ความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ (AUD)

ความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ (AUD) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีความบกพร่องในการหยุด หรือควบคุมการดื่มสุรา แม้ว่าการดื่มสุราจะมีผลกระทบทางสังคม อาชีพหรือสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งตรงกับความหมายดื่มที่เรียกว่าการติดสุรา หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งเป็นความผิดปกติของสมอง การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในสมองที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้บุคคลเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคพิษสุราเรื้อรัง ข่าวดีก็คือไม่ว่าปัญหาจะดูรุนแรงเพียงใดการรักษาตามหลักฐานด้วยพฤติกรรมบำบัด การได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสนับสนุนซึ่งกันและกัน และหรือยาสามารถช่วยให้ผู้ที่มี AUD บรรลุและรักษาการฟื้นตัวได้

ความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์

อาการที่สำคัญ

อาการที่สำคัญที่พบบ่อยได้แก่

  1. การดื่มสุราจะดื่มมากขึ้น หรือนานขึ้น
  2. มีความต้องการดื่มสุรา และไม่สามารถควบคุมหรือหยุดดื่มสุราได้
  3. ใช้เวลากับการหาสุรา การดื่มสุร และใช้เวลาในการหายเมา
  4. มีความต้องการดื่มสุราเป็นอย่างมาก
  5. ทำให้ต้องหยุดเรียน หรือหยุดงานเนื่องจากการดื่มสุรา
  6. ยังคงดื่มสุรแม้ว่าจะมีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือปัญหากับสังคม
  7. กิจกรรมทางสังคม อาชีพ และกิจกรรมอื่นๆที่สำคัญลดลงเนื่องจากสุรา
  8. ดื่มสุราในสภาวะที่เสี่ยงอันตราย เช่นขณะทำงาน หรือขับรถยนต์ หรือว่ายน้ำ
  9. ยังคงดื่มสุราแม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
  10. ต้องดื่มสุราปริมาณเพิ่มขึ้น
  11. เมื่อหยุดดื่มสุราจะมีอาการของการขาดสุรา

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะซักถามประวัติการดื่มสุรา ปริมาณที่ดื่ม ระยะเวลาที่ดื่ม แต่ละครั้งดื่มนานแค่ไหน การดื่มมีผลต่อการทำงานประจำวัน มีผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือครอบครัวหรือไม่ เคยมีความคิดที่จะเลิกสุรากี่ครั้ง เลิกได้ไหม เลิกได้กี่วัน ทำไมถึงเลิกไม่ได้
  • การตรวจร่างกาย แพทย์จะซักประวัตการเจ็บป่วย โรคประจำตัว อาการของโรคตับ และจะตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการดื่มสุรา
  • การเจาะเลือดตรวจทางเคมี และการตรวจทางรังสี เพื่อตรวจการทำงานของตับ
  • ประเมินสภาพจิตใจ อาอรมณ์ และความคิดและพฤติกรรม

ความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ (AUD) จะอาศัยอาการ 2ใน11ข้อ

ความรุนแรงของโรคความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล

แบ่งความรุนแรงออกเป็นสามระดับ

  • ผู้ที่มีอาการน้อย จะมีอาการน้อยกว่า3/11ข้อ
  • ผู้ที่มีอาการปานกลาง จะมีอาการ4-5 ข้อ
  • ถ้ามีอาการมากกว่า 6 ข้อจะถือว่ารุนแรง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่

  • การดื่มสุรมากอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สมองมีการตอบสนองต่ออารมณื การตัดสิตใจ และการควบคุมตัวเองผิดไป
  • ดื่มสุราตั้งแต่อายุน้อย โดยเฉพาะดื่มแต่ละครั้ง4-5หน่วยสุราจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้สูง
  • ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีผู้ใหญ่ในบ้านติดสุราจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าครอบครัวปกติ2-6เท่าเชื่อว่าเกิดจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอารมณ์ ทางเพศ ทางร่างกาย ตั้งแต่วัยเด็กจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้
  • ผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่นวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือโรคมางจิตเพท
  • ปัจจัยทางครอบครัว สังคม ผู้ที่มีพ่อแม่ หรือคนที่เป็นที่รักเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดการเรียนแบบ
  • วัฒนธรรมและสังคม ที่นิยมการดื่มสุรา

การรักษา

การรักษามีด้วยกันสามวิธี

  1. การใช้ยา

มียาสามชนิดที่ใช้รักษาอาการอยากสุราได้แก่ยา

  • Naltrexone (Revia, Depade, Vivitrol) ลดอาการอยากสุรา
  • Acamprosate (Campral)เพื่อลดอาการเนื่องจากการหยุดสุรา
  • Disulfiram (Antabuse):ยานี้มีผลข้างเคียงคือคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ตัวร้อนเมื่อไปดื่มสุรา
  1. การปรับความคิดและพฤติกรรม

การที่จะให้หยุดสุราได้จะต้องการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับปัญหาของตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งสุรา

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม(Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยค้นหาและหลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้ต้องดื่มสุรา และสามารถจัดการกับปัญหานั้นได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
    1. ระบุพฤติกรรมที่สำคัญที่ทำให้ดื่มสุรา
    2. กำหนดว่าพฤติกรรมที่ว่าเกินไปหรือน้อยไป
    3. ประเมินพฤติกรรมที่ว่า ว่าเกิดบ่อยแค่ไหน นานเท่าไร และรุนแรงแค่ไหน
    4. ถ้าพฤติกรรมเกินไป พยายามลดความถี่ ช่วงเวลาที่เกิด และความรุนแรงของพฤติกรรม และถ้าน้อยเกินไป พยายามเพิ่มด้านต่าง ๆ เหล่านั้น
  • การสัมภาษเพื่อสร้างแรงจูงใจ(Motivational enhancement therapy) วิธีการจะต้องค้นเป้าหมายสำคัญของผู้ป่วยซึ่งจะเกี่ยวข้องกับครอบครัว การงาน ความก้าวหน้า หรือชีวิตความเป็นอยู่ และให้ผู้ป่วยตอบคำถามถ้ายังมีพฤติกรรมในการดื่มสุราแบบนี้จะบรรลุเป้าหมายได้หรือเปล่า พร้อมทั้งเสนอทางเลือกให้กับผู้ป่วย
  • ความช่วยเหลอจากครอบครัว เป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อลดความขัดแย้ง การให้กำลังใจ การมองเชิงบวก ที่สำคัญคือไม่ส่งต่อพฤติกรรมการดื่มสุราสู่ลูกหลาน
  1. การมีกลุ่มจากบ้าน ที่ทำงานหรือชุมชนช่วย

การมีผู้ที่ประสบผลสำเร็จการเลิกดื่มสุรามาแนะนำให้กำลังใจกับผู้ที่คิดจะเลิกดื่มจะมีส่วนทำให้ผู้ที่อยากจะเลิกดื่มมีกำลังใจ และได้เรียนรู้ประสบการณ์การแก้ปัญหาชีวิตและครอยครัว

ปัจจัยที่กระตุ้นให้กลับไปดื่มสุรา

สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่คิดจะอดสุราคือ ท่านจะเรียนรู้การจัการกับความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่ทำให้กลับไปดื่มสุรา

  • ความเครียด
  • ความวิตกกังวล
  • ซึมเศร้า
  • สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้อยากดื่มสุรา
  • ปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว
  • ปัญหาเรื่องงาน และการเงิน

โรคแทรกซ้อน

ผลกระทบด้านความปลอดภัย

  • อุบัติเหตุ เช่นทางรถยนต์ จมน้ำ รถชน
  • ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และเพื่อนที่ทำงาน
  • มีปัญหาเรื่องการทำงาน
  • มีปัญหาใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา
  • มีปัญหาเรื่องยาเสพติด
  • มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน

ผลกระทบต่อสุขภาพ

การอดสุรา โรคพิษสุราเรื้อรัง คุณเมาหรือไมอาการขาดสุรา สุราช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ผลเสียต่อสุขภาพ การอดสุรา