หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน


พยาธิปากขอ Hookworm

โรคพยาธิปากขอหรือ Ancylostomiasis เป็นโรคพยาธิลำไส้เล็กซึ่งมีสาเหตุจากพยาธิ Necator americanus และ Ancylostoma duodenaleทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดและเกิดอาการจะโรคโลหิตจาง

วงจรชีวิตของพยาธิปากขอ

พยาธิ์ปากขอ

พยาธิปากขอตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กโดยกัดติดกับเยื่อบุผนังลำไส้ ดูดเลือดและน้ำเลี้ยงจากลำไส้ พยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละ 6000-20000 ฟอง ไข่จะออกมากับอุจาระ ถ้าอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ตัวอ่อนจะออกจากไข่ใน 1-2 วัน เป็นตัวอ่อนระยะที่หนึ่งเรียกว่า rhabditiform larvae เจริญในดินหรืออุจาระ  ตัวอ่อนจะลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่สองมีลักษณะเหมือนตัวอ่อนระยะที่หนึ่งแต่ตัวใหญ่กว่าโดยใช้เวลา5-10 วัน และจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่สามเรียก filariform ในระยะเวลา 5-10 วัน ระยะนี้เป็นระยะติดต่อ ซึ่งสามารถไชทะลุผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายคนได้   เข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปหัวใจ เข้าปอด ไชออกจากปอดเข้าคอยหอย หลอดอาหาร แล้วสู่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็ก ตัวแก่ส่วนใหญ่จะถูกขับออกใน 1-2 ปีแต่อาจจะอยู่ได้หลายปี

การกระจายโรคพยาธิปากขอ

พบได้ทั่วประเทศ แต่พบมากในเขตภาคใต้เนื่องจากเดินเท้าเปล่ากรีดยางตอนเช้า ละถ่ายอุจาระตามพื้นดิน

อาการและอาการแสดงพยาธิปากขอ

เมื่อพยาธิตัวอ่อนไชเข้าผิวหนังจะเกิดอาการคันและมีตุ่มแดงๆบริเวณที่พยาธิไช ถ้าเกาอาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนอง เมื่อพยาธิไชผ่านปอดก็จะเกิดอาการไอและมีไข้

เมื่อพยาธิเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะรู้สึกจุกเสียดในท้องบริเวณลิ่มปี่ และจะดูดเลือดทำให้เกิดโลหิตจาง หากซีดมากๆเด็กอาจจะมีปัญญาทึบ ส่วนผู้ใหญ่หากซีดมากอาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย มีอาการเหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ



การวินิจฉัยพยาธิปากขอ

ตรวจอุจาระพบไข่และพยาธิในอุจาระ ควรจะตรวจอุจาระใหม่ หากเกิน 24 ชั่วโมงไข่จะกลายเป็นตัวอ่อน

ไข่พยาธิจะมีขนาด 50-70 ไมครอนเปลือกบาง ไข่รูปร่างรีๆ
Hookworm egg Hookworm egg

Hookworm rhabditiform larva

ตัวอ่อนระยะrhabditiform larvae

Hookworm filariform larva

ตัวแก่ของพยาธิ

การรักษาพยาธิปากขอ

การป้องกันพยาธิปากขอ

เพิ่มเพื่อน