การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Biophysical Profile
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ biophysical profile เป็นการตรวจ ultrasound ร่วมกับการตรวจ nonstress test (NST) เพื่อที่จะประเมินสุขภาพของทารกในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 การตรวจนี้เมื่อสงสัยสุขภาพของทารกว่ายังดีหรือไม่จากการตรวจด้วยวิธีอื่น หรืออาการอื่นๆ

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Biophysical Profile
การตรวจ biophysical profile จะต้องมีการตรวจสองวิธีพร้อมกันได้แก่
- การตรวจ NST ซึ่งมีสายรัดหน้าท้องคนตั้งท้องโดยจะติดตามการเต้นของหัวใจทารก และสายรัดอีกเส้นหนึ่งจะวัดการบีบตัวของมดลูก จะทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของทารก หัวใจของทารก การตอบสนองการเต้นของหัวใจเมื่อทารกเคลื่อนไหวโดยใช้เวลาวัด 20-30นาที
- การทำ ultrasound เพื่อตรวจส่วนที่สำคัญ
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ biophysical profile จะตรวจอะไร
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ biophysical profile จะเฝ้าดูลักษณที่สำคัญของทารก 5 ประการและให้คะแนนระหว่างการตรวจ biophysical profile
ลักษณที่เฝ้าดู |
ปกติ |
ผิดปกติ |
การหายใจ | หายใจ 1 ครั้งใน 30 นาที | ไม่มีการหายใจใน 30 นาที |
การเคลื่อนไหว | มีการเคลื่อนไหวมากกว่า 2 ครั้งใน 30 นาที | การเคลื่อนไหวน้อยกว่า2 ครั้งใน 30 นาที |
Muscle Tone | มีการงอแขนหรือเหยียดแขนอย่างน้อย 1 ครั้ง | มีการงอหรือเหยียดอย่างช้า |
อัตราการเต้นของหัวใจ | มีการตอบสนองของหัวใจอย่างน้อย 2ครั้งใน 30 นาที | หัวใจไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 1 ครั้งใน 30 นาที |
น้ำคร่ำ | มีถุงน้ำคร่ำมากกว่า1ถุง | ไม่มีถุงน้ำคร่ำ |
ข้อใดที่อยู่ในช่องปกติจะได้คะแนนเท่ากับ 2 ส่วนค่าใดที่ผิดปกติจะให้คะแนนเท่ากับ 0 ค่าปกติจะอยู่ระหว่า 8-10 หากคะแนนต่ำกว่า 6 จะต้องมีการประเมินการตรวจอื่น
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ biophysical profile มีอันตรายหรือไม่
ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อทั้งแม่และทารก แต่มีข้อต้องระวังเพราะต้องทำ ultrasound ระยะนาน
เมื่อไรจึงจะตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ biophysical profile
การตรวจ biophysical profile จะตรวจในคนท้องที่มีโอกาศเสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ การตรวจนี้จะเป็นการบอกว่าทารกขาดออกซิเจนหรือไม่ แพทย์จะแนะนำการตรวจนี้ในผู้ที่มีลักษณดังต่อไปนี้
- จะตรวจในทารกที่อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์
- ตั้งครรภ์แฝด
- คนท้องที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง โรคเลือด โรค SLE โรคไทรอยด์ โรคไต โรคหัวใจ
- อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด
- เคยมีประวัติทารกเสียชีวิต
- ทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ หรือการเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ
- ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ
- มีปัญหาเรื่องกลุ่มเลือด Rh
- มีปัญหาในการตรวจชนิดอื่น
ความถี่ของการตรวจขึ้นกับภาวะของความเสี่ยง อาจจะสัปดาห์ละครั้ง หรือสองครั้ง หรือบ่อยกว่านั้น จนกระทั่งคลอด