หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
รองศาสตราจารย์ ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังศีรษะประกอบไปด้วยเซลผิวหนังปกติซึ่งจะมีการผลัดเปลี่ยนเซลผิวใหม่ทุกๆ28วันเช่นเดียวกับผิวหนังตามลำตัวทั่วร่างกาย เซลเก่าที่ตายแล้วจะถูกผลัดออกไป แต่ถ้าผิวหนังแห้ง และใช้ชีวิตประจำวันในห้องปรับอากาศที่เย็น และมีความชื้นต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหนังศีรษะได้รับเคมีรุนแรงเป็นประจำ เช่น น้ำยาดัดผม น้ำยาโกรกสีผม แชมพูแรงๆ สเปรย์ฉีดผม รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆบนเส้นผม และหนังศีรษะ หนังศีรษะจะถูกกระทบมากทำให้แห้ง และทำให้มีการเร่งผลัดเซลผิวในอัตราเร็วกว่าปกติ เซลตายแล้วที่ถูกผลัดออกจะสะสมเป็นกลุ่มก้อนหนาๆ สังเกตุได้เวลาหวีผมหรือเกา จะหลุดออกเป็นเกร็ดขาวๆซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "รังแค" นั่นเอง อาการคันศีรษะมักจะตามมาเนื่องจากการสะสมของรังแคเหล่านี้ ซึ่งพบเห็นง่ายตามปกเสื้อหรือคอเสื้อสีเข้มๆ การสะสมของรังแคยังมีผลไปอุดรูขุมขนของเส้นผม ทำให้น้ำมันจากต่อมไขมันที่รากผมไม่สามารถระบายออกมาได้ ยิ่งทำให้หนังศีรษะขาดน้ำมันหล่อลื่น และแห้งคันมากยิ่งขึ้นอีกด้วยผู้ที่มีปัญหารังแคเรื้อรังอาจทำให้หนังศีรษะอักเสบและมีเชื้อราเจริญเติบโตมากผิดปกติ ซึ่งในสภาวะปกติหนังศีรษะคนเราจะมีเชื้อราอาศัยอยู่ในปริมาณน้อยและไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ในสภาวะที่หนังศีรษะมีรังแคมาก เชื้อราจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดอาการอักเสบของหนังศีรษะ (Pityriasis capitis) ถ้าอาการรุนแรงขึ้น หนังศีรษะจะมีอาการแดงและมีรังแคเป็นเกร็ดใหญ่ขึ้นและเหลืองเป็นไข ซึ่งเป็นอาการของต่อมไขมันของหนังศีรษะอักเสบ พบมากและบ่อยในวัยรุ่นและอาจมีอาการอักเสบลามถึงเปลือกตาได้
วิธีแก้ไขปัญหาหนังศีรษะคันและแห้ง
ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย คณะเภสัชมหิดล