เชื้อไข้หวัดนก
เป็นไวรัสอยู่ในตระกูล Orthomyxoviridae แบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ types A, B และ C เชื้อไข้หวัดนกจะเป็นชนิด type A เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ H5,H7,H9 อ่านเรื่องการจำแนกเชื้อได้ที่นี่
- Influenza A H5
- แบ่งออกเป็น 9 subtype
- เป็นได้ทั้งชนิดที่มีความรุนแรงมากหรือรุนแรงน้อย
- การติดเชื้อ H5 ทำให้เกิดโรครุนแรงในคน
- Influenza A H7
- แบ่งออกเป็น 9 subtype
- เป็นได้ทั้งชนิดที่มีความรุนแรงมากหรือรุนแรงน้อย
- การติดเชื้อ H5 ทำให้เกิดโรครุนแรงในคน
- ไม่ค่อยจะทำให้เกิดการติดเชื้อในคน แต่อาจจะเกิดในคนที่สัมผัสใกล้ชิดทำให้เกิดตาแดง และอาการหวัด
- Influenza A H9
- แบ่งออกเป็น 9 subtype
- เป็นชนิดมีความรุนแรงน้อย
- เท่าที่พบมีรายงานผู้ป่วย 3 ราย
เชื้อไข้หวัดนก H5N1
ความเป็นอยู่ของเชื้อโรค
- เชื้อนี้สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน ในน้ำที่อุณหภูมิ 22 องศาเชื้อสามารถอยู่ได้นาน 4 วัน ที่อุณหภูมิ 0 องศาเชื้อสามารถอยู่ได้นาน 30 วัน
- วิธีการทำลายเชื้อ
- ความร้อนที่ 56 องศาเป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือ 60 องศาเป็นเวลา 30 นาที
- สภาวะที่เป็นกรด
- มีสาร oxidizing agents เช่น sodium dodecyl sulfate, lipid solvents, and B-propiolactone
- สารฆ่าเชื้อเช่น Iodine,fomalin
เชื้อไข้หวัดนกมีกี่สายพันธ์
แหล่งอาศัยของเชื้อโรค
พวกนกน้ำ หรือเป็ดป่าจะเป็นพาหะของโรค เมื่อมันอพยพไปที่ใดก็จะนำเชื้อไปด้วย หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่นอากาศเย็นก็จะทำให้มีการแพร่พันธ์ไปยังสัตว์เลี้ยง สัตว์ปีกทั้งหลายที่เป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อได้รับเชื้อโรคจะทำให้เกิดโรค สัตว์ต่างๆได้แก่
- Chickens
- ไก่งวงTurkeys
- เป็ด Ducks
- นกกระทา Partridges
- ก่ฟ้า Pheasants
- นกพิราบ Pigeons
- นกกระจอกเทศ Ostriches and other ratites
- ห่าน Geese
- ไก่ต๊อกGuinea fowl
เชื่อว่าการอพยพของนกเป็ดน้ำ หรือนกจะเป็นตัวพาเชื้อแพร่กระจาย พวกนกน้ำจะมีความต้านทานต่อเชื้อโรคนี้และเป็นพาหะของโรค
การระบาดของเชื้อโรค
ทางเข้าของเชื้อโรค
- ทางปากโดยเชื้อที่ปนเปื้อนในเสมหะ หรือน้ำลาย หรืออุจาระของนกที่ป่วย
- เยื่อบุตา
- ทางเดินหายใจ
วิธีการระบาดของเชื้อโรค
- การระบาดของไข้หวัดนกเริ่มแรกจะระบาดจากการที่นกน้ำ นกนางนวลหรือนกป่านำเชื้อมาสู่ฟาร์มโดยที่นกนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าไปในฟาร์ม แต่อาจจะถ่ายอุจาระ หรือสารคัดหลั่งลงในน้ำธรรมชาติ เมื่อสัตว์เลี้ยงดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาด
- การระบาดในระยะที่สองเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากไก่ที่ติดเชื้อไปสู่ฟาร์มอื่นโดยทางอาหาร รัง ถาดไก่ คน
การป้องกันการระบาดโดยการฉีดวัคซีน
เมื่อมีการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มก็จะมีการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม การทำลายสัตว์ที่ติดเชื้อ การกักกันสัตว์ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อ ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจจะไม่พอที่จะควบคุมการระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์มาก และการทำลายสัตว์ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมายจึงได้มีแนวความคิดในการควบคุมการระบาด โดยการฉีดวัคซีน
เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันได้ต่างเดิม เช่นจำนวนสัตว์ในแต่ละฟาร์มมีจำนวนเพิ่มขึ้น ช่วงในการเลี้ยงแต่ละครอกลดลง การทำลายสัตว์ที่สงสัยจะติดเชื้อเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดความรู้สึกทารุนสัตว์ จึงมีแนวความคิดในการควบคุมการระบาดโดยการฉีดวัคซีน แต่การฉีดวัคซีนก็จะมีปัญหาเรื่องการแยกสัตว์ซึ่งติดเชื้อและสัตว์ซึ่งได้รับวัคซีน ซึ่งอาจจะทำให้มีการแพร่เชื้อโรคหากมีการส่งออก
อาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนก
เนื่องจากยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากทำให้ยังมีความรู้เรื่องนี้น้อย ผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ไอ ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจหอบเนื่องจากมีอาการปอดบวม
ไข้หวัดนกกับอาวุธทางชีวภาพ
มีการหวาดกลัวจะนำเชื้อไข้หวัดนกมาใช้ทำอาวุธสงครามเพราะ
- เชื้อนี้ติดต่อง่าย
- อัตราการตายสูง
- ทำให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก เพราะทำให้สัตว์ตายมาก ป้องกันหรือควบคุมลำบาก เนื้อสัตว์แพงขึ้น
- เชื้อมีการกลายพันธ์สูง ตัวอย่างที่ฮ่องกงเชื้อสามารถติดต่อสู่คน
อาการแสดงของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- ระยะพักตัว 3-7 วัน
- อาการที่สำคัญ
- ในรายที่ได้รับเชื้อชนิดรุนแรงจะตายเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเตือน
- สัตว์จะซึม ขนจะยับและยุ่ง
- เบื่ออาหาร
- ไข่ลดลง อาจจะออกไข่โดยที่ไม่มีเปลือกไข่ ต่อมาจะไม่ไข่
- คอและเท้าจะบวม
- เหนียงและหงอนจะบวมและเขียว
- มีจุดเลือดออก
- หิวน้ำ
- ท้องร่วงแรกๆจะสีเขียวต่อมาถ่ายเหลวสีขาว
- เลือดออกที่ข้อเท้าและขา
- น้ำมูกและน้ำตาไหล
- ไอจาม
- ทรงตัวไม่อยู่ เดินเซ ต่อมาหัวจะตกติดพื้น
- อัมพาต
- อัตราการตาย 100%
- อาจจะตายก่อนเกิดอาการ หรือหลังเกิดอาการแล้ว 1 สัปดาห์ส่วนใหญ่ตายใน 48 ชั่วโมง
ผลการตรวจสัตว์ที่ตาย
- สำหรับนกที่อายุน้อยอาจจะตรวจไม่พบความผิดปกติ
- กล้ามเนื้อจะมีเลือดคั่งมาก
- เยื่อบุตาจะบวมและมีจุดเลือดออก
- มีเสมหะจำนวนมากในหลอดลม
- หลอดลมจะมีเลือดออก
- มีจุดเลือดออกในช่องท่อง
- ไตบวม
- เลือดออกในกระเพาะ ลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง
- เลือดออกในรังไข่
คลิกดูภาพ
การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัย
สัตว์ที่ตาย
ให้นำเอาอวัยวะส่วน สมอง ม้าม ปอด หลอดลม ตับอ่อน ถุงลม ส่งตรวจ
สัตว์ที่มีชีวิต
- นำสารคัดหลังเช่น เสมหะ อุจาระ
- เจาะเลือดตรวจ
การฉีดวัคซีน
