หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน


โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก (Eosinophilic meningoencephalitis)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก (Eosinophilic meningoencephalitis ) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซิส แคนโทเนนซิส เกิดจากพยาธิตัวกลม  Angiostrongylus cantonensis ซึ่งปกติแล้วพยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู  ผู้ป่วยจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบ น้ำไขสันหลังจะมีจำนวนเซลล์สูง ตรวจพบในน้ำไขสันหลัง มีเซลล์เพิ่มขึ้น เท่ากับหรือมากกว่า 20%  โดยมีจำนวนเซลล์อีโอซิโนฟิลมากกว่า 10% จึงเรียกว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก ติดต่อโดย คนกินหอยโข่ง หอยทากยักษ์ สัตว์น้ำหรือพืช ที่มี ตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิชนิดนี้เข้าไป   เข้าสู่และก่อโรคของระบบประสาทกลาง คือ สมอง ไขสันหลัง และเยื่อหุ้มสมอง  

แหล่งปรากฎโรค

สำหรับประเทศไทย ได้มีการพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบและมีเซลล์อีโอซิโนฟิล ประปรายกระจายอยู่ทั่วไป เท่าที่พบแล้วมีมากทางภาคอิสาน กรุงเทพ อยุธยา ปราจีนบุรี สระบุรี  โดยพบพยาธิจากการตรวจศพ    พบว่า หอยโข่ง (Pila snail)  เป็นโฮสต์ กึ่งกลาง นำโรคที่สำคัญในประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีประวัติอาการหลังจากกินหอยโข่ง และยังตรวจพบพยาธิตัวอ่อน A. cantonensis ในหอยโข่งที่จับเอามาตรวจ จากแหล่งที่ผู้ป่วยนำมาทำอาหารด้วย นอกจากนี้ พิพัฒน์ ชุติชูเดช ได้ตรวจพบพยาธิตัวแก่จากหนู ในปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นที่ทราบว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซีสมีอยู่ในประเทศไทย และน่าจะเป็นโรคประจำถิ่นเช่นเดียวกับที่พบในหมู่เกาะทะเลใต้

รูปร่างลักษณะ

ลักษณะสำคัญทั่วไปของพยาธิตัวกลม Angiostrongylus cantonensis หรือพยาธิในปอดของหนู มีลำตัวเรียว เล็ก ขณะมีชีวิตจะสีใส ผิวหนังเรียบมีรอยบั้งขวาง ส่วนหัวประกอบด้วย ริมฝีปาก 3 อัน ไม่มีกระพุ้งลำคอ จากปากเปิดตรงสู่ หลอดคอซึ่งจะขยายกว้างตรงส่วนต่อกับลำไส้

ตัวเมียจะออกไข่ได้วันละ 15,000 ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี เปลือกบางใส ขนาดเฉลี่ย 47 x 70 microns ไข่ที่ ออกมาใหม่ยังไม่มีตัวอ่อน ต่อมาภายหลังจึงเจริญเป็นตัวอ่อนขดตัวอยู่ภายในไข่ แต่จะตรวจไม่พบในอุจจาระ เนื่องจากพยาธินี้ ออกไข่และฟักเป็นตัวในเนื้อปอด ดังนั้น การตรวจอุจจาระของหนูพบแต่เพียงพยาธิตัวอ่อนระยะแรกเท่านั้น

วงจรชีวิตของพยาธิ

Life Cycle of Angiostrongylus

หอยที่เป็นโฮสต์กลาง

พยาธิตัวกลม Angiostrongylus cantonensis โดยธรรมชาติเป็นพยาธิของหนู ตัวแก่ของพยาธิอาศัยอยู่ใน หลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ย์ของหนูและสัตว์ฟันแทะเมื่อพยาธิออกไข่ (ไข่มีลักษณะคล้ายไข่ของพยาธิปากขอ) ก็ไปตามกระแสเลือดเข้าไปติด อยู่ที่หลอดเลือดฝอยของปอด ขณะที่อยู่ในปอดพยาธิตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ เป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 (first stage larva) แล้วไช ทะลุถุงลมปอด และเดินทางขึ้นไปตามหลอดลมจนกระทั่งถึงคอหอย แล้วถูกกลืนลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้ หนูถ่าย ออกมาพร้อมกับอุจจาระ

ตัวอ่อนระยะที่ 1 จะไชเข้าหอยซึ่งเป็นโฮสต์กลาง ได้แก่ หอยโข่ง หอยปัง หอยทาก ตัวทากและกุ้ง พยาธิตัวอ่อนจะไชเข้าไปอยู่และเจริญต่อไปในโฮสต์ดังกล่าว จนเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ( third stage larva) ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เมื่อหนูกินโฮสต์ที่มีตัวอ่อนระยะที่ 3 ก็จะได้พยาธิตัวอ่อนเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ตัวอ่อนของพยาธิจะไชผ่านกระแสโลหิต ไปเจริญในสมองและเยื่อหุ้มสมอง เป็นตัวอ่อนระยะที่ 4 และระยะที่ 5 และสุดท้ายเจริญเติบโตเป็นตัวแก่จึงเข้ากระแสโลหิตใหม่ แล้วเดินทางมาอาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ย์ของหนู

