องค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลกเชื่อว่าอาจจะมีการระบาดของไข้หวัดนก ซึ่งไม่สามารถที่จะทำนายล่วงหน้าว่าจะเกิดเมื่อใด ทั้งนี้เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกรอบสอง ซึ่งทำให้มีการกระจายของเชื้อไปทั่วเอเซีย และแนะนำให้ทุกประเทศที่มีการระบาดได้เตรียมการป้องกันการระบาด และเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม หากมีการระบาดของไข้หวัดนก ก็จะมีการระบาดอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศ มีความสะดวกและรวดเร็ว และประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่น ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดหากมีการระบาดของไข้หวัดนก
- จากการประมาณการของศูนย์ควบคุมโรคติดต่ออเมริกา ว่าจะมีผู้เสียชีวิต 2-7.4 ล้านคนจะมีการพบแพทย์ 134-233 ล้านครั้ง และจะมีการนอนโรงพยาบาล 1.5-5.2 ล้านครั้ง
- การระบาดจะรวดเร็วจนไม่มีเวลาเตรียมวัคซีน
- จะมีการขาดแคลน วัคซีน ยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะ
- ตามโรงพยาบาลจะแออัดไปด้วยผู้ป่วย
- จะขาดแคลนเจ้าหน้าที่สำหรับบริการชุมชน
- การระบาดจะใช้เวลานาน และอาจจะเกิดการระบาดซ้ำ
การเตรียมตัวสำหรับการระบาด
ขั้นตอนการเตรียมตัวรับการระบาดของไข้หวัดนก
ระยะ
|
Preparedness Level การเตรียมตัวรับการระบาด |
ความเห็น
|
Phase 0 |
Preparedness Level 0 |
ยังไม่มีหลักฐานว่าคนติดเชื้อไข้หวัดนก |
Phase 0 |
Preparedness level 1การเตรียมพร้อมระดับ1มีรายงานว่าพบไวรัสชนิดใหม่ |
พบว่าคนมีการติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีการติดจากคนไปสู่คน |
Phase0 |
Preparedness level 2 การเตรียมพร้อมระดับ2มีหลักฐานยืนยันว่า คนติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ |
มีการติดเชื้อมากกว่า 2 คน |
Phase 0 |
Preparedness level 3การเตรียมพร้อมระดับ3 มีการติดต่อจากคนสู่คน |
มีหลักฐานว่ามีการติดเชื้อจากคนสู่คนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ |
Phase1 |
ยืนยันว่ามีการระบาดของเชื้อโรค |
มีการระบาดไปหลายแหล่ง และระบาดข้ามประเทศ และเชื้อนั้นทำให้เกิดการเสียชีวิต |
Phase2 |
ระบาดท้องถิ่น หลายๆท้องถิ่น |
เชื้อไวรัส สามารถเกิดการระบาดไปได้หลายประเทศ และหลายท้องถิ่น |
Phase3 |
สิ้นสุดการระบาดช่วงแรก |
ช่วงนี้เชื้อจะไม่ค่อยมีการระบาด |
Phase4 |
การระบาดช่วงที่สอง |
จะเริ่มระบาดหลังจากครั้งแรก 3-90เดือน |
Phase5 |
สิ้นสุดการระบาด |
ไม่มีการระบาดของเชื้อ ใช้เวลาประมาณ 2 ปี |
การระบาดของไข้หวัดนก
สถานการณ์ไข้หวัดนก
ไข้หวัดนกสายพันธ์ H5N1เป็นสายพันธืที่คาดว่าจะมีการระบาดทั่วโลกเนื่องจากเหตุผล
- เชื้อไข้หวัดนกสายพันธ์นี้แพร่กระจายเร็วมากจนกระทั่งเป็นเชื้อประจำถิ่น
- เชื้อมีการกลายพันธ์อย่างรวดเร็ว
- เชื้อไข้หวัดนกนี้ได้รับพันธุกรรมจากไวรัสที่อยู่ในสัตว์ชนิดอื่น
- เมื่อติดเชื้อในคนทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 70
- การติดเชื้อโรคในชนบทยังมีอัตราสูงเนื่องจากการเลี้ยงไก่
- การที่เชื้อระบาดประจำถิ่นจะทำให้เชื้อมีโอกาศกลายพันธ์ได้สูง
ประโยชน์ของการเตรียมพร้อม
- การเตรียมพร้อมจะลดผลกระทบทางด้านเศรฐกิจ และทางการแพทย์หากมีการระบาด
- การเตรียมพร้อมจะทำให้มีการปรับปรุงโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแพทย์
- การเตรียมความพร้อมจะเป็นการทบทวนแผนการปฏิบัติการเฝ้าระวัง การจัดการเมื่อมีการระบาด
วิธีการเตรียมความพร้อม
สถานการณ์การผลิตวัคซีน
วัคซีนจะป้องกันการเสียชีวิตและหยุดการระบาดของโรคได้ แต่การผลิตวัคซีนต้องมีองค์ประกอบดังนี้
- ประเทศที่มีการระบาดของเชื้อโรค จะต้องส่งเชื้อไปให้องค์การอนามัยโลกเพื่อที่จะทราบการแปลงแปรงทางพันธุกรรม จะได้สายพันธ์ที่ระบาด
- บริษัทจะต้องเตรียมความพร้อมในการผลิตวัคซีนสำหรับการระบาดของเชื้อโรค รวมทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย
- สาธารณสุขจะต้องปรึกษากับบริษัทที่ผลิตวัคซีนเพื่อจะนำวัคซีนไปทดลองใช้ นอกจากนั้นบริษัทต้องเตรียมพร้อมในการผลิตวัคซีนเมื่อมีการระบาดโดยที่ไม่ได้คาดโดยเฉพาะไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุ ทำให้ต้องใช้วิธีการพิเศษ special technique of reverse genetics เพื่อสร้างวัคซีนสำหรับเชื้อไข้หวัดนก
ตั้งแต่เมษายนองค์การอนามัยโลกได้เชื้อต้นแบบพร้อมที่จะผลิตวัคซีน มีบริษัทที่ผลิตวัคซีนสองบริษัท ได้ผลิตออกมาเพื่อทำการทดสอบซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน ในการรวมรวมข้อมูล และการปรับวัคซีนเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพ
ปัญหาในการผลิตวัคซีน
1ความสามารถในการผลิตวัคซีนไม่เพียงพอ
ทั่วโลกจะมีความสามารถในการผลิตวัคซีนประมาณ 750 ล้าน ในประเทศอเมริกาจะผลิตได้ 150 ล้านซึ่งเพียงพอในการใช้ในประเทศ การเพิ่มปริมาณการผลิตจะทำได้โดยการลดปริมาณเชื้อ และเพิ่มสารเพื่อเพิ่ม immunogenicity
2ประเทศผู้ผลิตมีน้อย
ประเทสผู้ผลิตมีน้อย เมื่อมีการระบาดของโรคประเทศเหล่านั้นจะกักตุนวัคซีนเพื่อประชากรของตัวเองทำให้เกิดการขาดแคลนวัคซีน ประเทศผู้ผลิตวัคซีนได้แก่
- Australia
- Canada
- France
- Germany
- Italy
- The Netherlands
- Switzerland
- The United Kingdom
- The United States
3เทคโนโลยีการผลิต
มีเทคโนโลยีการผลิตหลายวิธีได้แก่
- การผลิตวัคซีนโดยใช้ไวรัสที่มาจากสัตว์
- การเลือกเชื้อที่มี antigen เหมือนกัน แต่ไม่คนไม่ติดเชื้อ
- การใช้แบคทีเรียช่วยสร้างเชื้อไวรัส
- Develop DNA-based vaccines
- Use reverse genetics to construct vaccine seed strains that possess attenuated hemagglutinin
- Use reverse genetics to construct attenuated donor strains
แผนการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนก
- การเฝ้าระวังการติดเชื้อไข้หวัดนก ( Surveillance )
- ต้องมีความโปร่งใสในการรายงานคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนก
- จัดระบบเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้หวัดนก
- เฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่มกลุ่มีอาการของโรคที่ผิดจากที่เคยเป็น โดยต้องทำงานประสานกันระหว่างหลายหน่วยงาน
- นักไวรัสวิทยาเพื่อตรวจลักษณะตัวเชื้อโรค
- ศึกษาวิธีระบาดจากคนสู่คน
- ดูการกลายพันธ์ของเชื้อไวรัส
- มีการ่วมมือกันส่งตัวอย่างเชื้อที่ได้จากคนและสัตว์ไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อวิจัย
- การเฝ้าระวังจะกระทำทั้งคนและสัตว์เพราะการระบาดของโรคมักจะเริ่มต้นจากสัตว์
- ปฏิบัติการเตรียมพร้อมรับการระบาดตามตารางข้างบน
- การป้องกันการติดเชื้อในคน Public health interventions
- เนื่องจากการระบาดของโรคจะเกิดคนทุกหมู่เหล้า ดังนั้นจะต้องมีความร่วมมือของทุกองค์กรเพื่อจำกัดการระบาดของโรค
- จะต้องใช้วิธีการทุกอย่างเพื่อจำกัดการระบาดของโรคในระหว่างรอการผลิตวัคซีน
- การสื่อสาร
- ระบบแยกผู้ป่วย
- ระบบกักกันผู้สัมผัสโรค
- ระบบเฝ้าติดตามผู้ที่สัมผัสโรค
- มาตราการลดการติดต่อ เช่นการปิดโรงเรียน การงดการจัดประชุมหรือแสดงมโหรสพ หยุดหยุดงานที่ไม่จำเป็น
- มาตราการป้องกันติดต่อข้ามประเท
- การใช้ยาต้านไวรัส Use of antiviral agents
- ประเทศส่วนใหญ่จะไม่มีวัคซีน ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตควรจะมีสำรองไว้สำหรับการระบาด
- การสำรองควรจะเป็นระดับนานาชาติ เพื่อลดการระบาดของโรค
- การใช้วัคซีนเพื่อการรักษาจะดีกว่าการให้เพื่อป้องกัน
- การใช้วัคซีน
- สนับสนุนให้มีการผลิตวัคซีนเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมสำหรับการระบาด
- เนื่องมีวัคซีนปริมาณจำกัด ดังนั้นจะต้องมีนโยบาบว่าจะฉีดวัคซีนให้กับคนกลุ่มใดก่อน
- จัดตั้งกองทุนเพื่อวิจัยหาวัคซีน
การเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันการระบาดไข้หวัดนกของประเทศอเมริกา
สหรัฐได้ร่างแผนป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกเมื่อเดือนสิงหาคม 2004 ซึ่งมีแผนงานทั้งหมด 12 แผนงานดังนี้
- แผนงานสำหรับรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น
- แผนงานสำหรับระบบสาธารณสุข
- การทบทวนการเจ็บป่วยไข้หวัดใหญ่และการระบาด
- การเฝ้าระวัง
- การพัฒนาวัคซีนการผลิตวัคซีน
- กลยุทธการให้วัคซีน การติดตามผลและความปลอดภัย
- การใช้ยาต้านไวรัส
- กลยุทธ์การลดการแพร่เชื้อ
- การศึกษาและการสื่อสาร
- การวิจัยเรื่องการระบาดของไข้หวัดนก
- บทเรียนจากการระบาดเมื่อปี 1976
- การเตรียมการและตอบสนองต่อการระบาดของไข้หวัดนก และโรคติดเชื้ออื่นๆ
เป้าหมาย(Goal)
- ลดอัตราการตายและโรคแทรกซ้อน
- ลดปัญหาทางสังคมและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
หลักการ
- ค้นหาไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่ติดเชื้อในคนและสัตว์โดยการใช้ความรู้ทางการติดเชื้อและไวรัสวิทยา
- มีระบบเครือข่ายทั่วโลกเพื่อตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ และแนะนำสายพันธ์ของไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดวัคซีน
- ค้นหาไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่ระบาดในคนและสัตว์
- มีระบบป้องกันการแพร่เชื้อทางเครื่องบิน
- มีระบบเฝ้าติดตามการระบาดของเชื้อไข้หวัดในประเทศ
- มีการพัฒนาและประเมินการใช้วัคซีนพร้อมมอบสิทธิบัตรเพื่อให้มีการผลิตวัคซีนได้อย่างเพียงพอ
- เร่งให้มีการผลิตวัคซีนให้เร็วขึ้นนับตั้งแต่เริ่มค้นพบเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาด
- การใช้เทคนิคใหม่เพื่อทำให้ผลิตวัคซีนได้เร็วขึ้น
- การนำวัคซีนมาใช้และการจัดลำดับกลุ่มเป้าหมาย
- (1)เมื่อเริ่มระบาดยังไม่มีวัคซีนใช้ ดังนั้นการใช้ยาต้านไวรัส การดูแลทางการแพทย์ การกักกันโรค จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการระบาดของเชื้อโรค(2)วัคซีนจะใช้เวลาในการผลิต 6-8 เดือน เมื่อผลิตได้ในตอนแรกยังไม่พอ ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในการให้วัคซีน เช่นกลุ่มอาชีพที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุข(3)เมื่อวัคซีนผลิตได้เพียงพอจึงจะกำหนดให้ฉีดกับทุกคน
- อาจจะมีตลาดมืดให้ราคาวัคซีนสูงทำให้วัคซีนขาดตลาดมากยิ่งขึ้น
