หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
รองศาสตราจารย์ .ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
รองศาสตราจารย์ .ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิตามิน คืออะไร?
วิตามินคือสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยมาก ในแต่ละวันเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างพลังงานของทุกเซลในร่างกาย จำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพที่ดี เราจำเป็นต้องได้รับวิตามินไม่ว่าจะจากอาหารที่รับประทาน หรือจากการได้รับอาหารเสริม วิตามินเป็นสิ่งที่ร่างกายเราไม่มีและไม่ได้สร้างขึ้นเอง มีวิตามินทั้งหมด 13 ชนิด ที่ร่างกายควรจะได้รับ วิตามินไม่ใช่อาหาร และไม่สามารถใช่ทดแทนอาหารได้ วิตามินไม่มีแคลอรี่ และไม่สามารถให้พลังงานโดยตรงกับร่างกาย แต่เราก็ยังจำเป็นต้องได้รับวิตามิน เพื่อไปทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน
วิตามินแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มตามคุณสมบัติการละลายในตัวทำละลาย
วิตามินสำหรับต้านอนุมูลอิสสระ
ขบวนการหรือปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นในร่างกายทุกขณะหรือตลอดเวลาไม่ว่าเราจะตื่นอยู่หรือกำลังนอนหลับคือ ปฏิกิริยาที่เรียกว่า 'ออกซิเดชั่น' เป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้น และก่อให้เกิดอนุมูลอิสสระสะสมภายในเซล และอัวยะวะในทุกส่วนของร่างกาย อนุมูลอิสสระเหล่านี้ทำลายเซลทุกชนิด และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเหี่ยวย่นของผิวหนัง และความเสื่อมของทุกเซลจนทำให้เซลตายได้ในที่สุด
สารต้านอนุมูลอิสสระ
คือสารที่สามารถป้องกันหรือยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ สารต้านอนุมูลอิสสระสามารถทำหน้าที่ปกป้องเซลจากการทำลายของอนุมูลอิสสระ อันอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกร่างกายด้วย เช่น จากรังสีดวงอาทิตย์ หรือฝุ่นละอองจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ร่างกายคนเราก็สามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสสระได้เอง เพื่อปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พบว่าเนื่องจากอนุมูลอิสสระในร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากสภาวะความเครียดและความกดดันของร่างกายในโลกปัจจุบัน ทำให้สารต้านอนุมูลอิสสระที่ผลิตขึ้นเองภายในร่างกายไม่เพียงพอในการปกป้องเซลทุกชนิดในร่างกายได้ ดังเห็นได้จากการเจ็บป่วยที่ไม่รู้สาเหตุมากมาย เราจึงจำเป็นต้องเพิ่มหรือเสริมให้ร่างกาย ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสสระ
วิตามินสำหรับต้านอนุมูลอิสสระที่ให้ผลโดดเด่น ได้แก่ วิตามินเอ ซี อี และแร่ซีเลเนี่ยม
ผิวสวยด้วยวิตามินได้อย่างไร?
วิตามินซี อี บี6 บี12 โฟลิคแอซิด และวิตามินเอ จัดเป็นวิตามินที่พบในอาหารทั่วไปและในมัลติวิตามินที่จำหน่ายในร้านขายยา และอาหารเสริม หน้าที่หลักของวิตามินเหล่านี้คือ การไปทำลายอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้น ป้องกันเซลผิวหนังไม่ให้ถูกทำลาย หรือเหี่ยวย่นก่อนวัย ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยชะลอความแก่ของร่างกายส่วนต่างๆได้ไม่เฉพาะแต่ผิวหนังเท่านั้น ทางการแพทย์เชื่อว่าสารต้านอนุมูลอิสสระที่ดีที่สุดควรจะได้จากผักสด และผลไม้สดเท่านั้น อย่างไรก็ตามแหล่งของอาหารเสริมที่สามารถให้สารต้านอนุมูลอิสสระ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่สองที่สามามารถทดแทนได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่รับประทานผักสด และผลไม้สดน้อยเกินไป การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสสระ ที่สำคัญ เช่น วิตามินซี เอ บี6 บี12 และสำคัญที่สุดที่ต้องไม่ขาดคือวิตามินอี
นักวิทยาศาสตร์พบว่าวิตามินอีมีบทบาทสำคัญที่สุดในการช่วยชะลออายุของผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยป้องกันการเกิดโรคทั่วไปหลายๆชนิด วิตามินอี สามารถใช้ในรูปแบบของครีมทาผิว และในรูปแบบของแคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัมสำหรับรับประทาน เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น มีความยืดหยุ่นและปรับสภาพผิวหนังให้เนียมนุ่มได้อย่างรวดเร็ว มีประวัติการใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ส่วนวิตามินซี แม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย เช่น ให้ความชุ่มชื้นผิวหนัง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง ช่วยชะลอและยืดอายุผิวหนัง แต่เนื่องจากคุณสมบัติของวิตามินซีที่ละลายในน้ำได้ดีมาก ทำให้คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสสระสลายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อละลายในน้ำ หรือเมื่อถูกความชื้น ทำให้วิตามินซีที่ผสมผสานในครีมบำรุงผิวทั้งหลายไม่เกิดประโยชน์ต่อผิวหนังเลย นอกจากนั้นยังพบว่าวิตามินซี หรือวิตามินที่ละลายได้ดีในน้ำ ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ ดังนั้นประโยชน์จากวิตามินซีในครีมบำรุงผิวจึงไม่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้พยายามคิดค้น และปรับปรุงโครงสร้างของวิตามินซีให้มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยลงแต่ละลายได้ดีในน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความคงตัวและการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังของวิตามินซีในเนื้อครีมบำรุงผิว
เอกสารอ้างอิง
http://www.vitaminsdiary.com/
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย คณะเภสัชมหิดล