อาการสำคัญ

ระยะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจจะมีอาการหลังจากรับประทานหอยโข่งไป 24 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยกินหอยโข่ง หรือหอยทากยักษ์ จะมีอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ในช่วง 1 – 2 ชั่วโมง หลังกิน ปวดศีรษะน้อยๆ ในช่วง 2 – 3 วันแรก และปวดมากขึ้นอย่างเฉียบพลัน บางคนปวดตุบๆ บางคนปวดมากคล้ายศีรษะจะระเบิด สายตาเสื่อม หลังและคอแข็ง ฟันดัสผิดปกติ Kerning's sign ให้ผลบวก ซึม หมดสติ ผิวหนังชา แขนขาอ่อนแรง ใบหน้าและกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ชักกระตุก

ระบาดวิทยา

เขตปรากฏโรค พบได้ในหมู่เกาะแปซิฟิคและประเทศบริเวณเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฮาวาย ตาฮิติ ไต้หวัน เกาหลี อินโดนีเซีย เวียตนาม นอกจากนี้มีรายงานพบที่ นิวคาเลโดเนีย มาดากัสการ์ อียิปต์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เปอร์โตริโก สำหรับประเทศไทย เริ่มมีรายงานผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2498 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521- 2530 พบผู้ป่วย 8,334 ราย เสียชีวิต 32 ราย พบว่า มีการระบาดทุกภาคของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบผู้ป่วยสูงสุด รอง ลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งโรคนี้พบว่า อยู่ในแถบภูมิภาคเขตร้อนที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม เช่น ฝน ตกชุก อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโฮสต์กลาง คือ หอย และสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งโฮสต์สุดท้ายคือ หนู ซึ่งมีพยาธิ เติบโตอยู่ ในประเทศไทยซึ่งมีความเหมาะสมทุกด้านทั้งสภาพภูมิศาสตร์ อากาศ ตลอดจนอุปนิสัยการกินของคนไทยซึ่ง น่าจะเชื่อได้ว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซิสนี้ มีอยู่ในประเทศมานานแล้ว เพราะมีหลักฐานเชื่อว่าหอยทากยักษ์แอฟริกันแพร่ เข้ามาสู่ประเทศไทยจากแอฟริกาตะวันออก ตั้งแต่พ.ศ. 2480 แต่เนื่องจากขาดความสนใจ และแพทย์ไม่รู้จักโรคนี้ดีพอหรือ อาการที่เกิดในคนไข้ส่วนมากมีน้อย หายเองได้ และมีอัตราการเสียชีวิตตลอดจนความผิดปกติทางประสาทน้อย ก็เป็นได้

ถ้าคนกินหอยโข่ง กุ้ง ดิบๆ หรือสุกๆดิบๆ เช่น ทำเป็นยำและพล่า ซึ่งมีพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 3 อยู่ พยาธิตัวอ่อนจะเดินทางไปที่สมองและเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดการอักเสบของสมองและเยื่อหุ้มสมองชนิดมีจำนวนอีโอซิโนฟิลมาก (eosinophilic meningoencephalitis) โดยธรรมชาติคนไม่ใช่โฮสต์ของพยาธินี้ ฉะนั้นพยาธิตัวอ่อนจะเจริญได้ไม่ดี และจะมีชีวิตอยู่ได้ระยะหนึ่งเพียง 1 - 2 เดือนเท่านั้น พยาธิก็จะตายไป

การวินิจฉัย

4. การตรวจทางปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน

5. การตรวจทางเคมีคลินิกของน้ำไขสันหลัง ส่วนมากมีโปรตีนสูงกว่า 50 มิลลิกรัม น้ำตาลและคลอไรด์ปกติ

6. การตรวจเลือดและตรวจทางเอ๊กซเรย์ และคลื่นสมอง ยังไม่ได้ผลที่น่าเชื่อถือนัก

การรักษา

ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การเจาะน้ำไขสันหลัง ออกบ่อยๆ ครั้งละ 3 - 10 มิลลิลิตรและการใช้สเตียรอยด์ชนิดกิน เช่น เพรดนิโซโลน 30 - 60 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมกับยาแก้ปวด พบว่า อาการของโรคดีขึ้น

การป้องกันและควบคุม

ปัญหาและแนวโน้มของโรค

เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศเหมาะสมในการเจริญเติบโตขยายพันธุ์ของหอยและหนู ดังนั้น พยาธิ Angiostrongylus cantonensis และพยาธิอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน จึงพบมากขึ้นและแพร่กระจายอยู่ทั่วๆไป ขณะเดียวกันการรายงานโรคจึงมีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประชาชนชอบรับประทานอาหารดิบ เช่น ลาบ ก้อย ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก การแพร่กระจายของหอยทากยักษ์ (Achatina fulica) ซึ่งเป็นตัวกลางนำโรคนี้อยู่ในประเทศ แพร่กระจายไปได้เร็วมาก และพบได้ทั่วประเทศ ดังนั้นโรคนี้จะพบได้ทั่วประเทศเช่นกัน เพราะหอยเป็นอาหารที่ดีของหนู แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หอยทากยักษ์กลายเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ดี ทำให้หอยทากยักษ์ลดลงอย่างรวดเร็ว และวิธีการเตรียมหอยทากยักษ์ได้ผ่านกรรมวิธีใช้ความร้อนสูง พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อในหอยจะตายหมด ไม่แพร่กระจายโรคต่อไป

เพิ่มเพื่อน