การวินิจฉัยวัณโรค
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการระบาดของโรควัณโรคอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะสูง ดังนั้นประชากรส่วนหนึ่งจะได้รับเชื้อเข้าไป แต่เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังดีจึงยังไม่เกิดโรคเราเรียกการติดเชื้อนี้ว่า latent TB ซึ่งจะทราบโดยการทดสอบภูมิที่ผิวหนัง ส่วนผู้ที่มีภูมิลดลงและเกิดโรคซึ่งอาจจะเกิดที่ปอดหรือนอกปอดเราเรียก Actve TB ซึ่งการวินิจฉัยโรคมีดังนี้
latent TB
- การวินิจฉัยจะใช้การทดสอบภูมิที่ผิวหนัง
Actve TB
- การวินิจฉัยทำได้โดยการฉายภาพรังสีทรวงอก การตรวจเสมหะ และการตรวจชิ้นเนื้อเช่นต่อมน้ำเหลืองในกรณีที่เป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลือง
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นวัณโรค
เมื่อมีอาการไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีไข้ต่ำๆ บางครั้งเสมหะมีเลือดปน หากเป็นเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องรีบปรึกษาแพทย์
การวินิจฉัยวัณโรค
การวินิจฉัยวัณโรคปอด
- อาการและอาการแสดง อาการที่น่า สงสัยว่าเป็นวัณโรคปอด ได้แก่อาการไอเรื้อรัง โดย เฉพาะหากไอนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอเป็นเลือด สำหรับอาการอื่นๆ เช่น อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออก ตอนกลางคืนหรือเจ็บหน้าอก อาจเป็นอาการของ วัณโรคได้ แต่มีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าอาการ ไอเป็นเลือด
- การถ่ายภาพรังสีทรวงอก เป็นการ ตรวจที่มีความเฉพาะเจาะจงต่ำ คือความผิดปกติที่ เห็นอาจจะไม่ใช่เกิดจากวัณโรคก็ได้ โดยอาจจะเป็น เงาเปรอะเปื้อนบนฟิล์ม เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือ เกิดจากโรคติดเชื้ออื่นๆ การที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น วัณโรคปอดจึงต้องการทำร่วมกับการตรวจเสมหะหา เชื้อวัณโรคด้วยเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยผิด พลาดและการรักษาที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด
แพทย์จะให้ทำ X-RAY ปอด
- การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค
- 3.1 การย้อมเสมหะและตรวจด้วยกล้อง จุลทรรศน์ Ziehl Neelsen เป็นวิธีที่ง่าย ได้ผลเร็ว สิ้น ค่าใช้จ่ายน้อย เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคที่องค์การ อนามัยโลกกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อกำหนดสูตรยา และผู้ป่วยที่เสมหะบวกโดยวิธีนี้สมควรที่จะได้รับ การรักษาโดยไม่ชักช้า ผู้ป่วยที่มีเงาผิดปกติของภาพ รังสีทรวงอกที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรคจะต้องได้รับ การตรวจเสมหะโดยวิธีนี้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยทุก ราย ในทางปฏิบัติให้ตรวจเสมหะที่ผู้ป่วยไอออกมา ในโอกาสแรกที่พบแพทย์ และวันต่อๆมารวมเป็น 3 ครั้ง เพื่อความสะดวกของผู้ป่วยอาจจะให้เก็บเสมหะ ของผู้ป่วยที่มาตรวจในวันที่ 2 เป็น 2 ครั้ง คือเสมหะ ตอนเช้าและเสมหะขณะที่มาตรวจ วิธีเก็บเสมหะที่ ถูกต้องมีความสำคัญมากจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วย เข้าใจว่าต้องเป็นเสมหะที่ไอจากส่วนลึกของหลอด ลมจริงๆ ไม่ใช่นำน้ำลายมาตรวจ เสมหะที่ได้ควรส่ง ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจโดยไม่ชักช้า ถ้าเก็บไว้ควร เก็บไว้ในตู้เย็น 4o ซ. แต่ไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 1 สัปดาห์
- 3.2 การเพาะเชื้อวัณโรค และการ ทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ควรทำการเพาะเชื้อ ในรายที่อยู่โรงพยาบาลที่สามารถจะทำการเพาะเชื้อ ได้หรือในรายสงสัยว่าจะเป็นวัณโรคแต่เสมหะไม่พบ เชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
เชื้อวัณโรคที่ตรวจจากเสมหะพบลักษณะตัวแดงเล็กๆ
- การส่งเสมหะเพาะเชื้อวัณโรคและทดสอบความไวของเชื้อต่อยาวัณโรคก่อน การรักษาจะต้องทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะ มีเชื้อวัณโรคดื้อยา ในกรณีต่อไปนี้
- ผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาไม่สม่ำเสมอ
- ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกลับเป็นซ้ำ
- ผู้ป่วยที่มีการรักษาล้มเหลว
- ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยดื้อยา หรือมี ประวัติวัณโรคดื้อยาในครอบครัว
- ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด
- การตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ
- การใช้เทคนิคใหม่อย่างอื่น เช่น Polymerase chain reaction (PCR), Ligase chain reaction (LCR), Transcription mediated amplification (TMA) ยังไม่เหมาะสม ที่จะนำมาใช้ ในการวินิจฉัยวัณโรคปอด ตามห้องปฏิบัติการทั่วไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และต้องอาศัยความชำนาญ ของเจ้าหน้าที่เทคนิคมาก การประเมินค่าใช้จ่ายต่อ ผลประโยชน์จะไม่คุ้มค่า ยกเว้นในบางกรณีโดย เฉพาะการวินิจฉัยวัณโรคนอกปอด เช่น การใช้ PCR ในการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง Adenosine deaminase activity ในการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น
การวินิจฉัยสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่
- การทดสอบหาภูมิต่อเชื้อวัณโรคทางผิวหนัง
tuberculin skin test โดยการฉีด purified protein derivative
(PPD)
เข้าใต้ผิวหนังแล้วอ่านผลใน
24-48 ชั่วโมง
ถ้าพบบริเวณที่ฉีดบวมและแดงเกิน
10
มม.แสดงว่าผู้นั้นได้รับเชื้อ การทดสอบผิวหนัง
จะทำอย่างไรเมื่อเป็นวัณโรค
- รับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด ถ้ามีปัญหาปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา
- หลังรักษาไป2-3 สัปดาห์อาการจะดีขึ้นห้ามหยุดยาโดยเด็ดขาด
- ใช้ทิสชู่ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
- งดสิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด
- จัดบ้านให้แสงเข้าลมถ่ายเทเป็นอย่างดี
- บ้วนเสมหะลงภาชนะที่มีฝาปิด แล้วทำลายโดยการต้มในน้ำเดือด 5-10 นาที
- ผู้ที่อาศัยอยู่ด้วยกันโดยเฉพาะเด็กควรไดัรับการตรวจร่างกาย x-ray และทดสอบผิวหนัง
- กินอาหารได้ทุกชนิด
ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว