หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การระบาดของไข้หวัดนก

จากการระบาดของไข้หวัดนกที่ ผ่านมานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจะมีการระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลก และจากบทเรียนของการระบาดในอดีตที่ผ่านมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์หาหนทางป้องกัน การระบาด

เมื่อปี2005 นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาการระบาดโดยจำลองแบบการระบาดทางคณิตศสาสตร์ พบว่าก่อนที่จะมีการระบาดจะมีหลายปัจจัยหลายอย่างที่จะหยุดการระบาดของไข้ หวัดนก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่

ตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2548 จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติหลายครั้งโดยมีจุด ประสงค์การสะสมยาต้านไวรัส การกักกัน การป้องกันการระบาดทั่วโลก

เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่

1.การค้นพบการเริ่มการระบาด

ความสำคัญของการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกขึ้นกับระยะเวลาที่ตรวจจับว่าเริ่มมี การระบาดจากคนสู่คนหรือยัง เพราะจากการศึกษาทางคณิตศาสตร์พบว่าหากมีการให้ยาต้านไวรัสภายใน 21 วันหลังการค้นพบผู้ป่วยรายแรกที่ระบาดจากคนสู่คนจะสามารถหยุดการระบาดของโรคได้ แต่การค้นหาการระบาดในระยะเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วนั้นต้องประกอบไปด้วย

สัญญาณว่ามีการระบาด

สัญญาณที่สำคัญและเร็วที่สุดว่ามีการระบาดของไข้หวัดนกคือ มีกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อและมีอาการคล้ายกันในบริเวณใกล้เคียงกัน แต่ในระยเริ่มต้นของการระบาดนั้นเป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัย ให้ยึดหลักที่ว่าหากมีกลุ่มคนที่มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่แตกต่าง จากเดิมให้สงสัยว่าจะมีการระบาด เท่าที่มีรายงานพบว่ามีกลุ่มที่สงสัยว่าจะมีการระบาดจากคนสู่คนอยู่ 5 กลุ่ม แต่จากการศึกษาทางระบาดบอกไม่ได้ว่าเกิดจากคนสู่คนหรือเกิดจากการติด จากสัตว์

องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการค้นหาการระบาดตั้งแต่แรกเริ่มดังนี้

หากว่าพบผู้ป่วยตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจระดับปานกลางจนหนักหรือเสียชีวิตในระยะเวลา 7-10 วันร่วมกับข้อต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่

ได้แก่

หากมีเกณฑ์ดังกล่าวให้รีบค้นหาการระบาดโดยด่วน

(อาการติดเชื้อทางเดินหายใจระดับปานกลางจนหนัก=ไข้มากกว่า 38 องศา ไอ หายใจหอบ หรือหายใจลำบากโดยที่ไม่พบปอดบวม)

การศึกษาไวรัส

การ ค้นพบกลุ่มที่มีอาการติดเชื้อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการค้นหาการระบาดใน ระยะเริ่มแรก การตรวจเชื้อไวรัสก็มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยว่าจะเกิดการระบาด การตรวจทางพันธุกรรมที่บ่งว่าเชื้อจะมีการระบาดได้แก่

เมื่อ ท้องถิ่นสามารถค้นพบกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจหัก ปานกลางถึงหนักมาก ต้องรีบแจ้งให้ระดับชาติทราบทันทีโดยไม่ต้องรอผลการตรวจอย่างอื่น เมื่อระดับชาติได้ทราบต้องรีบส่งทีมช่วยเหลือทันที

ขันตอนในการสืบค้นการระบาด

  1. การ สืบค้นแหล่งแพร่ระบาด เมื่อมีการเสียชีวิตของสัตว์หรือคนที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ จะต้องเก็บตัวอย่างจากคนหรือสัตว์ของที่เสียชีวิตหรือที่กำลังป่วย และคนที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจหาแหล่งแพร่ระบาด เพื่อการควบคุมโรค

การสืบค้นการระบาดโดยการศึกษาตัวเชื้อ

เมื่อ ได้ตัวเชื้อที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตของการระบาด จะต้องนำตัวอย่างเชื้อจากที่ต่างๆ และจากกลุ่มคนที่เป็นโรคหลายๆกลุ่ม นำมาศึกษาทางพันธุกรรมและโครงสร้างเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อ หากมีการระบาดร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อ ทำให้เชื่อได้ว่าเชื้อนั้นจะสามารถติดต่อจากคนสู่คน

2.การประเมินสถานการณ์และมาตราการในการควบคุมโรค

การประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

เมื่อWHO ได้รับรายงานของการระบาด องค์การอนามัยโลกจะต้องเริ่มประเมินสถานการณ์อย่างเร่งด่วน

มาตราการเร่งด่วนเบื้องต้นในการควบคุมการระบาด

เมื่อมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกันและสงสัยว่าจะเกิดโรคระบาดโดยเฉพาะไข้หวัด นก ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องเริ่มดำเนินการควบคุมโรคโดยทันทีโดยไม่ต้องรอการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ มาตราการควบคุมโรคระบาดมีดังต่อไปนี้

หน่วยเคลื่อนที่เร็วขององค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลกได้จัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วซึ่งสามารถจะไปยังพื้นที่เป้าหมายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากร้องขอ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ ผู้เชี่ยงชาญเรื่องการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ข้อมูล พร้อมทั้งห้องปฏิบัติการสนาม ยาต้านไวรัส เครื่องป้องกันตัวเอง

3.การควบคุมการระบาด Containing the event The rapid response and containment operation

การตัดสินใจใช้มาตราการควบคุมโรค (Containing the event) จะต้องมีข้อบ่งชี้ชัดเจนเพราะมาตราการนี้จะเปลืองทรัพยากรค่อนข้างมาก เช่นยา การใช้มาตราการนี้จะใช้ในกรณีที่คิดว่า เริ่มจะมีการระบาดจากคนสู่คน และเชื่อว่าหากใช้มาตราการนี้จะควบคุมการระบาดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้มาตราการนี้ได้แก่

มาตราการควบคุมจะไม่ได้ผลและไม่ควรทำในกรณีดังต่อไปนี้

  1. การควบคุมจะไม่ได้ผลหลังจากพบผู้ป่วยรายแรกหรือกลุ่มแรก 4-6 สัปดาห์

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะประสบผลสำเร็จในการควบคุมโรคระบาดขึ้นอยู่กับ จำนวนผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย และความสามรถของราชการส่วนท้องถิ่น รัฐบาลและองค์การอนามัยโลกในการที่จะจัดการกับผู้ที่ติดเชื้อเหล่านี้ เช่น ที่พักสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ น้ำ อาหาร ระบบสุขอนามัย อาหาร ระบบความปลอดภัย การสื่อสารในกลุ่ม และการสื่อสารกับข้างนอก

ส่วนมาตราการในการควบคุมการระบาดแบ่งออกเป็นสองมาตราการได้แก่

มาตราการในระยะเร่งด่วนเป็นมาตราการมาตราฐาน standard measures

มาตรา การนี้มีสมมติฐานว่าเพิ่งจะเกิดโรคระบาด จำนวนผู้ที่ติดเชื้อยังไม่มากดังนั้กิจกรรมในมาตราการนี้จะค้นหาผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การราบงานผู้ป่วย จากศึกษาทางคณิตศาสตร์พบว่าหากเราควบคุมและให้ยาต้านไวรัสภายใน 21 วันหลังจากเกิดโรคระบาดจากคนสู่คนใน 21วันจะสามารถควบคุมโรคได้ มาตราการที่นำมาใช้ได้แก่

การ เฝ้าระวังจะกระทำทั้งบริเวณที่คิดว่ามีการระบาด และทั่วประเทศ การเฝ้าระวังจะต้องสอบถามถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ผ่านมา การสัมผัสกับคนในช่วงที่ป่วย สำหรับในเขตที่มีการระบาดจะต้องรายงานผู้ป่วยทุกรายรวมทั้งกลุ่มคนที่สงสัย ว่าจะเป็นโรคเดียวกัน การเฝ้าระวังจะมีประโยชน์ในการควบคุมโรคดังนี้

  1. การติดตามผู้สัมผัสโรค Contact tracing

เมื่อเริ่มมีการระบาดจะต้องติดตามผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้ที่สัมผัสไก่ตาย ซึ่งต้องสอบถามผู้ที่ผู้ป่วยสัมผัสหรือท่องเที่ยวใน 14 วันก่อนป่วย ผู้ที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือไก่ตายจะต้องสังเกตว่ามีไข้หรือไม่เป็นเวลา 7 วัน หากมีผู้ทีสัมผัสมากจะต้องตรวจหรือคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงสูงก่อน เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาได้แก่

ผู้ ป่วยทุกคนควรจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อควบคุมการติดต่อ สำหรับผู้ที่สัมผัสควรจะอยู่ในบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังการสัมผัสครั้งสุดท้าย

กลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้ยาต้านไวรัส

ควร ให้้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ป่วยทุกรายที่ติดเชื้อทางเดินหายใจปานกลางถึงหนัก เพื่อลดอัตราการตาย และให้ยาแก่ผู้ที่สัมผัสโรคทุกราย ทางราชการโดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกกำนดกลุ่มคนที่ควรจะได้รับยา ต้านไวรัส รวมทั้งกำหนดจุดที่จะให้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ

การติดตามผู้ที่สัมผัสโรค

ประชาชนส่วนใหญ่และผู้ที่สัมผัสโลกจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกดังนี้

การจัดการกับผู้ป่วย Case management

ในช่วงเริ่มต้นระบาดผู้ป่วยยังไม่มากผู้ป่วยทุกรายควรจะต้องนอนในโรงพยาบาลและนอนในห้องแยกติดเชื้อ หากผู้ป่วยมีมากอาจจะต้องนอนรวมกันในห้องเดียว

กรณีที่ผู้ป่วยมีมากเกินความสามารถของโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาจจะนอนที่บ้าน โรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่ที่จัดขึ้น การจะให้ผู้ป่วยอยู่ที่ใดขึ้นกับความรุนแรงของผู้ป่วย รัฐบาลควรจะปรึกษากับองค์การอนามัยโลกถึงแผนการเพื่อรับมือกับการระบาด การขนส่งจะกระทำโดยผู้ที่ได้ผ่านการอบรม

เพื่อเป็นการลดการระบาดผู้ที่มีอาการไข้ และมีอาการไข้หวัดควรจะได้รับการดูแล

การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล

หลักการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยเคร่งครัด

มาตราการเสริม เป็นมาตราการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการระบาด

มาตราการต่างๆที่จะกล่าวจะทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพดีขึ้น มาตราการต่างๆได้แก่

การกักกันอย่างสมัครใจ Voluntary quarantine

ประสบการณืจากไข้หวัดมรณะ SARS พบว่าการกักกันตัวเองโดยสมัครใจได้ประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง ซึ่งการกักกันตัวเองโดยสมัครใจจะเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมการระบาด ในขณะเดียวกัน ราชการส่วนท้องถิ่น และส่วนกลางจะต้องเตรียมมาตราการบังคับการกักกันทั้ง บุคคลหรือกลุ่มบุคคล การเตรียมการจะต้องพิจารณาในแง่กฎหมาย จริยธรรม สถานที่ที่ใช้กักกัน น้ำ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวก นักจิตวิทยา ยาสำหรับผู้ที่ป่วยเรื้อรัง การกักกันในเบื้องต้นให้ใช้มาตราการที่ไม่เข้มงวดเกินไป หากมีความจำเป็นจึงใช้มาตราการที่เข้มงวด

สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นให้เริ่มกักกันในกรณีต่อไปนี้

โดยอาจจะให้กักกันที่บ้านหรือสถานที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด

การลดการชุมนุมของคน Social distancing

มาตราการนี้จะช่วยลดการระบาดได้เป็นอย่างดี เป็นการแยกคนที่ไม่มีอาการของโรคจากชุมชนเพื่อลดโอกาศการติดโรค มาตราการนี้ได้แก่

การให้ยาต้านไวรัส

องค์การ อนามัยโลกได้เตรียมยาต้านไวรัสไว้ที่อเมริกาและสวิสเซอร์แลนด์แห่งละ1.5 ล้านการรักษา โดยคลังยานี้มีไว้เพื่อหยุดการระบาดโดยเฉพาะใช้ในกรณีที่เริ่มมีการระบาด และประเทศนั้นไม่มียาสำรอง WHO จะนำยามาให้ใช้ โดยกะว่าจะให้ยาในระยะ 2 สัปดาห์แล้วดูผล หากไม่มีการระบาดก็จะให้ยาเพิ่มเติม

เนื่อง จากการให้ยาต้านไวรัสอาจจะจำเป็นต้องให้อย่างมากและเจ้าหน้าที่มีไม่พอให้ ข้อมูลเรื่องการแพ้ยา และยายังไม่ได้รับรองความปลอดภัยหากใช้ในคนท้องหรือเด็ก ข้อมูลเหล่านี้จะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบและเว็นต์ใบยินยอม นอกจากนี้จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่หากพบว่าเกิดอาการข้างเคียงจากการแพ้ยา

การสวมหน้ากาก| การสวมหน้ากาก| n95 ทดสอบความพอดี |การล้างมือ |ไข้หวัดนก |ไข้หวัดนกในไก|การป้องกัน| ความปลอดภัยสำหรับคนเลี้ยงไก่ |ข่าวจากฮงค์การอนามัยโลก| การเตรียมตัวรับการระบาด| การระบาด |การป้องกัน เชื้อไข้หวัดใหญ |การเตรียมตัวป้องกันการระบาดทั่วโลก

เอกสารอ้างอิง WHO pandemic influenza draft protocol for rapid response and containment

Updated draft 17 March 2006