เมื่อคุณอยู่ในดินแดนที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

ขณะที่เขียนรายงานนี้ ประเทศไทยมีการระบาดของไข้หวัดนก 6 จังหวัด 14 จุด การระบาดยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องแต่เป็นหมู่บ้านและตำบลเล็กๆ และเกิดผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 3 คน เสียชีวตไปหนึ่งคน ทั้งนี้เนื่องจากการควบคุมการระบาดในสัตว์ยังไม่ดีพอ และประชาชนยังขาดความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับไข้หวัดนก จุดอ่อนที่ทางรัฐต้องรีบเข้าไปประชาสัมพันธ์ได้แก่ กลุ่มคนงานก่อสร้างโดยเฉพาะพวกที่ดื่มสุรา เมื่อมีไก่ป่วยหรือเสียชีวิต กลุ่มคนเหล่านี้จะฆ่าไก่หรือนำทรากไก่มาทำอาหารทำให้ติดเชื้อไข้หวัดนก นอกจากนั้นยังใช้เวลานานเกินไปในการกำจัดไก่ที่ติดโรค

รายงานที่จะกล่าวเป็นรายงานจากองค์การอนามัยโลกที่ออกคำแนะนำสำหรับคนที่อยู่ในถิ่นที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

เราสามารถป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกโดย

  • ไม่ควรจะสัมผัสกับไก่ เป็ดหรือนกโดยไม่จำเป็น
  • เด็กๆจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนก เนื่องจากเด็กจะเล่นกับไก่หรือเป็ด ต้องสอนเด็กให้ป้องกันตัวเองโดย
    • อย่าสัมผัสกับไก่ นก ขนไก่ หรือมูลของสัตว์โดยเด็ดขาด
    • อย่านำนกมาเป็นสัตว์เลี้ยง
    • ล้างมือด้วยสบู่หลังการสัมผัสทุกครั้ง
    • อย่านอนใกล้กรงหรือเล้าไก่
  • อย่าเคลื่อนย้ายนก ไก่ หรือเป็ด หรือสัตว์ปีกทั้งหลายแม้ว่าภายนอนจะดูแข็งแรง
  • อย่าเคลื่อนย้ายสัตว์ที่มีชีวิตหรือสัตว์ที่ตายแล้วจากบริเวณที่มีการติดเชื้อไปยังบริเวณอื่น
  • อย่านำไก่ป่วยหรือซากไก่ที่เสียชีวิตมาปรุงอาหารรับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอันตรายถึงกับเสียชีวิต
  • หากคุณไปบริเวณที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในไก่โดยไม่ตั้งใจ
    • ล้างมือด้วยสบู่ทันทีหลังสัมผัส
    • ถอดรองเท้าไว้นอกบ้านและล้างเอาขี้ดินหรือฝุ่นออกให้หมด
    • วัดไข้ทุกวันอย่างน้อยวันละครั้ง หากมีไข้มากกว่า 37.5 ให้ไปพบแพทย์

การจัดการกับไก่ที่ป่วยหรือไก่ที่เสียชีวิต

  • นำเด็กออกจากบริเวณที่มีไก่ป่วยหรือเสียชีวิต
  • ก่อนที่กำจัดซากไก่หรือไก่ป่วย คุณต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง เช่น แว่นตา หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม เสื้อคลุม รองเท้า ถุงมือ
  • หากไม่มีอุปกรณดังกล่าวให้ใส่แว่นตา หาผ้าสำหรับปิดปาก ใช้ถุงพลาสติกแทนถุงมือ
  • หากคุณไม่คุ้นหรือทำเป็นครั้งแรกให้แจ้งเจ้าหน้าที่มาจัดการให้

การทำความสะอาดเล้าไก่

  • ควรจะปรึกษาผู้ที่มีความชำนาญให้ช่วยจัดการ
  • หากต้องทำเองให้เตรียมอุปกรณ์ป้องกันตัวเองดังกล่าวข้างต้น
  • ซากสัตว์ให้ฝัง
  • ทำความสะอาดให้หมดจนไม่เห็นอุจาระหรือขนไก่
  • เชื้อไข้หวัดนกสามารถอาศัยอยู่ในมูลสัตว์ได้ ดังนั้นต้องใช้ผงซักฟอกในการชำระให้หมด
  • สำหรับพื้นที่รอบเล้าที่ทำความสะอาดไม่ได้ให้ทิ้งไว้ให้ถูกแสงแดด 42 วันเพื่อให้แสงแดดทำลายตัวเชื้อ สำหรับพื้นที่มีอากาศเย็นอาจจะต้องทิ้งไว้นานกว่านี้
  • การฉีดยาฆ่าเชื้อบริเวณพื้นจะไม่ค่อยได้ประโยชน์เพราะสารจะถูกทำลาย

การจัดการกับซากสัตว์และมูลสัตว์

  • ควรจะปรึกษาปศุสัตว์ช่วยกำจัด
  • ในการกำจัดมูลจัตว์หรือซากสัตว์ต้องอย่าทำให้เกิดฝุ่น
  • ให้พรมน้ำให้ชื้นก่อน
  • ฝังซากสัตว์หรือมูลสัตว์ให้ลึก 1 เมตร
  • เมื่อฝังซากสัตว์แล้วให้ทำความสะอาดเล้าด้วยผงซักฟอกจนสะอาด

การทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องป้องกัน

  • หลังจากทำความสะอาดเล้าจนเรียบร้อยแล้ว ให้เสื้อคลุม แว่นตา ถุงมือ หน้ากาาอนามัย
  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด
  • นำเสื้อผ้าไปต้มหรือแข่น้ำสบู่อุ่นๆ นำเสื้อไปตากแดดจนแห้ง
  • นำถุงมือหรือเสื้อที่ใช้แล้วทิ้งใส่ในถุงเพื่อนำไปฝั่ง
  • นำแว่าตา รองเท้าไหแช่ในน้ำสบู่และล้างให้สะอาด
  • ให้ล้างมือทุกครั้งที่ทำความสะอาดเครื่องมือ
  • อุปกรณ์ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ให้ทำลาย
  • อาบบน้ำ สระผม
  • เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว อย่าไปสัมผัสเสื้อผ้าชุดเก่า
  • ที่สำคัญคือล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งปนเปื้อน

การทำความสะอาดรองเท้า

เมื่อคุณเดินเข้าไปในบริเวณที่มีการระบาดของไข้หวัดนกอาจจะมีเศษดินซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรคติดรองเท้าคุณมาให้ปฏิบัติดังนี้

  • ถอดเราเท้าออกและล้างด้วยน้ำสบู่
  • ใส่ถุงมือ ใส่แว่านตาและมีหน้ากากอนามัยคลุมปากและจมูก เพื่อกันมิให้เศษดินกระเด็นเข้าปาก จมูกหรือตา
  • อย่านำรองเท้านั้นเข้าบ้าน จนกระทั่งแน่ใจว่าสะอาดพอ

คนที่มีอาการไข้หวัดในที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

  • ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคนที่เป็นไข้หวัดไม่ควรเข้าบริเวณที่มีการระบาดของไข้หวัดนก ซึ่งอาจจะทำให้เชื้อทั้งไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่มีการกลายพันธ์
  • ผู้ที่เป็นหวัดให้ระวังการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นโดยการปิดปากและจมูกเมื่อมีการจามหรือไอ
  • ล้างมือหลังมีการจามหรือไอ
  • สอนเด็กให้ล้างมือบ่อยๆเพราะเด็กมักจะเอามือถูกหน้าหรือปาก
  • หากมีไข้ไอหรือเป็นหวัดให้แจ้งแพทย์

ป้งกันตัวเองอย่างไรเมื่อไปเยี่ยมคนป่วยในโรงพยาบาล

  • หากท่านไปเยี่ยมผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดนก ต้องปฏิบัติตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • สวมเครื่องป้องกันตัวเองตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  • ต้องทดสอบว่าหน้ากากอนามัยมีความพอดี
  • ก่อนออกจากห้องให้ถอดอุปกรณืเหล่านี้ออกให้หมด
  • อย่าลืมล้างมือให้สะอาด

การรับประทานอาหาร

  • อย่าใช้ไก่ที่เป็นโรคหรือไก่ตายมาปรุงอาหาร
  • ในการฆ่าไก่ต้องไม่ให้เลือด อุจาระไก่ ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
  • ในการถอนขนไก่หรือทำความสะอาดเครื่องใน ต้องไม่ให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อน
  • อย่าเอามือมาบนใบหน้านอกจากว่าจะล้างมือก่อน
  • ไก่ต้องปรุงให้สุข ไม่เห็นน้ำเลือด
  • เนื่องจากเชื้ออาจจะอยู่ที่เปลือกไข่ ดังนั้นต้องล้างเปลือกไข่ด้วยน้ำสบู่ และล้างมือหลังล้างไข่
  • อาหารควรจะปรุงที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศา