เอดส์ โรคติดเชื้อ HIV,AIDS

เอดส์หรือโรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส

ประเทศไทยมีการติดเชื้อ HIVเป็นจำนวนมากแม้ว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควร ก็ยังพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการสมควรที่ทุกคนจะเรียนรู้ถึงโรคและการป้องกัน หากท่านมีผลเลือดบวกแสดงว่าท่านได้รับเชื้อ HIV จากการร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน หรืออาจจะเกิดจากการฉีดยาเสพติด

HIV และ AIDS ต่างกันอย่างไร

เชื้อ Human Immunodeficiency Virus(hiv) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะแบ่งตัวอย่างมากและมีการเกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ไตและที่สำคัญคือจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่สร้างถูมิเพื่อต่อต้านการติดเชื้อและมะเร็งบางชนิด ในการสร้างภูมิจะต้องอาศัยเซลล์หลายชนิดที่สำคัญได้แก่เซลล์ CD4+ lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์ที่เชื้อHIV ชอบ เมื่อเซลล์ CD4+ lymphocytes ถูกทำลายโดยเชื้อมากจะทำให้ภูมิของร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นปัญหาที่สำคัญของคนติดเชื้อ HIV คือปัญหาของโรคที่เกิดจาดภูมิที่อ่อนแอลงเช่นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส opportunistic infections เช่นโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมะเร็งบางชนิด ปัจจุบันพบเชื้อ HIV มี2 ชนิดคือ

  • HIV-1 เป็นชนิดที่แพร่ระบาดทั่วโลก
  • HIV-2 พบที่แถบประเทศ Africa
  • HIV-1มี sub-types หลายชนิด 

HIV disease คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อHIV และยังไม่เกิดอาการจากเชื้อฉวยโอกาสและมีจำนวนเซลล์ CD4+ lymphocytes มากกว่า 200 cells/mm3(ปกติมากกว่า 100 cell/mm)โดยทั่วไปไม่มีอาการเป็นเวลา 5-10 ปีแม้ว่าจะไม่มีอาการเชื้อก็แบ่งตัวและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเมื่อภูมิถูกทำลายมากจนกระทั่งเกิดโรคที่เกิดจากภูมิบกพร่อง

Acquired Immunodeficiency Syndrome หรือโรคเอดส์ คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIVและโรคได้ลุกลามจนภูมิคุ้นกันบกพร่อง และอาจจะทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสและมะเร็ง ตามองค์การควบคุมโรคติดเชื้อของอเมริกาหมายถึง

  • โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Pneumocystis carinii pneumonia (PCP), and cryptococcal meningitis 
  • มะเร็งบางชนิดเช่น cervical cancer, Kaposi's sarcoma, และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาท( central nervous system lymphoma )
  • CD4+ count น้อยกว่า 200 cells/mm3(ค่าปกติ 600-1000) หรือ 14 percent of lymphocytes 

AIDS ทำลายร่างกายอย่างไร

  • ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและมะเร็ง
  • สมองถูกทำลายทำให้สมองเสื่อมและความจำเสื่อม
  • ทำให้หัวใจวายมีอาการเหนื่อยง่าย บวมเท้าและท้อง
  • ทำให้ไตวาย
  • ไม่สามารถทำงานประจำวันได้เช่น การขับรถ
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางน้ำหนักและท้องร่วงเรื้อรัง 

อาการของโรคติดเชื้อ HIV

อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค เนื่องจากเชื้อ HIV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งอาการของการติดเชื้อ HIV จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย เราไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้  ฉนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือด ในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ
  • ท้องร่วง บางคนอาจจะเรื้อรัง
  • น้ำหนักลด.
  • มีไข้
  • ไอและหายใจลำบาก

เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • เหงื่ออกกลางคืน
  • ไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรัง
  • ไอเรื้อรังและหายใจลำบาก
  • ท้องร่วงเรื้อรัง
  • ลิ้นเป็นฝ้าขาว
  • ปวดศีรษะ
  • ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา
  • น้ำหนักลด
  • การติดเชื้อฉวยโอกาส 
  • เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย
  • หากเป็นผู้หญิงก็มีอาการตกขาวบ่อย
  • เพลียและเหนื่อยง่าย
  • บางคนมีผื่นตามตัว

ท่านที่ติดเชื้อ HIV จะมีสุขภาพดีจะต้องทำอย่างไร

ท่านที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีสุขภาพดีได้โดยจะต้องปฏิบัติตัวโดยเคร่งคัดดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคนี้
  • ไปตามที่แพทย์นัด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากมีผลข้างเคียงของยาต้องปรึกษาแพทย์ห้ามหยุดยาเอง 
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม 
  • ให้หยุดสรุปบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • รู้จักผ่อนคลาย

การดำเนินของโรค HIV 

ผู้ป่วยบางคนที่ได้รับเชื้อ HIV และดำเนินไปสู่โรค AIDS เร็ว บางคนก็ดำเนินช้า ผู้ป่วยที่ดำเนินช้า(A slow progress)อาจจะเนื่องจากพันธุกรรม หรือได้รับเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งภูมิของร่างกายสามารถคุมเชื้อได้ และการปฏิบัติตัวที่ดี ส่วนผู้ที่การดำเนินของเชื้อเร็วอาจจะเนื่องจากได้รับสายพันธ์ที่มีความรุนแรงมาก เชื้อมีการแบ่งตัวมาก อายุมาก ติดยาเสพติด ติดสุรา

การรักษา

ตั้งแต่ได้รับเชื้อHIV จนกระทั่งเป็นAIDS ผุ้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่เชื้อกำลังทำลายร่างกายอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะมียารักษาโรคหรือป้องกันการไปสู่โรค AIDS หลายคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จะไม่ยอมเจาะเลือดเพราะกลัวเจอเชื้อซึ่งยังไม่มีการรักษาแต่ปัจจุบันได้ค้นพบยาหลายชนิด ซึ่งสามารถลดการแย่งตัวของเชื้อทำให้ป้องกันโรค AIDS ได้ หากว่ารู้ว่าติดเชื้อ HIV ตั้งแต่เริ่มแรกการให้ยาป้องกันโรค AIDS จะได้ผลดี

การติดต่อของเชื้อ HIV 

เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้หลายทางดังต่อไปนี้

  1. ทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะไม่ได้ใส่ถุงยางคุมกำเนิดเมื่อร่วมเพศกับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ(ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ไม่ทราบสถานะของคู่ขา ) ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศระหว่างชายหญิงหรือทางทวารหนัก หรือทางปาก หรือการใช้อุปกรณืทางเพศร่วมกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เช่นถุงยางคุมกำเนิด การที่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เช่นหนองใน แผลริมอ่อน หรือการใช้ยาฆ่า sperm จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV  พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
  2. การใช้เข็มร่วมกันสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดท่านควรจะใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่นโดยเฉพาะใช้ร่วมกันหลายคนและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ บี
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ถูกเข็มตำ อัตราการติดเชื้อพบได้ 3/1000 ราย
  4. ติดต่อโดยการให้เลือดที่มีเชื้อโรค ซึ่งปัจจุบันการตรวจเลือดและการคัดกรองการบริจาคทำให้ปัญหานี้ลดลง
  5. การติดต่อจากแม่ไปลูก เด็กประมาณ1/4-1/3ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ HIV ที่ไม่ได้รับการรักษาจะติดเชื้อ HIV แต่ถ้าหากแม่ได้รับการรักษาโอกาสติดเชื้อจะลดลงโดยเฉพาะหากผ่าตัดทางหน้าท้อง

กิจกรรมที่ไม่ติดต่อ

หลายท่านที่มีเพื่อนหรือญาติเป็นโรค AIDS กังวลจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจนำไปสู่การซึมเศร้าท่านไม่สามารถติดเชื้อจาก อากาศ อาหาร น้ำ ยุงหรือแมลงกัด ห้องน้ำ ช้อนซ่อม ท่านสามารถช่วยผู้ป่วยใส่เสื้อผ้า ช่วยป้อนอาหารอาบน้ำโดยที่ไม่ติดเชื้อ กิจกรรมที่ดำเนินตามปกติมักจะไม่ติดต่อเช่น

