การเจาะเลือด Venipuncture
อุปกรณ์สำหรับการเจาะเลือด
- เข็มสำหรับเจาะเลือดขนาดเบอร์ไม่เกิน 22
- กระบอกฉีดยา Syringes
- หลอดแก้วสำหรับเก็บเลือด Blood Collection Tubes
- สายยางสำหรับรัดแขน Tourniquets
- น้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ alcohol
- สำลีหรือผ้าก๊อซสำหรับกดบริเวณที่เจาะเลือด
- อุปกรณ์สำหรับทิ้งของมีคมเพื่อป้องกันได้รับบาดเจ็บจากของมีคม
- พลาสเตอร์สำหรับปิดแผล
มาตราฐานความปลอดภัยในการเจาะเลือด
- ผู้เจาะเลือดควรจะสวมสวมเสื้อคลุมชั้นนอก
- ผู้ที่เจาะควรจะทำความสะอาดมือด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
- สวใถุงมือทุกครั้งและควรจะเปลี่ยนถุงมือเมื่อเปลี่ยนผู้ป่วย
- ใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทิ้ง
- ห้ามถอดหัวเข็ม งอเข็ม ให้ทิ้งลงภาชนะสำหรับทิ้งของมีคม
- ให้ทิ้งถุงมือในภาชนะที่จัดไว้
กระบวนการเจาะเลือด
- ต้องเจาะเลือดให้ถูกคนโดยการเรียกชื่อและนามสกุลพร้อมถามวันเดือนปีเกิดและตรวจสอบกับใบร้องขอเจาะเลือด สำหรับผู้ป่วยในให้ตรวจสอบชื่อและนามสกุลจากแถมชื่อที่ข้อมูอ
- เจาะเลือดให้เพียงพอต่อการตรวจไม่มากหรือน้อยเกินไป
- ตรวจสอบอุปกรณืเจาะเลือดว่าครบหรือไม่
- ล้างมือและสวมถุงมือ
- จัดท่าเจาะเลือดโดยการเหยียดแขนบริเวณข้อศอก
- หาเส้นเลือดที่เจาะง่ายที่สุด
- หากเจาะไม่ได้ 2 ครั้งให้หาผู้ที่ชำนาญช่วยเจาะ
ข้อควรพิจารณาในการเจาะเลือด
- ไม่ควรเจาะเลือดบริเวณที่มีรอยแผล แผลไฟไหม้
- ไม่ควรเจาะเลือดข้างเดียวกับด้านที่ตัดเต้านม
- หลีกเลี่ยงเจาะเลือดบริเวณที่มีก้อนเลือดอยู่เก่า
- ไม่ควรจะเจาะเลือดข้างเดียวกับบริเวณที่ให้น้ำเกลือ หากจะเจาะจะต้องเจาะต่ำกว่าบริเวณที่ให้น้ำเกลือ
- ไม่เจาะเลือดบริเวณที่มีการทำเส้นเลือดเพื่อการล้างไต หรือบริเวณที่ซ่อมเส้นเลือด
- หากำลังเติมเลือดอยู่ให้เจาะหลังจากเติมเลือดไปแล้ว10-15 นาที
- สายยางที่รัดใรักเหนือบริเวณข้อศอก 3-4 นิ้ว ห้ามรัดนานเกิน 1 นาที หากรัดเพื่อหาเส้นเลือดที่จะเจาะ จะต้องคลายสายยาง 2 นาทีจึงรัดใหม่เพื่อเจาะเลือด
- ทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย alcohol โดยทาเป็นรูปวงกลม โดยเริ่มจากจุดที่จะเจาะและวนออกรอบนอก
- ห้ามสัมผัสบริเวณที่จะเจาะเลือด
วิธีการเจาะเลือด
- นำหัวเข็มสวมเข้ากับกระบอกฉีดยา หมุนให้แน่น
- ดึงพลาสติกที่คลุมหัวเข็มออก
- ดึงผิวหนังบริเวณที่จะเจาะให้แน่
- วางแนวเข็มให้ตรงแนวหลอดเลือดที่จะเจาะ
- แทงเข็มเข้าเส้นเลือด เมื่อได้เลือดให้จับกระบกให้แน่ และดูดเลือดอกมา ระหว่าที่เริ่มจะดูดเลือดให้คลายสายยางที่รัดแขนออก
- เมื่อได้เลือดพอแล้วก็ให้ดึงเข็มออกและใช้สำลีกดบริเวณที่เจาะ ปิดพลาสเตอร์
ความเสี่ยงของการเจาะเลือด
- อาจจะมีเลือดออกบริเวณที่เจาะเลือด
- หน้ามืดเป็นลมในระหว่างเจาะเลือด
- มีก้อนเลือดบริเวณที่เจาะ
- การติดเชื้อ
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว