การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดสามารถแบ่งออกเป็น
โรคปวดหลังที่เกิดจากโรคทางอายุรกรรมเช่นข้ออักเสบ
กระดูกพรุน
หรือการตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด และส่วนใหญ่จะหายได้เองการรักษาเมื่อเกิดอาการปวดหลังใหม่ๆ
- การพักโดยมากแนะนำไม่ให้เกิน
2-3
วันหากอาการปวดไม่รบกวนการทำงานก็ไม่จำเป็นต้องพัก
การพักนานๆจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเป็นผลเสียต่ออาการปวดหลัง
จะต้องนอนพักให้อย่างเพียงพอ
ท่าที่นอนที่ดีคือนอนตะแคงและมีหมอนข้างอยู่ระหว่างเข่า
หรือนอนหงายเอาหมอนข้างรองเข่า
- การทำกายภาพบำบัด
โดยเฉพาะการลดอาการปวดหลังที่เกิดอย่างเฉียบพลันแบ่งออกเป็น
- การประคบร้อนหรือประคบเย็น
(Heat/ice packs) การประคบร้อนหรือประคบเย็นจะช่วยลดอาการปวดบางคนใช้ความร้อนแล้วได้ผล
บางคนใช้ความเย็นแล้วได้ผล
บางคนอาจจะใช้สลับกัน
โดยทั่วไปแนะนำให้ประคบครั้งละ
10-20 นาทีทุก 2
ชั่วโมงมักใช้ได้ผลในกรณีปวดแบบปัจจุบันส่วนใหญ่หลังอุบัติเหตุใหม่ๆให้ประคบเย็นครั้งละไม่เกิน
20 นาที(เอาน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกแล้วใช้ผ้าคลุม)ก่อนหลังจากนั้นจึงประคบร้อนครั้งละไม่เกิน
20 นาที
- TENS unit(transcutaneous electrical nerve stimulator (TENS))คือการฝังเข็มแล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
- Iontophoresis คือการทายา steroid
ที่ผิวหนังแล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อให้ยาถูกดูดซึม
สามารถลดอาการปวดแบบเฉียบพลันได้ผลดี
- ultrasound
เป็นการใช้ความร้อนผ่านทางคลื่นเสียงใช้ได้ผลดีสำหรับปวดแบบเฉียบพลัน
- การบริหารและการออกกำลังกาย การออกกำลังและการบริหารจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง และลดอาการปวดหลังการออกกำลังกายเป็นประจำจะป้องกันโรคปวดหลัง
ลดความรุนแรงและระยะเวลาที่ปวดเป็นการทำด้วยตัวเองประกอบไปด้วย
- Stretching
การบริหารชนิดนี้จะช่วยทำให้เนื้อเยื่อ
เอ็น กล้ามเนื้อ
รอบกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวและยืดหยุ่น
หากมีการเกร็งของกล้ามเนื้อหรือเอ็นจะทำให้มีอาการปวดหลัง
ผู้ที่มีโรคปวดหลังควรจะมีการยืดกล้ามเนื้อ hamstring ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลัง
ควรจะทำวันละ 2 ครั้งครั้งละ
30-45
วินาทีโดยทำทุกเช้าหลังตื่นนอน
- Strengthening/pain relief exercises
- Low-impact aerobic conditioning
เป็นการออกกำลังที่สำคัญในการลดอาการปวดหลังและป้องกันอาการปวดหลัง
ผู้ที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะไม่ค่อยมีอาการปวดหลัง
สามารถทำงานได้ใกล้เคียงคนปกติ
หากมีอาการปวดหลังก็จะปวดไม่มากและหายเร็วควรจะออกวันละ
30-40 นาทีให้ได้ aerobic
หัวใจเต้นได้ตามเกณฑ์
มีการออกกำลังได้หลายวิธี
เช่นการเดิน การขี่จักรยาน การออกกำลังกายในน้ำ
การออกกำลังในน้ำจะลดอาการปวดหลังควรจะทำในช่วงเริ่มต้น
เมื่ออาการปวดดีขึ้นจึงไปออกบนดินทำเป็นประจำวันเว้นวัน
- Chiropractic/osteopathic
- การใช้ยายาลดการอักเสบ NSAID ยาที่นิยมใช้ได้แก่
- ยากลุ่ม NSAID
ตัวอย่างของยาเช่น aspirin ibuprofen
naproxyn
ยากลุ่มนี้ควรจะรับประทานพร้อมอาหารเพื่อลดอาการปวดท้อง
หรือเลือดออกทางเดินอาหาร
และอาจจะมีความเสี่ยงต่อเลือดออกหลังหยุดยานี้แล้วหนึ่งปี
ยากลุ่มนี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันระยะยาวโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
aspirin และ ibuprofen
จะมีผลทางกระเพาะน้อยกว่า
naproxyn และ ketoprofen
สำหรับผู้ที่มีโรคไต ตับ
ความดันโลหิตสูง
รับประทานยาขับปัสสาวะ
และโรคเบาหวานควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ควรจะหยุดยานี้ก่อนผ่าตัดหนึ่งสัปดาห์
- COX2-inhibitor
เป้นยาแก้ปวดกลุ่มใหม่ที่ไม่มีผลต่อกระเพาะเช่น
cerecoxib
- paracetamol ใช้เป็นยาแก้ปวดแต่ได้ผลน้อยกว่ากลุ่ม NSAID
- แพทย์บางท่านอาจจะจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วย
แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านไม่แนะนำ
บทนำ | กล้ามเนื้อหลัง | กระดูหลัง | หมอนรองกระดูก | เส้นประสาท| สาเหตุ | สาเหตุอื่น | การบริหารกล้ามเนื้อหลัง | การเลือกเก้าอี้ | การรักษา |การเลือกหมอน | การเลือกเตียง