วัณโรคดื้อยา

เนื่องจากผู้ป่วยโรคเอดส์มีมากขึ้น และมีการติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้นผู้ป่วยส่วนหนึ่งขาดความเข้าใจและไม่ร่วมมือการรักษา รักษาไม่สม่ำเสมอ รับประทานยาไม่ครบทำให้เกิดวัณโรคดื้อต่อยาที่ใช้รักษา ทำให้เกิดปัญหาต่อครอบครัวและตัวเอง วัณโรคดื้อยามีด้วยกันสองชนิดคือMultidrug-Resistant TB(MDR)

นิยาม MDR-TB หมายถึงการที่เชื้อวัณโรคดื้อต่อยา INH และ rifampicin หรือ INH และ rifampicin(ได้แก่ INH , Rifampicin ) ร่วมกับยา อื่นหรือไม่ก็ได้ อย่างน้อยสองชนิดภาวะเชื้อดื้อยาหลายขนานซึ่งพบได้ มากขึ้นในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เชื่อว่าเกิดจากการรักษาโดยใช้ยาที่คุณภาพไม่ได้ มาตรฐานและวิธีการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับการระบาดของเอดส์ ผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้จะรักษายากกว่าและต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่า

Extensively drug resistant TB (XDR TB)

หมายถึงเชื้อวัณโรคที่ต่อยา isoniazid , rifampin และยังดื้อต่อยาที่ใช้เป็นทางเลือกที่สอง เช่น fluoroquinolone , amikacin, kanamycin, capreomycin มักจะพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรค

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดวัณโรคดื้อยา

  • ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบทุกชนิด เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจาก ญาติ เพื่อน หรือคนรู้จัก หรืออาจจะเกิดจากการแพ้ยา ดังนั้นหากท่านจะลดหรือเลิกกินยาต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันวัณโรคดื้อยา
  • เกิดวัณโรคซ้ำหลังการรักษาวัณโรคแล้ว
  • ไปในแหล่งที่มีวัณโรคดื้อยา
  • อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีวัณโรคดื้อยา
  • ผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับยาน้อยกว่า 6-12 เดือน ผู้ป่วยมักจะหยุดยาหลังจากได้รับยา 2-4 สัปดาห์ เนื่องจากสบายตัวขึ้น หรืออาจจะเกิดผลเสียจากยา
  • ผู้ป่วยได้รับยาน้อยไป
  • ขนาดยาไม่พอ
  • ผู้ป่วยเอดส์มากขึ้นทำให้มีวัณโรคมากขึ้น

ผู้ที่เป็นวัณโรคต้องรักษาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด หากเกิดผลข้างเคียงจากยา ควรจะปรึกษาแพทย์

ปัจจัยเสี่ยงต่อวัณโรคดื้อยา

  1. ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติรักษาวัณโรคมาก่อน หรือรักษาไม่หาย
  2. ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา
  3. ผู้ที่ติดเชื้อโรคเอดส์
  4. ผู้ที่อยู่ในถิ่นที่มีการดื้อยาสูง

การรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน Multi-drug resistant TB (MDR-TB)

  • การรักษา MDR-TB ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือส่งไป รักษาในโรงพยาบาล
  • ถ้าทราบผลของการทดสอบความไวของ ยา ให้เลือกใช้ยาอย่างน้อย 3-4 ขนาน ที่มีความไว ต่อเชื้อวัณโรค โดยให้ระยะเวลาของการรักษายาว นาน 18-24 เดือน หรือตรวจเสมหะและเพาะเชื้อไม่ พบเชื้อต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
  • การผ่าตัด (surgical resection) เป็นวิธี ที่อาจจะนำมาใช้ร่วมกับการรักษาทางยาในกรณีที่มี localized disease และสภาพร่างกายทนการผ่าตัดได้ โดยเฉพาะในรายที่ไม่สามารถให้การรักษาวัณโรค ด้วยยาเพียงอย่างเดียวได้ ช่วงที่มีความเสี่ยงจาก ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อยควรเป็นช่วงที่ ตรวจเสมหะไม่พบเชื้อแล้วหลังได้รับยารักษา (sputum conversion)

หมายเหตุ :

  • ควรส่งเสมหะเพื่อทดสอบความไวต่อทุก ราย
  • ในยา 3-4 ขนานที่เลือกใช้ ควรมียาชนิด ฉีด 1 ขนานโดยให้ฉีดทุกวัน หรือ ฉีด 3 ครั้งต่อ สัปดาห์ ทำต่อเนื่องเป็นเวลา 4-6 เดือน
  • ให้ตรวจเสมหะย้อมสีทนกรดทุกเดือน ขณะทำการรักษา
  • ควรให้การรักษาแบบ DOTS ทุกราย

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

ทบทวนวันที่ 19/2/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน