การติดต่อของโรคไวรัสไข้หวัดใหญ

การติดต่อของไวรัสไข้หวัดใหญ่จากคนสู่คนมีได้หลายวิธี ส่วนใหญ่เกิดจากการติดต่อแบบใกล้ชิด Close contact ซึ่งแบ่งออกเป็น

Droplet Transmission เกิดจากการที่คนทั่วไปได้รับเสมหะที่มีขนาดใหย่สัมผัสกับเยื่อบุในปาก ตา จมูก โดยการ ไอ จาม หรือแม้กระทั่งขณะพูดคุย การติดต่อแบบนี้จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะสามฟุต ในทางปฏิบัติมักจะแนะนำให้อยู่ห่างจากผู้ป่วยประมาณ3-6 ฟุต และไม่จำเป็นต้องนอนในห้องความดันลบ negative pressure การติดต่อของไวรัสส่วนใหญ่จะเกิดทางวิธีนี้ เช่น ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่

  • Airborne Transmission การติดต่อชนิดนี้เกิดจากที่เชื้อสามารถไปกับเสมหะที่มีขนาดเล็กทำให้เชื้อสามารถติดต่อไปยังคนที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิด โดยคนที่อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยสามารถได้รับเชื้อจากผู้ป่วย การติดต่อชนิดนี้ได้แก่ วัณโรค Mycobacterium tuberculosis, หัด measles virus, และไข้สุกใส varicella [chickenpox] virus ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเข้าห้องที่ดัดแปลงให้มีความดันในห้องต่ำกว่านอกห้อง เพื่อที่อากาศจากนอกห้องผู้ป่วยวิ่งเข้าหาผู้ป่วย
  • Contact Transmission (Direct and via Fomites) การติดต่อวิธีนี้โดยเชื้อที่ผู้ป่วยไอ จามไปกระทบกับวัตถุหรือวัสดุ เมื่อคนเอามือไปจับ เชื้อจะติดมือ และหากไม่ล้างมือและเอามือไปเข้าปาก จมูกหรือตา เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นเชื้อยังอาจจะเกาะอยู่ที่แก้วน้ำ จาม ชามช้อนหรือรับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดโรค
  • Aerosol-Generating Procedures การพ่นยา การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เชื้อสามารถติดไปกับเสมหะชิ้นเล็ก ดังนั้นผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือต้องใส่หน้ากาก N95

เมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่

เมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ควรจะมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

  • หากมีวัคซีนป้องกันโรค เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และประชาชนควรจะได้รับการแีดวัคซีน
  • ในช่วงเริ่มต้นของการระบาด การค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรคเพื่อกักันและให้ยาจะเป็นวิธีการที่ป้องกันมิให้เชื้อแพร่กระจาย หากการระบาดแพร่กระจายจนไม่สามารถที่จะควบคุม การดูแลช่วงนี้จะต้องมีคำแนะนำสำหรับการดูแลตัวเอง และจะต้องแยกผู้คนไม่ให้มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน
  • การให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
  • จะต้องจัดการเรื่องต่อไปนี้
  • จำกัดคนที่มาเยี่ยมหรือคนดูแลให้น้อยที่สุด
  • ให้ความรู้เรื่องการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัว
  • จัดห้องพักสำหรับผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยพักแต่ในห้อง หากออกนอกห้องต้องใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือทุกครั้ง
  • จัดที่ล้างมือสำหรับผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว
  • สำหรับผู้ที่จะเข้าไปดูแลจะต้องสวมถุงมือและหน้ากากอนามัย เมื่อออกนอกห้องจะต้องล้างมือทุกครั้ง