jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การเจาะน้ำคร่ำ Amniocentesis

น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำก็คือของเหลว ใส สีเหลืองอ่อนที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ ส่วนประกอบของน้ำคร่ำประกอบไปด้วยน้ำ 98% และสารต่างๆอีก 2% ซึ่งจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดออกมาปนอยู่ด้วย เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด (40 สัปดาห์) จะมีปริมาณของน้ำคร่ำประมาณ 1,000 ml. ที่ล้อมรอบทารกอยู่ น้ำคร่ำจะไหลเวียนโดยการเคลื่อนไหวตัวของทารกทุกๆ 3 ชั่วโมง

ประโยชน์ของน้ำคร่ำ

ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำ

เจาะน้ำคร่ำ

เมื่อไรจะเจาะน้ำคร่ำ

มักจะเจาะน้ำตร่ำเมื่ออายุครรภ์ได้ 14-20 สัปดาห์ซึ่งจะเป็นการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซม แต่ก็สามารถเจาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่นเมื่อมีน้ำเดินก่อนกำหนดแพทย์จะเจาะน้ำคร่ำเพื่อวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือตรวจว่าปอดเด็กแข็งแรงเพียงพอหรือยัง การเจาะน้ำคร่ำไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำ   ก่อนเจาะ 3 – 4 ชั่วโมงควรดื่มน้ำมากๆเพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณของน้ำคร่ำเพียงพอและไม่จำเป็นต้องให้กระเพาะปัสสาวะเต็มก่อนทำ

 

ข้อบ่งชี้ในการเจาะน้ำคร่ำ

การตรวจน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดสามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ  และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากเกิดการคลอดก่อนกำหนด

วิธีการเจาะน้ำคร่ำ

ผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการเจาะน้ำคร่ำ

แม้ว่าการเจาะน้ำคร่ำจะเป็นการใช้เข็มเจาะเข้าไปในมดลูกเพื่อดูดน้ำคร่ำ แต่เป็นการเจาะที่ค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงที่อาจจะพบได้แก่

การตั้งครรภ์ การตรวจขณะตั้งครรภ์