ไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ

เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1เป็นเชื้อไวรัสที่พบในนกป่าที่มีความรุนแรงมาก ได้ขามสายพันธ์จากไก่มาสู่คนและทำให้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และทำให้ทั่วโลกเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ทั่วโลก บทความนี้จะทบทวนอาการแสดงทางคลินิคของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนก และการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก

อุบัติการ

จากตารางข้างล่างเป็นตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2003 ถึงเดือนสิงหาคม2005

วันที่เกิดโรค
เวียดนาม
ประเทศไทย
กัมพูชา
ทั้งหมด
 
ผู้ป่วย
ตาย
ผู้ป่วย
ตาย
ผู้ป่วย
ตาย
ผู้ป่วย
ตาย
26ธค2003 ถึง 10 มีค2004
23
16
12
8
0
0
35
24
19กค2004 ถึง 8ตค2004
4
4
5
4
0
0
9
8
16 ธค2004 ถึง 5 สค 2005
63
20
0
0
4
4
68
25
 
ทั้งหมด
90
40
17
12
4
4
112
57

สถานการณ์การระบาดจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2549

Country

2004

2005

2006

Total

cases

deaths

cases

deaths

cases

deaths

cases

deaths

Cambodia

0

0

4

4

0

0

4

4

China

0

0

8

5

7

5

15

10

Indonesia

0

0

17

11

10

9

27

20

Iraq

0

0

0

0

2

2

2

2

Thailand

17

12

5

2

0

0

22

14

Turkey

0

0

0

0

12

4

12

4

Viet Nam

29

20

61

19

0

0

93

42

Total

46

32

95

41

31

20

175

96

สถานการณื 6 เมษายน 2549

Country

2004

2005

2006

Total

cases

deaths

cases

deaths

cases

deaths

cases

deaths

Azerbaijan

0

0

0

0

7

5

7

5

Cambodia

0

0

4

4

2

2

6

6

China

0

0

8

5

8

6

16

11

Egypt

0

0

0

0

4

2

4

2

Indonesia

0

0

17

11

13

12

30

23

Iraq

0

0

0

0

2

2

2

2

Thailand

17

12

5

2

0

0

22

14

Turkey

0

0

0

0

12

4

12

4

Viet Nam

29

20

61

19

0

0

93

42

Total

46

32

95

41

48

33

192

109


สถานการณ์ไข้หวัดนก 24 พค 2549

Country

2004

2005

2006

Total

cases

deaths

cases

deaths

cases

deaths

cases

deaths

Azerbaijan

0

0

0

0

8

5

8

5

Cambodia

0

0

4

4

2

2

6

6

China

0

0

8

5

10

7

18

12

Djibouti

0

0

0

0

1

0

1

0

Egypt

0

0

0

0

14

6

14

6

Indonesia

0

0

17

11

25

22

42

33

Iraq

0

0

0

0

2

2

2

2

Thailand

17

12

5

2

0

0

22

14

Turkey

0

0

0

0

12

4

12

4

Viet Nam

29

20

61

19

0

0

93

42

Total

46

32

95

41

74

48

218

124

 

จากอุบัติการพบว่าการติดต่อของไข้หวัดนกสู่คนยังไม่มาก จะพบมากในประเทศเวียดนามโดยพบมากที่คลื่นลูกที่3 ของการระบาดและยังพบผู้ป่วยที่ประเทศอินโดนีเซียเสียชีวิต 1 ราย เชื้อไข้หวัดนกได้กระจายไปยังประเทศ Kazakstan, Mongolia, and Russia

การติดต่อ

จากรายงานที่ผ่านมาเชื้อการติดเชื้อไข้หวัดนกมาสู่คนมีได้ 3วิธีคือ

  1. การติดต่อจากนกสู่คน การระบาดของไข้หวัดนก H5N1เริ่มเมื่อปี คศ 1997 ที่ฮ่องกง โดยคนที่ติดไข้หวัดนกเกิดจากการสัมผัสไก่ที่มีชีวิต โดยที่ไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกจากการกินไก่หรือการชำแหละไก่ที่ป่วย สำหรับการระบาดในปี 2003-04 พบว่าผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกเกิดจากการสัมผัสไก่ที่เป็นโรค หรือมีการฆ่า ถอนขนหรือชำแหละไก่
  2. การติดต่อจากคนสู่คน การระบาดเมื่อปี 1997มีการตรวจภูมิคุ้มกันของผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยไข้หวัดนกไม่พบหลักฐานว่ามีการติดเชื้อจากคนสู่คน และจากการศึกการระบาดปี 2004 ที่ประเทศไทยและเวียดนามก็ไม่พบหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ติดเชื้อไข้หวัดนกจากผู้ป่วยทั้งที่ไม่ได้ป้องกันตัวเอง แต่มีการสงสัยว่าเชื้อไข้หวัดนกสามารถติดต่อจากคนหนึ่งสุ่อีกคนหนึ่งโดยมีเหตุการเกิดที่ประเทศไทย เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย แต่ต้องมีการศึกษาต่อ
  3. การติดต่อจากสิ่งแวดล้อมสู่คน เมื่อเชื้ออยู่ในสิ่งแวดล้อมสามารถติดคนได้หลายแบบ คือ จากการดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน เชื้ออาจจเข้าทางตา จมูก จากน้ำที่มีเชื้อหรือเชื้อจากมือ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  • การฆ่า ถอนขน การชำแหละไก่ที่ป่วยหรือเสียชีวิต
  • การสัมผัสไก่ป่วยหรือนำไก่ที่ตายไปทำลายโดยที่ไม่ได้ป้องกัน
  • การเล่นอยู่ในบริเวณที่มีไก่ตาย
  • การรับประทานอาหารดิบหรือดื่มเลือดไก่ที่เป็นโรค
  • การสัมผัสคนที่ป่วย(แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน)

อาการแสดงของโรคไข้หวัดนก

อาการแสดงของโรคได้จากผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเล็กน้อย หรือผู้ป่วยที่อาการไม่เข้ากับไข้หวัดนกไม่ได้อยู่ในการศึกษา

ระยะฟักตัว

หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการส่วนใหญ่จะใช้เวลา 2-4 วันแต่รายงานระยะหลังอาจจะนานถึง 8 วัน สำหรับในรายที่สงสัยว่าจะเกิดการติดต่อจากคนสู่คนใช้เวลา 2-5 วัน

อาการของผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยจะมีไข้เป็นส่วนใหญ่ ไข้มากกว่า 38 องศา
  • ไอ พบได้ร้อยละ 94-100
  • มีเสมหะพบได้ 30-76%
  • เจ็บคอ 33-71%
  • น้ำมูกไหล50%
  • หายใจเหนื่อย 76-95%
  • ปอดบวม 95%
  • ปวดศีรษะ

การดำเนินของโรค

  • ผู้ป่วยมักจะมีอาการของปอดบวมโดยมีรายงานว่าผู้ป่วยจะเกิดอาการหายใจลำบากเหนื่อยและไอ อาการจะเกิดประมาณ5 วันหลังจากไข้(1-16 วัน) อาจจะมีเสมหะก็ได้ มีบางรายเสมหะมีเลือดปน
  • ตรวจรังสีพบว่ามีปอดบวม ลักษณะของปอดบวมมีได้หลายลักษณะ ภาพรังสีจะเริ่มปรากฎหลังจากเกิดอาการ 7 (3-17)วัน
  • อาการจะลุกลามจนเกิดภาวะหายใจวายโดยมีระยะเวลาประมาณ 6(4-13) วัน
  • อาจจะเกิดอวัยวะล้มเหลวได้อวัยวะ เช่น หัวใจ ไต ตับ

อัตราการเสียชีวิต

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลจะสูงโดยเฉพาะทาราและเด็ก โดยมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 89 โดยมากมักจะเสียชีวิตวันที่ 9-10 หลังจากเกิดอาการ โดยเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว

ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • พบว่าเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • ตับมีการอักเสบ elevated aminotransferase levels
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ในประเทศไทยพบว่าหากเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดต่ำจะมีอัตราการเสียชีวิตสูง

การวินิจฉัยทางไวรัส

  • การวินิจฉัยทำได้โดยการเพาะเชื้อไวรัส หรือตรวจพบ H5-specific RNA หรือตรวจพบทั้งสองวิธี
  • ตำแหน่งที่พบเชื้อคือบริเวณคอ throat-swab โดยสามารถพบเชื้อตั้งแต่วันที่ 2-15(เฉลี่ย 5.5) ส่วนบริเวณ pharyngeal swabs จะพบเชื้อวันที่ 4-8 วัน

การจัดการ

  • ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลโดยมากมักจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและอยู่ในห้องอภิบาลผู้ป่วยหนัก

เมื่อไรจึงจะอยู่ในโรงพยาบาล

  • หากมีปริมาณผู้ป่วยไม่มาก ให้รับผู้ป่วยทุกคนที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดนก
  • เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นต้องให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว

การให้ยาต้านไวรัส

  • ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดนกควรจะได้ยาต้านไวรัสโดยเร็วโดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • การให้ยาอาจจะต้องให้ยาประมาณ 8 วันถึงจะได้ผลดีเหมือนกับการระบาดเมื่อปี 1997
  • ยาที่ให้คือ oseltamivir 75 mg วันละ 2 ครั้ง ส่วนรายที่รุนแรงให้ยา 150 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้ง

การป้องกัน

การให้วัคซีน

  • อยู่ระพหว่างการศึกษาถึงขนาดที่เหมาะสม รวมทั้งสารช่วยเพิ่มภูมิ
  • ศึกษาการให้วัคซีนโดยการพ่นทางจมูก

การแยกผู้ป่วย

  • ต้องแยกผู้ป่วยออกจากผู้ป่วยอื่น
  • เจ้าหน้าต้องสวมเครื่องป้องกันการติดเชื้อ และรายที่สัมผัสผู้ป่วยโดยที่ไม่ได้ป้องกันต้องได้ oseltamivir วันละ 75 มิลิกรัม 7 วัน

เมื่อไรจะสงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนก

อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

ระยะ 7-14 วันก่อนเกิดอาการมีประวัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  • สัมผัสกับไก่ป่วยหรือไก่ตาย เป็ด หรือนกน้ำในระยะ 1 เมตร
  • ได้พูดคุยหรือสัมผัสกับคนที่เป็นโรคไข้หวัดนกโดยที่ไม่ได้ป้องกันในระยะ 1 เมตร
  • สัมผัสกับไก่ที่เคยถูกเฝ้าระวัง
  • กลุ่มอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อ(คนเลี้ยงไก่ คนทำลายไก่ คนเก็บไก่ พ่อค้าไก่ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

อยู่ในประเทศที่ไม่ได้มีการระบาดของไข้หวัดนก

ในระยะ 7-14 วันก่อนเกิดอาการได้ติดต่อใกล้ชิดกับ

  1. คนป่วยที่เป็นนักท่องเที่ยวที่มายังถิ่นระบาด
  2. มาเที่ยวยังประเทศที่มีการระบาด
  3. ที่พักมีการตายของสัตว์ปีก ร่วมกับ
  • สัมผัสกับไก่ป่วยหรือไก่ตาย เป็ด หรือนกน้ำในระยะ 1 เมตร
  • ได้พูดคุยหรือสัมผัสกับคนที่เป็นโรคไข้หวัดนกโดยที่ไม่ได้ป้องกันในระยะ 1 เมตร
  • สัมผัสกับไก่ที่เคยถูกเฝ้าระวัง
  • กลุ่มอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อ(คนเลี้ยงไก่ คนทำลายไก่ คนเก็บไก่ พ่อค้าไก่ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