ได้มีการทดลองใช้วัคซีนฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในไก ่และไก่งวงพบว่าสามารถลดอัตราการตายและการติดเชื้อ แต่ข้อเสียของวัคซีนคืออาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในนกบางประเภท และไม่สามารถป้องกันไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่น ทำให้สัตว์นั้นไม่เป็นโรคแต่จะเป็นพาหะของโรคทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก
การรักษา
ยังไม่มียาที่ใช้รักษา
การป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มไก่
- ป้องกันฟาร์มจากสัตว์ป่า เช่นนกเป็ดน้ำ นกน้ำหรือนกที่อพยพจากประเทศอื่น
- อย่านำสัตว์ซึ่งยังไม่ได้ตรวจหรือกักโรคเข้าฟาร์ม
- สำหรับผู้ดูแลฟาร์มต้องใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม เช่น เสื้อคลุม ถุงมือ หน้ากากอนามัย หมวก และการทำความสะอาดร่างกาย
- ทำความสะอาดและทำให้ฟาร์มปราศจากเชื้ออย่างถูกต้อง
- ใช้ระบบ all-in/all-out production system
- ไม่ควรใช้แหล่งน้ำธรรมชาติเพราะอาจจะปนเปื้อนเชื้อโรคจากสัตว์ป่า
- ควรจำกัดการเข้าออกของรถ
- ควรทำความสะอาดรถและอุปกรณ์ก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม
- อย่างใช้รถ หรืออุปการณ์การเลี้ยงร่วมกัน
- ไม่ควรไปฟาร์มอื่ื่น หากจำเป็นต้องเปลี่ยนชุด ทำความสะอาดร่างกายใส่รองเท้าก่อนเข้าฟาร์ม
- อย่าน้ำนกหรือสัตว์ปีกเข้าฟาร์ม
การควบคุมตลาดค้าสัตว์ปีก
- ใช้ลังพลาสติกแทนไม้เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด
- กำจัดขนและอุจาระสัตว์ให้สะอาด
- ทำความสะอาดรถและอุปกรณ์ทุกชนิดก่อนเข้าฟาร์ม
- ทำความสะอาดตลาดทุกวัน
- ไม่นำสัตว์ที่ขายไม่หมดเข้าฟาร์ม
- แยกสัตว์ที่มาใหม่จากสัตว์ที่ขายไม่หมด
การควบคุมการระบาด
- ทำลายสัตว์ที่สงสัยว่าจะติดโรค
- ทำความสะอาดรถ และอุปกรณ์ที่สัมผัสสัตว์ที่ป่วย
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
- หลังจากทำลายสัตว์และทำความสะอาดฟาร์มแล้วอย่างน้อย 21 วันจึงจะเริ่มเลี้ยงใหม่
การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก
- รักษาร่างกายให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย ผักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
- เมื่อไม่สบายไม่ควรจะเข้าที่ชุมชนหรือที่อากาศไม่ถ่ายเท
- ไม่สัมผัสกับสัตว์ปีกที่มีชีวิต
- ล้างมือหลังสัมผัสสัตว์
- เด็กไม่ควรจะสัมผัสกับไก่หรือนก
การป้องกันเชื้อไข้หวัดนกกลายพันธุ์
โดยปกติเชื้อไข้หวัดนกจะติดเฉพาะสัตว์ปีกจนกระทั่งในปี คศ.1997 ได้มีการระบาดของไข้หวัดนกกับไก่ในฮ่องกง และมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 18 คนและเสียชีวิต 6 คน ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไข้หวัดเชื่อว่าจะมีการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกทั่วโลกในเร็ววันนี้ จึงได้มีคำแนะนำเพื่อป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก
- การกำจัดแหล่งแพร่เชื้อโรคอย่างเร่งด่วนเพื่อกำจัดเชื้อโรค และป้องกันการกลายพันธุ์
- สำหรับคนเลี้ยงไก่ให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันมิให้คนเลี้ยงได้รับเชื้อไข้หวัดไก ่และไข้หวัดนกซึ่งจะทำให้เชื้อเกิดการกลายพันธุ์
- คนเลี้ยงต้องสวมใส่เครื่องป้องกันการติดเชื้อ
- คนเลี้ยงต้องได้รับยาต้านไวรัส
กลับหน้าเดิม