MERS-CoV คืออะไร
MERS-CoV หรือ Middle East Respiratory Syndrome-Corona Virus เป็นเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่เนื่องจากมีความแตกต่างจากเชื้อโคโรนาไวรัสที่เคยติดเชื้อในคน ผู้ป่วยรายแรกที่พบการติดเชื้อ MERS-CoV พบในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ที่ประเทศ Saudi Arabia ดังนั้นในบางครั้งอาจพบการเรียกชื่อเชื้อชนิดนี้ว่า “เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ปี 2012”
- เชื้อโคโรนาไวรัส MERS-CoV เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการตั้งแต่อาการเหมือนไข้หวัด หรือรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตเหมือนไข้หวัดมรณะ
- อาการที่สำคัญคือ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย มักจะมีปอดบวมร่วมด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการทางเดินอาหารเช่น ท้องร่วง อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 36
- การติดเชื้อส่วนใหญ่จากคนสู่คน แต่การติดต่อก็ไม่ง่ายนักจะติดต่อแบบใกล้ชิดมาก เช่นการดูแลผู้ป่วยโดยที่ไม่ได้ป้องกัน
- เชื่อว่วอูฐจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ
แหล่งที่มาของเชื้อ
ยังไม่ทราบแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสชนิดนี้แต่คาดการณ์ว่าติดต่อมาจากสัตว์เนื่องจากพบเชื้อ MERS-CoV ในอูฐในประเทศกาตาร์ โอมาน อียิปต์ และซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้แล้วยังตรวจพบว่าอูฐในประเทศอื่นอีกหลายประเทศมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ MERS-CoV ซึ่งหมายความว่าอูฐเหล่านั้นอาจเคยติดเชื้อไวรัสชนิดนี้หรือสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงมาก่อน นอกจากนี้แล้วในประเทศซาอุดิอาระเบียยังตรวจพบเชื้อ MERS-CoV ในค้างคาวอีกด้วย
อาการแสดง
เชื้อ MERS-CoV ก่อให้เกิดอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจไม่มีอาการ แสดงใดๆ หรือบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเหมือนป่วยเป็นโรคหวัดและหายได้เป็นปกติ จนกระทั่งรุนแรงที่เรียกว่า MERS( Middle East Respiratory Syndrome) ซึ่งประกอบด้วยอาการไอ มีไข้และหายใจลำบาก ผู้ป่วยมักจะมีปอดบวมร่วมด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกราย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาการป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น ท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
ในผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรครุนแรงอาจจะรุนแรงอาจเกิดภาวะปอดบวมถึงกับต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือไตวายได้ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคปอด โรคไต จะมีอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ MERS-CoV ได้สูงกว่าคนทั่วไป และจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรครุนแรง สิ่งที่น่าเป็นกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ MERS-CoV คือผู้ป่วยประมาณร้อยละ 36 จะเสียชีวิต
การติดต่อและระบาดวิทยา
ประเทศที่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 คือ
- ตะวันออกกลาง Jordan, Kuwait, Oman, Qatar, Saudi Arabia, the United Arab Emirates, and Yemen อิหร่าน และเลบานอน
- ยุโรป France, Germany, Greece, Italy, and the United Kingdom
- แอฟริกา Tunisia and Egypt อัลจีเรีย
- เอเซีย Malaysia, the Philippines Korea
- อเมริกา the United States of America (Americas).
โดยยังไม่พบผู้ติดเชื้อนี้ในประเทศไทย แต่ก็พบว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากมีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวแถบตะวันออกกลางเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ทำให้อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้
- การติดต่อจากสัตว์สู่คน ยังไม่มราบแน่ชัดว่าติดต่ออย่างไร แต่เชื่อว่าอูฐจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และจากศึกษาก็ยังไม่พบว่าสัตว์ชนิดอื่นจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ
- การติดต่อจากคนสู่คน การติดต่อของเชื้อ MERS-CoV นั้นพบในบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น บุคลากรทางการแพทย์ บุคคลในครอบครัว เป็นต้น การติดต่อจากคนสู่คนไม่ง่ายนักจะต้องมีความใกล้ชิดกันค่อนข้างมาก เช่นการดูแลผู้ป่วยโดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ยังไม่พบการแพร่ระบาดในชุมชน
การเฝ้าระวัง
จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าเชื้อ MERS-CoV มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2 – 14 วัน ดังนั้นหากผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ และภายใน 14 วัน ก่อนหน้ามีประวัติเดินทางไปในประเทศในคาบสมุทรอาหรับ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศในคาบสมุทรอาหรับ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง แต่ไม่สามารถหาเชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคได้ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ MERS-CoV
การป้องกันและการรักษา
เนื่องจากเชื้อ MERS-CoV เป็นเชื้ออุบัติใหม่ ในปัจจุบันจึงยังไม่มียาต้านไวรัส หรือวัคซีนที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย
การป้องกันโรค เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ปี 2012
ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ
- การปฏิบัติตนตามแนวทางการดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น การทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การล้างมือ การใช้ช้อนกลาง การใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการป่วย เป็นต้น
- หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังตลาด ฟมาร์เลี้ยงสัตว์ หรือสถานที่มีสตว์ที่แพร่เชื้อ
- หากมีความจำเป็นต้องไปแหล่งดังกล่าวให้ดูแลสุขอามัยเป็นพิเศษ การล้างมือก่อนและหลังสัมผัสสัตว์ ไม่สัมผัสสัตว์ที่ป่วย
- ไม่รับประทานเนื้อที่ไม่สุข หรือนมสดเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
- ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เมื่อป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการรุนแรงควรจะหลีกเลี่ยงการไปยังประเทศเหล่านี้และหลีกเลี่ยงอาหารดิบๆ
แนวทางการเฝ้าระวัง
สำนักงานระบาดวิทยาได้จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ในประเทศไทย โดยกลุ่มผู้ป่วยที่จะต้องทำการเฝ้าระวัง ได้แก่
- ผู้ป่วยปอดบวมรุนแรง หรือมีภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุ
- ผู้ป่วยปอดบวมที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
- อาศัยหรือเดินทางจากประเทศแถบตะวันออกกลางในช่วง 14 วันก่อนป่วย
- เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยปอดบวมในช่วง 14 วันก่อนป่วย
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เข้าข่าย หรือ ผู้ป่วย ในช่วง 14 วันก่อนหรือหลังป่วย
- ผู้ป่วยปอดบวมที่เกิดเป็นกลุ่มก้อน คือ พบผู้ป่วยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ที่เวลาเริ่มป่วยห่างกันไม่เกิน 14 วัน ในชุมชนเดียวกัน
- ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เข้าข่าย หรือ ผู้ป่วย ในช่วง 14 วันก่อนหรือหลังป่วย
คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
- ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ โดยควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที หรืออาจใช้แอลกอฮอล์เจลแทนได้ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการไอ จาม
- ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่แออัด หากจำเป็นต้องเข้าไปในที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย ในกรณีที่มีอาการไอ จาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
คำแนะนำสำหรับนักท่อเที่ยวที่ไปยังประเทศที่มีเชื้อดรคนี้อยู่
จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน
- แจ้งให้ผู้ที่ท่องเที่ยวทราบว่าพื้นนั้นมีโรค เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม หากผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่จะติดเชื้อได้ง่ายและอาจจะเกิดอาการรุนแรงได้ง่าย
- เน้นให้ผู้ท่องเที่ยวดูแลสุขอนามัยให้ดี เช่น การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หลีเลี่ยงอาหารไม่สุข รับประทานผักและผลไม้ที่ล้างสะอาดแล้วเท่านั้น
- แจ้งนักท่องเที่ยวหากเกิดอาการมีไข้หรืออาการไข้หวัด ต้องไม่ไปในที่แออัด ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม ทิ้งกระดาษชำระลงถัง ล้างมือหลังจากหรือไอ และแจ้งเจ้าหน้าที่
- แจ้งนักท่องเที่ยวที่กลับจากเที่ยวแหล่งระบาดให้ทราบว่าหากภายใน 2 สัปดาห์หลังกลับมีไข้ไอ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าเพิ่งจะกลับจากประเทศอะไร
- แจ้งรายชื่อผู้ที่ดูแลท่านอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะเฝ้าระวังการติดเชื้อ
การป้องกัน
สถานการณ์ของเกาหลีขณะนี้(11กค2558)ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ที่ต้องเฝ้าระวังก็ลดลง น่าที่จะควบคุมโรคได้แล้ว http://www.mers.go.kr/mers/html/jsp/Menu_C/list_C4.jsp?menuIds=&fid=5767&q_type=&q_value=&cid=64187&pageNum=
เอกสารอ้างอิง
- http://www.who.int/mediacentre/news/situation-assessments/2-june-2015-south-korea/en/
- Center for Disease Control and Prevention. Middle East Respiratory syndrome [internet]. 2014 [cited 2014 Apr 11].
- สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 [internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2557].
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน และความคืบหน้าการดำเนินงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 (MERS-CoV)[internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2557].
- สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.สถานการณ์ผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2012[internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค.2557].
- คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาและการป้องกันควบคุมการติดเชื้อผู้ป่วยMERS-CoV.2556 ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2556 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2557].
เรื่องที่เกี่ยวข้อง