เชื้ออะมีบ้ากินสมอง Acanthamoeba
Acanthamoeba พบได้ในน้ำและดินมันสามารถอาศัยอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์อื่นเชื้อที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคในคนได้แก่ A. polyphaga,A. castellanii, และ A. culbertsoni.ซึ่งทำให้เกิดโรค granulomatious amoebic encephalitis (GAE), acanthamoebic keratitis or acanthamoebic uveitis.ส่วน Naegleria fowleri ทำให้เกิดโรค Primary amoebic meningoencephalitis PAM)
การสืบพันธ์ของอะมีบ้า
สืบพันธ์แบบไม่ใช้เพศ สืบพันธ์โดยการแบ่งตัวมีรูปร่าง2 แบบคือ trophozoite ซึ่งแบ่งตัวได้มีขนาด 25 - 40 µm ส่วนอีกรูปร่างหนึ่งคือ cyst ซึ่งจะเป็นรูปร่างที่เกิดในภาวะที่ไม่เหมาะสมในการแบ่งตัว 15 - 28 µm
เชื้อนี้สามารถเจริญที่อุณหภูมิ 12-45 องศาแต่จะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 36-37 และใช้ oxygenในการสันดาปอาหารองศาเมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมมันจะกลายเป็น cyst ซึ่งจะทนอุณหภูมิ -20 ถึง 56 องศา
แหล่งที่พบเชื้อ
พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติและและสระว่ายน้ำที่มี คลอรีนผสมอยู่ โดยจะพบเชื้อได้จากน้ำที่เก็บไว้ในแท็งก์น้ำมากกว่าน้ำที่มาจากประปา ยังไม่ทราบว่าเชื้อ acanthamoeba ที่อยู่ในแท็งก์มาจากไหน นอกจากนั้นยังพบในน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงเครื่องปรับอากาศ

เชื้อ Naegleria fowleri มีวงจรชีวิต 3 ระยะคือ cyst
trophozoite และ
flagellated forms ตัวแก่ trophozoite สามารถแบ่งตัวโดยวิธีpromitosis
Naegleria fowleri จะพบในน้ำ ดิน น้ำที่ลดความร้อนจากเครื่อง สระว่ายน้ำอุ่น ธาราบำบัดชนิดน้ำอุ่น
เชื้อ trophozoite จะสู่คนโดยผ่านทางเยื่อบุจมูก
ละเข้าสู่สมอง เราจะพบเชื้อระยะ trophozoites ในน้ำไขสันหลังและเนื้อสมอง ขณะที่ flagellated forms จะพบเฉพาะในน้ำไขสันหลัง
เชื้อในกลุ่ม Acanthamoeba spp. และ Balamuthia mandrillaris จะทำให้เกิดโรค granulomatous amebic encephalitis (GAE) ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อ Acanthamoeba spp. พบในดิน น้ำ น้ำกร่อย น้ำทะเล ของเสีย สระน้ำอุปกรณ์ contact lens ยูนิตทำฟัน เครื่องฟอกเลือด เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ ผัก ในคอ จมูกของคนปกติ เชื้อ Acanthamoeba and Balamuthia จะมีอยู่2ระยะคือ cysts และ trophozoites
ในวงจรชีวิต และจะไม่มี
flagellated form เชื้อระยะ trophozoites
จะแบ่งตัวด้วยวิธี mitosis
ระย trophozoites จะเป็นระยะที่ติดต่อเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผิวหนังและเข้าสู่ระบบประสาทโดยทางโลหิต
การติดต่อ
- เชื้อจะเข้าทางผิวหนังที่มีแผล
- เชื้อจะเข้าทางจมูก
- เชื้อเข้าทาง contact lens
- จากการหายใจ
อาการของโรคอะมีบ้า
- contactlens ซึ่งล้างไม่ถูกวิธีจะมีเชื้อติดอยู่และหากมีแผลก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่แก้วตา
- เมื่อเชื้อเข้าสู่สมอง จะมีอาการปวดศีรษะคอแข็งคลื่นไส้อาเจียนสับสนทรงตัวไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังโดยเฉพาะโรคที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การรักษาอะมีบ้า
- ถ้าหากเกิดที่ผิวหนังหรือตาสามารถรักษาได้
- เกิดที่สมองโดยมากมักจะเสียชีวิต
เชื้อนี้สามารถติดจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งหรือไม่
เชื้อนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คน
การป้องกันอะมีบ้า
ให้ใช้น้ำยาล้างlensที่เตรียมจากบริษัทมากว่าเตรียมเอง
การติดเชื้ออะมีบ้าที่สมอง | การติดเชื้ออะมีบ้าที่ตา | การติดเชื้ออมีบ้า
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว