โรคติดเชื้ออะมีบ้า
เชื้อที่เป็นสาเหตุโรคติดเชื้ออะมีบ้า ชื่อ Entamoeba histolytica
โดยมีวงจรชีวิต
![]() |
Cysts จะขับออกทางอุจาระ . การติดเชื้อ Entamoeba histolytica โดยการกินซีสตัวแก่ mature cysts
ในอาหาร น้ำ หรือมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้ เชื้อจะกลายเป็นตัวอ่อน
ในลำไส้และกลายเป็นระยะ trophozoites
ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปยังลำไส้ใหญ่ ตัวเชื้อระยะ trophozoites จะแบ่งตัวโดย binary fission และทำให้เกิด cysts
ซึ่งจะบับออกทางอุจาระ
. เนื่องจากระยะ cyst จะมีเปลือกหุ้มทำให้มันทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ และสามารถติดต่อสู่คนได้ ส่วนตัวเชื้อระยะ trophozoite เมื่อออกสู่สิ่งแวดล้อมจะตายเร็ว แม้ว่าเรารับประทานเข้าไป กรดในกระเพาะก็จะทำลายตัวเชื้อ เชื้ออาจจะอยู่ในลำไส้โดยที่ไม่เกิดอาการและสามารถแพร่เชื้อออกทางอุจาระ (
: non-invasive infection) แต่ก็มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อลุกลามเข้าผนังลำไส้ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ (
:intestinal disease), และอาจจะทำให้เกิดโรคที่ตับ สมอง และปอด (
:extra-intestinal disease)
อาการแสดงของโรคติดเชื้ออะมีบ้า
ผู้ที่ได้รับการติดเชื้ออาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการท้องร่วงเนื่องจากลำไส้อักเสบ หรืออาจจะมีการติดเชื้อนอกลำไส้ เช่น ฝีในปอด ช่องท้องอักเสบ ฝีในปอด ผิวหนังและอวัยวะเพศมีรอยโรค
โรคลำไส้อักเสบจากเชื้ออะมีบ้าหรือบิดมีตัว
ทางการแพทย์เรียก Amoebic dysentery เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจาระบ่อย อุจาระเป็นมูกเลือด และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ฝีที่ตับ สมอง ปอด และผิวหนัง
การติดต่อโดยการรับประทานหรือดื่มน้ำที่มี cyst ของเชื้ออะมีบ้าซึ่งมี 4 นิวเครียส
อาการและอาการแสดงโรคติดเชื้ออะมีบ้า
ขึ้นอยู่กับว่าเชื้ออะมีบ้าแพร่กระจายไปมากหรือไม่ ความรุนแรงของเชื้อ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย รวมทั้งกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ อาการที่เกิดจากเชื้ออะมีบ้า
- โรคบิดอะมีบ้าชนิดเฉียบพลัน Acute amoebiasis จะเกิดอาการหลังจากได้รับประทาน cyst ไปแล้ว 8-10 วัน จะมีอาการถ่ายอุจาระเหลวๆ แรกจะมีเนื้ออุจาระมาก แต่ระยะหลังจะมีมูกมากและมีเลือดปน มีกลิ่นเหม็นมากเหมือนหัวกุ้งเน่า ปวดท้องมากอยากถ่ายแต่เมื่อถ่ายออกเป็นมูกเลือดเล็กน้อยอาการปวดก็หายไป ไม่นานก็จะเริ่มปวดอีกถ้าหากเชื้อลามไปลำไส้เล็กก็จะมีการถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีไข่หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆ
- โรคบิดอะมีบ้าชนิดเรื้อรัง Chronic amoebiasis เป็นผลจากการรักษาชนิดเฉียบพลันที่ไม่ถูกต้องหรือไม่พอที่จะฆ่าเชื้อให้หมด จะมีอาการถ่ายเป็นมูกและเลือดกลับมาใหม่ ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้ามาทำให้อักเสบเพิ่มขึ้น หรืออาจจะเกิดจากรับประทานอาหารผิดแปลกไปเชื้อในลำไส้เปลี่ยนไปจะทำให้เกิดอาการบิดเฉียบพลัน เมื่อตรวจอุจาระจะพบทั้ง trophozoite และ cyst
- โรคบิดอะมีบ้าชนิดไม่มีอาการ คนบางคนเมื่อได้รับ cyst เข้าไปแต่ไม่เกิดอาการ หรืออาจจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาจจะมีอาการท้องเดินแต่ไม่มาก ตรวจอุจาระจะพบไข่หรือ cyst พวกนี้เป็นพาหะของโรค
- โรคอะมีบิค แกรนูโลมา ( Amoebic granuloma) เป็นพยาธิสภาพที่มีลักษณะเป็นก้อนที่เกิดจากเชื้ออะมีบ้า อาจจะเกิดได้กับทุกแห่งของลำไส้ใหญ่ เพราะฉะนั้นอาการที่มีคืออาการของบิดมีตัวร่วมกับคลำได้ก้อนในท้อง กดเจ็บ บางครั้งอาจจะทำให้คิดว่าเป็นมะเร็ง ก้อนจะยุบลงอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับการรักษา
- โรคอะมีบ้าที่มีภาวะแทรกซ้อน พบในรายที่เป็นโรคอย่างรุนแรงโรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่
- ลำไส้ทะลุ ตกเลือดและไส้ติ่งอักเสบจากเชื้ออะมีบ้า
- เป็นโรคอะมีบ้านอกลำไส้
- มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นมะเร็ง บิดมีตัว
โรคบิดอะมีบ้าที่ตับ
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ได้บ่อยและสำคัญที่สุดของโรคบิดอะมีบ้าในลำไส้ พบในผู้ชายได้บ่อยกว่าผู้หญิงประมาณ7ต่อ1 อายุที่เป็น 30-50 ปี มักจะเป็นกลีบขวาของตับและมีหัวเดียว เชื้อว่าเชื้ออะมีบ้ามาตับโดยทางกระแสเลือด หรือทางหลอดน้ำเหลือง หรือลุกลามจากลำไส้โดยตรง
อาการของฝีในตับผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บชายโครงข้างขวา ถ้าฝีอยู่ใกล้กำบังลมเวลาหายใจจะทำให้เจ็บมากขึ้น ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะทุโภชนาการ
โรคแทรกซ้อนของฝีในตับ
- ฝีแตกอาจจะแตกเข้าท้องเกิดช่องท้องอักเสบ ทำให้ปวดท้องและไข้สูง หากแตกเข้าในปอดทำให้มีหนองที่ช่องเยื่อหุ้มปอดหรืออาจจะลามเข้าหัวใจ
- เกิดน้ำในช่อเยื่อหุ้มปอด การจะหนองและน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทำได้โดยการเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด
การวินิจฉัยโรคติดเชื้ออะมีบ้า
![]() เซลล์ระยะ trophozoite |
![]() เซลล์ระยะ trophozoite กินเม็ดเลือดแดง |
![]() cyst ที่ตรวจพบในอุจาระ |
การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการตรวจพบเชื้ออะมีบ้าโดยการตรวจพบ cyst และ trophozoite ในอุจาระซึ่งสามารถตรวจได้จาก
- อุจาระสดโดยการส่องกล้องดูอุจาระ หรือย้อมสี
- นำอุจาระมาปั่นแล้วดูสดหรือย้อมสี
การตรวจทางรังสี
หากเป็นฝีที่ปอดหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดเมื่อ x-ray ปอดจะพบว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ส่วนฝีในตับเมื่อทำ ultrasound จะพบก้อนในตับ
การตรวจทางภูมิคุ้มกัน
- การตรวจภูมิคุ้ม(Antibody)กันต่อเชื้ออะมีบ้าสามารถกระทำได้โดยการตรวจวิธี indirect hemagglutination (IHA), enzyme immunoassay (EIA), and immunodiffusion (ID) การตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อะมีบ้าจะมีประโยชน์ในการติดเชื้อนอกลำไส้ เพาะเราไม่สามารถตรวจหาตัวเชื้อจากการตรวจอุจาระ การตรวจด้วยวิธี IHA จะให้ผลบวกเมื่อระดับภูมิมากกว่า 1 ต่อ 256 พบว่าการติดเชื้อนอกลำไส้จะให้ผลบวก 95% การติดเชื้อที่ลำไส้จะให้ผลบวก 70% สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการจะให้ผลบวก 10 % หลังการรักษาผลบวกนี้จะคงอยู่เป็นปี ดังนั้นจะอาศัยผลการตรวจหาภูมิอย่างเดียวอาจจะไม่แม่นยำ
- เป็นการตรวจหา Antigen โดยมากมักจะใช้ร่วมกับการตรวจพบตัวเชื้อเพื่อแยกว่าเชื้อที่ตรวจพบเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคหรือไม่
การรักษาโรคติดเชื้ออะมีบ้า
ยาที่นิยมใช้ได้แก่
- Metronidazole ขนาดที่ใช้ 400-800 มก. วันละ 3 ครั้งนาน 5 วัน
- Tetracyclin หรือ erythromycin 1 กรัมต่อวันเป็นเวลา 10 วัน