- การใช้ยาต้านไวรัส เนื่องจากการผลิตยาไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และการป้องกันการดื้อยาของเชื้อโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ยาอย่างมีข้อบ่งชี้จริงๆเท่านั้น
- การให้ยาต้องให้ในเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ
- ยาที่ใช้มีสองกลุ่มได้แก ่Adamantines และ Neuraminidase inhibitors (NI) (oseltamivir, zanamivir) มีรายงานว่ายาตัวหลังจะช่วยลดโรคแทรกซ้อน ลดปอดบวม
- ยานี้ทางการสหรัฐได้บรรจุไว้ในคลังยาสำหรับป้องกันการติดเชื้อ
- จัดทำแนวทางการให้ยา และให้ความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ทุกระดับ
- การป้องกันการติดต่อของโรคข้ามชาติหรือการระบาดในท้องถิ่น
- การป้องกันการระบาดในโรงพยาบาล และการติดต่อสู่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- การป้องกันการติดต่ออาจจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากคนที่มีเชื้อโรคบางคนไม่มีอาการของโรค
- ช่วงที่เริ่มมีการระบาดอาาจะลดการแพร่เชื้อโรคโดยการลดการจัดงานที่คนมารวมตัวกัน ปิดโรงเรียน เป็นต้น
- รัฐบาลและท้องถิ่นต้องร่วมมือกันเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุขเพื่อการบริการที่พอเพียง
- เมื่อมีการระบาดจะทำให้เกิดปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลทั้งคนไข้ในและผู้ป่วยนอก รวมทั้งปัญหาการขาดงานของเจ้าหน้าที่เนื่องจากภาระงานมากหรือป่วย
- มีการขาดแคลนเตียง คน และเครื่องมือ รวมทั้งเลือด
- ต้องมีการวางแผนเพื่อมีเตียงอย่างเพียงพอ เช่น การเลื่อนผ่าตัดรายที่รอได้ รายที่ไม่จำเป็นมากอาจจะไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ให้ผู้ป่วยกลับเร็วขึ้น
- อาจจะหาที่สำรองสำหรับผู้ป่วย แต่ต้องเน้นเรื่องการควบคุมโรคติดเชื้อ
- ผู้ป่วยอาจจะไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล แต่อาจจะมีบริการอื่นเสริม เช่น การส่งยาถึงบ้าน การส่งเจ้าหน้าที่ไปดูผู้ป่วยที่บ้าน
- การสื่อสารอย่างมีคุณภาพกับผู้นำท้องถิ่น ประชาชน
- อธิบายถึงโรคไข้หวัดนก การดำเนินของโรค การดูแลตัวเอง การดูแลผู้ป่วย การฉีดวัคซีน กลุ่มที่ต้องฉีดวัคซีนก่อนเป็นอันดับแรก
การเตรียมตัวช่วงที่ยังไม่มีการระบาดของโรค
- เพิ่มกำลังการผลิตวัคซีน รวมทั้งวิจัยขนาดวัคซีนที่จะฉีด
- เพิ่มมาตราการการเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสเกิดใหม่ทั้งคนและสัตว์ ที่จะนำไปสู่การระบาดในคน รวบรวมเชื้อ และทดสอบการใช้ยา
- มีระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล และรายงานผล
- มีการวิจัยเรื่องพยาธิสภาพ และกลไกการเกิดโรค
- ลดระยะเวลาในการผลิตวัคซีน
- เมื่อค้นพบไวรัสชนิดใหม่ ต้องทำวัคซีนเพื่อศึกษาการใช้ ขนาดของยา และสารที่จะผสม
- ศึกษาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สามารถใช้ได้กับหายสายพันธ์ที่ทำให้เกิดโรค
- กระตุ้นให้มีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
- เพิ่มการตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ การกระจายของวัคซีน
- ตรวจชนิดและจำนวนของยาต้านไวรัสในคลัง
- วางแผนและซักซ้อมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมรับการระบาดของเชื้อโีรค
- เตรียมแผนปิดโรงเรียน แผนการกักกันผู้ต้องสงสัย
- เตรียมสื่อสำหรับทำความเข้าใจสำหรับประชาชน
กลับหน้าเดิม