  • การจับมือหรือการสัมผัสภายนอก
  • การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
  • การใช้ถ้วยชามร่วมกัน
  • สัมผัสกับเหงื่อหรือน้ำตาก็ไม่ติดต่อ
  •  การว่ายน้ำในสระเดียวกัน
  • การใช้โถส้วมเดียวกัน
  • ถูกแมลงหรือยุงกัด
  • การจูบกัน
  • การบริจาคเลือด

ความสำคัญของการวินิจฉัย

หลายคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ไม่กล้าเจาะเลือดเพราะเข้าใจผิดว่าไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ หากท่านรอจนกระทั้งเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสจึงรู้ว่าเป็นโรค aids โอกาสที่จะรักษาและป้องกันก็จะน้อยลง ดังนั้นท่านที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อ HIV เช่นใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น มีเพศสัมพันธ์กับคู่ขาหลายคนโดยที่ไม่ได้ป้องกัน รักร่วมเพศ จะต้องรีบตรวจหาเชื้อ หากผลเลือดให้ผลบวกจะได้รับยาที่ชลอการเกิดโรคAIDS และยาที่ลดการติดเชื้อฉวยโอกาสหากท่านไม่เจาะรอจนกระทั้งเป็น AIDS ภูมิของท่านรวมทั้งอวัยวะภายในจะถูกทำลาย 

โรคติดเชื้อ HIV และระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) เข้ากระแสเลือดเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การทำลายภูมิอาจจะเร็วต่างกันในแต่ละคน บางคนทำลายเร็วไม่กี่ปีก็เป็นโรคเอดส์ แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 10 ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงที่ควรทราบดังนี้

  • การเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ HIV ในเลือด (viral load ) จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าเชื้อจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันเร็วแค่ไหน ถ้าเชื้อมีปริมาณมาก จะทำลายภูมิของร่างกายเร็ว ยาต้านไวรัส HIV ที่ดีจะสามารถยับยังการแบ่งตัวของเชื้อ ทำให้หยุดยั้งการดำเนินของโรค
  • การเจาะเลือดหาเซลล์ CD-4 จะบ่งบอกสภาพภูมิของร่างกาย เซลล์ CD-4 ยิ่งต่ำภูมิยิ่งบกพร่องมากขึ้นเท่านั้น
  • หากไม่ได้รักษาเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันอย่างมากทำให้ร่างกายติดเชื้อฉวยโอกาส โดยเฉพาะปริมาณเซลล์ CD-4 น้อยกว่า 300 ถ้าหากต่ำกว่า 100 จะมีการติดเชื้อรุนแรง

ใครควรที่จะต้องเจาะเลือดหาเชื้อHIV

  • ผู้ที่ได้รับเลือดและหรือน้ำเหลืองก่อนปี คศ.1970-1980
  •  รักร่วมเพศ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นโดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • ผู้ที่มีคู่ขาหลายคน
  • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข่นซิฟิลิส หนองใน
  • ผู้ติดยาเสพติดเข้าเส้น
  • คนท้อง

คนท้องกับโรคAIDS

คนท้องทุกคนควรได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากผลเลือดบวกก็ควรจะได้รับยา antiretrovirals เพื่อป้องกันเชื้อถ่ายจากแม่ไปลูก และไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง

การตรวจหาการติดเชื้อ

เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิของโรค

  • เจาะเลือดตรวจหาภูมิโดยวิธี enzyme-linked immunoabsorbent assay (ELISA) ถ้าให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธีการ Western Blot แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้เร็วคือหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 6 เดือนจึงให้ผลบวก
  • การตรวจ HIV PCR เป็นการตรวจหาตัวเชื้อหลังจากสัมผัสโรคโดยที่ภูมิยังไม่ขึ้น

การประเมินผู้ป่วยโรคเอดส์ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก

เพิ่มเพื่อน