัดเยรมัน หัด ไข้กาฬหลังแอ่น

    เพิ่มเพื่อน