การตั้งครรภ์เดือนที่7-9
การตั้งครรภ์ไตรมาสสาม
การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3
ทารกจะมีอายุประมาณ 25 สัปดาห์ถึง 40 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดยาว 17 นิ้วและหนัก 10 ปอนด์ ปอดของทารกยังไม่แข็งแรง กระดูกเริ่มมีความแข็งแรง มีการสะสมของแคลเซี่ยมที่กระดูก
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
- เด็กโตขึ้นคุณแม่จะรู้สึกว่าเด็กดิ้นได้ดีขึ้น เนื่องจากเด็กตัวโตขึ้น
- เต้านมคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยมีขนาดเพิ่มขึ้นประมาณ 1 กิโลกรัม และจะมีน้ำนมไหลออกมาเป็นสีเหลืองเรียกว่า colOstum
- ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดน้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 11 ถึง 16 kg น้ำหนักที่เพิ่มมาจาก จากตัวทารก น้ำคร่ำ รก เต้านม มดลูกและไขมันที่สะสมรวมทั้งปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น
- คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกมีการบิบตัวบ่อยขึ้นที่เรียกว่า Braxton Hicks contractions เป็นการบิบตัวเพื่อซักซ้อมให้มดลูกแข็งแรงสำหรับคลอด
- คุณแม่จะมีอาการปวดหลังเนื่องจากมีการหลั่งของฮอร์โมนทำให้ข้อต่อและเอ็นยืด ดังนั้นการนั่งการยืนการเดินจะต้องถูกสุขลักษณะ เช่นขณะนั่งควรจะมีหมอนหนุนหลัง หากมีอาการปวดมากอาจจะให้คุณพ่อช่วยนวด
- ต้องเลือกรองเท้าที่มีแผ่นรองฝ่าเท้า
- คุณแม่อาจจะมีอาการหายใจเหนื่อยหอบเนื่องจากมดลูกที่โตดันกำบังลม ให้คุณแม่นอนหัวสูง
- คุณแม่อาจจะมีอาการเจ็บแน่นลิ้นปี่เนื่องจากขนาดลูกกดดันกระเพาะอาหารทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน คุณแม่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารทอด เครื่องดื่มน้ำอัดลม ของเปรี้ยวของเผ็ด
- คุณแม่จะมีอาการบวมที่เท้าเนื่องจากขนาดมดลูกกดหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้น้อย และทำให้เกิดอาการชาเนื่องจากการบวมจะกดเส้นประสาททำให้คุณรู้สึกชาที่แขนและขา การแกไขให้นอนยกเท้าสูง งดอาหารเค็ม
- คุณแม่สังเกตที่เท้าจะพบว่ามีเส้นเลือดขอดและมีเส้นเลือดเส้นใยแมงมุม เป็นผลของฮอร์โมนทำให้หลอดเลือดขยาย การป้องกันคุณแม่ให้สวมถุงเท้าเพื่อป้องกันเส้นเลือดขอด การป้องกันริดสีดวงให้ป้องกันเรื่องท้องผูก ให้ดื่มน้ำและประทานอาหารที่มีใยอาหาร
- คุณแม่จะมีอาการปัสสาวะบ่อยเนื่องจากขนาดมดลูกกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย แม่ต้องคอยเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หากมีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ และอาจจะมีเลือดปน ปวดหลัง หากมีอาการดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์
- นอกจากนั้นคุณแม่อาจจะมีการตกขาวซึ่งเป็นสีขาว กลิ่นไม่เหม็น และไม่คัน หากมีใครหากริ้นเม้นเป็นสีเหลืองมีใครให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลคุณแม่
เมื่อคุณแม่ไปตรวจตามนัดแพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
- ตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และบางครั้งอาจจะจำเป็นต้องตรวจ GTT
- โลหิตจางเนื่องจากว่าเด็กต้องการเลือดปริมาณมาก หากคุณแม่รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนน้อยก็จะเกิดภาวะโลหิตจาง
- นอกจากนั้นแพทย์จะตรวจหาเชื้อ Strep group B
กิจกรรมที่คุณแม่ควรรู้
- คุณแม่ควรจะเรียนรู้วิธีการนับการดิ้นของทารกเพราะการดิ้นของทารกจะบ่งบอกถึงความแข็งแรงของทารก
- ช่วงการตั้งครรภ์ที่ 28-36 สัปดาห์แพทย์จะนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดตรวจทุก 1 สัปดาห์
- การพูดกับลูกระยะนี้ทารกจะได้ยินเสียงคุณแม่แล้วให้พูดกับทารกทุกครั้งเมื่อมีโอกาศ
- คุณแม่ต้องเรียนรู้เรื่องการคลอด
- เริ่มทำความสะอาดเครื่องนอนของทารกได้แล้ว
- เรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกจากตำราหรือปรึกษาผู้รู้
- เตรียมกระเป๋าสำหรับวันที่จะไปคลอด
- วางแผนว่าจะทำอะไรเมื่อมีอาการปวดท้องเตือนว่าจะคลอด
- เตรียมเส้นทางที่จะไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการปวดท้อง