การรักษาไข้หวัดใหญ่ 7อาการที่ต้องไปพบแพทย์
ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร
แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์
ผู้ป่วยเด็กควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- ไข้สูงและเป็นมานาน
- ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5องศา
- หายใจหอบหรือหายใจลำบาก
- มีอาการมากกว่า 7 วัน
- ผิวสีม่วง
- เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
- เด็กซึม หรือไม่เล่น
- เด็กไข้ลด แต่อาการไม่ดีขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์
- ไข้สูงและเป็นมานาน
- หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- หน้ามืดเป็นลม
- สับสน
- อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได
กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรจะพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน
- คนท้อง
- คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- เด็กเล็กหรือทารก
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
- เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
- เจ้าหน้าที่ที่ดูลแลผู้สูงอายุหรือดูแลคนป่วย
หากท่านสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ควรจะรักษาในโรงพยาบาล
- มีอาการขาดน้ำไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
- เสมหะมีเลือดปน
- หายใจลำบาก หายใจหอบ
- ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว
- ไข้สูงมากเพ้อ
- มีอาการไข้และไอหลังจากไข้หวัดหายแล้ว
การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จะอาศัยระบาดวิทยา โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด และอาการของผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องทำการตรวจดังนี้
- นำเอาเสมหะจากจมูกหรือคอไปเพาะเชื้อไวรัส
- เจาะเลือดผู้ป่วยหาภูมิ 2 ครั้งโดยครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน
- การตรวจหา Antigen
- การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย
- มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด
- เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- หูอักเสบ
การรักษาไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้
- ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย
- ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่ ดื่นจนปัสสาวะใส
- รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่แนะนำให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye syndrome การรับประทาน paracetamol ก็ต้องระวังจะทำให้ตับอักเสบ
- ถ้าไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อยารับประทาน
- สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ
- อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆเพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม
- ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิดประตู
- เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
- ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่สาธารณะ
การรักษาในโรงพยาบาล
- แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ที่ดื่มน้ำไม่พอ
- ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับยา Amantadine หรือ rimantidine เพื่อให้หายเร็วและลดความรุนแรงของโรค ควรจะให้ใน 48 ชมหลังจากมีไข้ และให้ต่อ 5-7 วัน ยานี่ไม่ได้ลดโรคแทรกซ้อน
- ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก
- ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่ควรให้ยาปฎิชีวนะ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะหายใน 2-3 วันไข้จะหายใน 7 วันอาการอ่อนเพลียอาจจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์
การป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ล้างมือบ่อยๆ
- อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
- อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
- เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
- หลีกเลี่ยงที่ชุมชนเมื่อมีการระบาด
การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
- นักเรียนที่อยู่รวมกัน
- ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ
การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา
- Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด
A ไม่ครอบคลุมชนิด B
- Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด
A,B
- การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค
จะใช้ยารักษาไข้หวัดกับคนกลุ่มใด
เราจะใช้ยากับคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่
และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคกลุ่มที่ควรจะได้รับยารักษาได้แก่
- คนที่อายุมากกว่า 65 ปี
- เด็กอายุ 6-23 เดือน
- คนท้อง
- คนที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
การให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
ยาที่่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แก่ Amantadine
Ramantadine Oseltamivir วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน
แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนไม่ทัน ทำให้ต้องได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
- ผู้ที่ดูดแลกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรจะได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเอดส์
- กลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่อยากเป็นโรค
คำแนะนำการใช้ยาในเด็ก อ่านที่นี่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดข้ออักเสบ การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ การติดต่อ การป้องกันไข้หวัด