การรักษาวัณโรค
ผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รักษาจะมีอัตราการตาย ร้อยละ 40-60 ปัจจุบันมีวิธีการรักษาวัณโรคระยะสั้น โดยการให้ยารักษาควบคู่กันไปหลายขนาน หากรักษาครบกำหนดจะมีอัตราหายร้อยละ
90 การรักษาจะใช้ร่วมกันหลายชนิดโดยให้ INH, Rifampicine 6 เดือน
และให้ Ethambutal,pyracinamide 2 เดือนแรก ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยก็สามารถไปรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยของรัฐเมื่อรักษาไป 2-3 สัปดาห์ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่าตัดสินใจหยุดยาเองเป็นอันขาด การกินยาไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดจะทำให้เชื้อโรคดื้อยา
การรักษาวัณโรคที่ดื้อยา ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่ผู้อื่น จะต้องใช้ยา 18-24 เดือนโดยใช้ยาที่เชื้อไม่ดื้อยาอย่างน้อย3 ชนิด
ระบบยาที่แนะนำ มีดังต่อไปนี้
- ระบบยาสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับการ รักษามาก่อน (หรือไม่เกิน 1 เดือน) การให้ยาแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะเข้ม ข้น (intensive phase) และระยะต่อเนื่อง(maintenance phase) ระบบยาที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งในแง่ประสิทธิภาพที่ดี ราคายาที่ เหมาะสม และอัตราการกลับเป็นใหม่ของโรคที่ต่ำ(relapse) ได้แก่
- 1.1 ผู้ป่วยใหม่ย้อมเสมหะพบเชื้อ
- 1.1.1) ระบบยาที่ใช้เวลา 6 เดือน 2HRZE(S)/4HR หรือ 2HRZE(S)/4H3R3
- 1.1.2) ระบบยาที่ใช้เวลา 8 เดือน 2HRZE(S)/6HE
- 1.1.3) ระบบยาที่ใช้เวลา 9 เดือน 2HRE/7HR
- ยารักษาวัณโรค
หมายเหตุ :
- แนะนำให้ใช้สูตร 6 เดือนเป็นหลัก ให้ ใช้ยาอย่างน้อย 4 ชนิด ในระยะเข้มข้นเนื่องจากมี อัตราเชื้อต้านยาปฐมภูมิต่อ INH สูง ยกเว้นในผู้ป่วย บางรายที่มีปัญหาเช่น ทนฤทธิ์ยาพัยราซินะไมด์ไม่
ได้ อาจใช้2HRE/7HR ได้
- ต้องพยายามจัดระบบการรักษาระยะ สั้นแบบให้กินยาภายใต้การสังเกตโดยตรง Directly observed treatment, short coutse (DOTS) ทุกราย เพื่อป้องกันการดื้อยา
- การให้ยาแบบสัปดาห์ละ 3 ครั้ง มี เงื่อนไขว่าต้องให้ผู้ป่วยกินยาต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับยาจริง
- การใช้ยาในระยะ 2 เดือนแรก มีความ สำคัญต่อการรักษามาก ควรจัดให้อยู่ในการควบคุม อย่างใกล้ชิด หรือ DOTS
- ยา อีแธมบิวตอล และ สเตร็พโตมัยซิน อาจใช้แทนกันได้
- ยารับประทานทุกขนานควรใช้วันละ ครั้งเดียวเวลาท้องว่าง เช่น ก่อนนอนโดยจัดรวมอยู่ ในซองเดียวกัน
- เพื่อให้ได้ผลการรักษาดีที่สุด ต้องให้ แน่ใจว่า ผู้ป่วยใช้ยาทุกขนานครบตามระบบยานั้น
- ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่รับประทานยาบางขนาน ซึ่ง อาจจะทำให้เกิดภาวะดื้อยา และการรักษาไม่ได้ผล ดี จึงสนับสนุนให้ใช้ยา Rifampicin รวมกับยาอื่น 13 รวม 2-3 ขนานในเม็ดเดียวกัน (Fixed-dose combination) ซึ่งมีกำหนดสัดส่วนที่แน่นอนโดยเลือก ยาชนิดที่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ Bioavailability ใน คน จากสถาบันทีเชื่อถือได้
- 1.2 ผู้ป่วยใหม่ย้อมเสมหะไม่พบเชื้อ
- 1.2.1 ให้การรักษาเหมือน new smear-positive pulmonary tuberculosis คือสูตรยา 6 เดือน
- 1.2.2 ในรายที่เสมหะตรวจย้อมสี ไม่พบเชื้อ(smear negative) และการเพาะเชื้อให้ผลบวกหรือลบ ก็ตาม ร่วมกับภาพรังสีทรวงอกมีรอยโรคขนาดน้อย มากและไม่มีโพรง กล่าวคือมีขนาดรอยโรครวมกัน ทั้งปอดแล้วไม่เกิน 10 ตร.ซม. อาจให้การรักษา 6 เดือน ด้วยระบบยา 2HRZ/4HR
- ระบบยาสำหรับผู้ป่วยเสมหะบวก ที่เคยได้รับการรักษามาแล้ว (Retreatment)คำจำกัดความ
- 2.1 Treatment failure หมายถึง ผู้ป่วยที่ กำลังรักษาอยู่ด้วยระบบยาระยะสั้น 6 เดือนนาน เกิน 5 เดือน แล้วเสมหะยังตรวจพบเชื้อ
- 2.2 Relapse หมายถึง ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาหายมาแล้วหยุดยาแล้วโรคกลับเป็นใหม่ โดยมีผลตรวจเสมหะ (direct smear หรือ culture) เป็นบวก
- 2.3 Default หมายถึง ผู้ป่วยที่ขาดยาติดต่อ
กันนานเกินกว่า 2 เดือน
การรักษาซ้ำในกรณีผู้ป่วย relapse, default และ treatment failure
- ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนครบ
สูตรยาและแพทย์สั่งจำหน่ายหายแล้วแต่ผู้ป่วยกลับ
ป่วยเป็นวัณโรคอีก (Relapse) จากการศึกษาพบว่า
เชื้อมักจะไม่ดื้อต่อยาในกรณีนี้ให้ใช้ระบบระยะสั้นเดิม แล้วส่งเสมหะก่อนเริ่มให้ยาเพื่อเพาะเชื้อและ
ทดสอบความไวของยา
- ในกรณีที่ผู้ป่วยรับยาไม่สม่ำเสมอหรือ
ขาดการรักษา (Default) หรือไม่ครบขนานหรือบาง
ขนานที่ระบบยาสั้น และคาดว่าเชื้ออาจจะดื้อต่อยา
บางขนาน แต่ไม่ใช่การดื้อยาหลายขนาน (MDRTB)
โดยเฉพาะดื้อต่อยา RMP ให้ใช้ระบบยา
2HRZES/1HRZE/5HRE
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการรักษาล้มเหลวด้วยระบบยาที่ใช้ยาอยู่ตามข้อ 1.1.1 หรือตามข้อ 1.1.2 โดยมีหลักฐานว่าผู้ป่วยได้รับยาสม่ำเสมอเช่นได้ รับ DOTS มาตลอด ให้ส่งเสมหะเพื่อเพาะเชื้อและ ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาก่อนเปลี่ยนระบบยา ใหม่ทั้งหมดโดยใช้ยารักษาวัณโรคตัวอื่นๆ ที่ไม่เคย ใช้มาก่อนอย่างน้อยอีก 3 ตัว (พิจารณายาสำรอง
ตามตารางที่ 2) เมื่อได้ผลเพาะเชื้อแล้วให้ปรับระบบ ยาใหม่ตามผลการทดสอบความไวของยา การรักษาใหม่ในรายที่มีการรักษาล้มเหลวจากเชื้อดื้อยา จะ ต้องให้ยาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน หลังจากที่ตรวจย้อมเสมหะและเพาะเชื้อไม่พบเชื้อวัณโรค
ควรเน้นการรักษาครั้งแรกให้ถูกต้องเป็น ปัจจัยสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการรักษาล้ม เหลวและเชื้อดื้อยา โดยให้การบริการจัดการรักษา วัณโรคที่ดีและให้ DOTS ในกรณีที่สถานบริการไม่สามารถจะทำการเพาะเชื้อและทดสอบความไวของ เชื้อต่อยาได้ อาจจะต้องส่งตัวผู้ป่วยไปรักษายัง สถานบริการที่สามารถกระทำได้
การติดตามและประเมินผลการรักษา
- ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีเสมหะย้อมสีพบ เชื้อทนกรด และได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค ด้วยระบบมาตรฐาน การตรวจเสมหะด้วยกล้อง
จุลทรรศน์ (และการเพาะเชื้อถ้ากระทำได้) เป็นวิธีการหลักในการประเมินผลการรักษาที่สำคัญและไว
กว่าการทำภาพรังสีทรวงอก จึงต้องได้รับการตรวจ
ย้อมสีเสมหะเพื่อตรวจหาเชื้ออย่างน้อย 3 ช่วงเวลา
ระหว่างรักษา คือ หลังการรักษา 2 เดือนเพื่อดูอัตรา
การเปลี่ยนของเสมหะจากบวกเป็นลบ (conversion
rate) ช่วงที่สองหลังการรักษา 5 เดือน เพื่อดูว่ามีการ
รักษาล้มเหลวหรือไม่ และเมื่อสิ้นสุดการรักษาเพื่อดู
อัตราการหายใจจากโรค (cure rate) เสมหะที่ส่ง
ตรวจแต่ละครั้งควรจะต้องประกอบด้วยเสมหะ 2 ตัว
อย่าง ที่เก็บในตอนหลังตื่นนอนหนึ่งตัวอย่าง และอีก
หนึ่งตัวอย่างจะเก็บขณะที่ผู้ป่วยมารับการตรวจ รักษาหรืออย่างน้อยที่สุดหนึ่งตัวอย่าง ถ้าหาก
สามารถจะเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะได้ควรจะทำ
การเพาะเชื้อร่วมด้วย
ภาพรังสีทรวงอกผู้ป่วย อาจถ่ายภาพรังสี ทรวงอกก่อนการรักษา และควรถ่ายภาพรังสีทรวง อกอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการรักษา เพื่อเป็นภาพรังสีทรวง อกที่ใช้ในการเปรียบเทียบหากผู้ป่วยมีอาการหลัง หยุดการรักษา การถ่ายภาพรังสีทรวงอกระหว่างการรักษาไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ เปลี่ยนแปลงที่เลวลงระหว่างการรักษาหรือสงสัยว่ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น
- ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ตรวจเสมหะย้อมสี
ไม่พบเชื้อด้วยวิธีตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ไม่ว่าผล
การเพาะเชื้อเป็นบวกหรือลบก็ตาม โดยทั่วไปให้ใช้
อาการแสดงทางคลินิกดูผลการรักษา แต่ควรตรวจ
เสมหะเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นเพื่อป้องกัน
ความผิดพลาดในผลการตรวจเสมหะก่อนรักษา
หรือผู้ป่วยได้รับยาไม่สม่ำเสมอ
- ผู้ป่วยที่ขาดยาเกิน 2 วัน ในระยะเข้ม ข้นหรือเกิน 7 วัน ในระยะต่อเนื่องต้องติดตามทันทีเพื่อหาสาเหตุและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความ สำคัญของการกินยาให้ครบถ้วน
วัณโรคของอวัยวะนอกปอด
อาศัยหลักการเช่นเดียวกับวัณโรคปอด
ต้องตรวจพบเชื้อวัณโรคจึงจะเป็นการวินิจฉัยโรคที่
แน่นอน เนื่องจากวัณโรคของอวัยวะนอกปอดมี
จำนวนเชื้อวัณโรคน้อย โอกาสที่จะตรวจพบเชื้อจึงมี
น้อยกว่า การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่อาศัยการตรวจชิ้น
เนื้อทางพยาธิวิทยา การตรวจน้ำที่เจาะได้จาก
อวัยวะต่างๆ ร่วมกับอาการและอาการแสดงที่เข้าได้
กับวัณโรคเป็นเครื่องช่วยในการวินิจฉัย
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว