ความดันโลหิตสูง อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่มีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลิเมตร์ปรอท ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต การรักษาความดันโลหิตสูงจะลดอัตราการเสียชีวิต
ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

เนื้อหาสำคัญ
ความดันโลหิตคืออะไร | เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง | อาการของโรคความดันโลหิตสูง | สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง | การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง | การรักษาโรคความดันโลหิตสูง | โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต | การป้องกันความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ
- เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือดเราเรียกความดัน systole หรือความดันตัวบน ค่าปกติ 120 มิลิเมตรปรอท
- เมื่อหัวใจคลายตัวแรงดันที่กระทำกับผนังหลอดเลือดเราเรียกความดัน diastole ค่าปกติ 80 มิลิเมตรปรอท
- อัตราการเต้นของหัวใจปกติจะเต้น 60-80ครั้ง
ค่าปกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 130/80 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง
ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบ ที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดความดันโลหิต นิยามเรื่องความดันโลหิต
เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง
เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 130/80 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มี
ตารางการแปรผล
Blood Pressure Category | ความดันตัวบน Systolic Blood Pressure |
ความดันตัวล่าง Diastolic Blood Pressure |
|
---|---|---|---|
ปกติ | <120 mmHg | และ | <80 mmHg |
ค่อนข้างสูง | 120-129 mmHg | และ | <80 mmHg |
ความดันโลหิตสูง | |||
ระยะที่1 | 130-139 mmHg | หรือ | 80-89 mmHg |
ระยะที่2 | ≥140 mmHg | หรือ | ≥90 mmHg |
ความดันสูงวิกฤต | ≥180 mmHg | ≥120 mmHg |
ชนิดของความดันโลหิตสูง
- ความดันโลหิตสูงหมายถึงระดับความดันตัวบน systolic blood pressure >130 mmHg และความดันตัวล่าง diastolic blood pressure>80 mmHg
- Isolated systolic hypertension (ISH) หมายถึง ระดับความดันตัวบน systolic blood pressure >140 mmHg และความดันตัวล่าง diastolic blood pressure<90 mmHg
- Isolated office hypertension หรือ White coat hypertension หมายถึงระดับความดันโลหิตวัดที่คลินิค หรือโรงพยาบาลมากกว่า 140/90 mmHg แต่เมื่อวัดที่บ้านความดันโลหิตจะต่ำกว่า 135/85 mmHg
- Masked hypertension (MH) หมายถึงความดันโลหิตเมื่อวันดที่คลินิคหรือโรงพยาบาลน้อยกว่า 135/85 mmHg แต่เมื่อวัดเองที่บ้านมากกว่า 140/90 mmHg
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว อาการของผู้ป่วยมาจาก
1ความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูงอาจจะทำให้เกิดอาการ
- ปวดศีรษะ
- มีนงง
- ตามัว
- เลือดกำเดาไหล
- ใจสั่นหัวใจเต้าแรง
2มาจากโรคแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง
- เหนื่อยง่ายเนื่องจากหัวใจวาย
- เจ็บหน้าอกเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ
- อ่อนเพลียเนื่องจากโรคไคเรื้อรัง
- อ่อนแรงแขนขาข้างหนึ่งเนื่องจากเส้นเลือดสมองตีบ
สำหรับผู้ที่ความดันปกติให้วัดความดันโลหิตทุก 2 ปี
3อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- เจ็บหน้าอกรุนแรงเหมือนมีของหนักทับหน้าอก
- เจ็บหน้าอกหรือท้องเฉียบพลันชนิดรุนแรง
- เหนื่อยง่ายผิดปกติ
- ใจสั่น ชีพขจรเต้นไม่เป็นจังหวะ
- ปวดศีรษะเฉียบพลันรุนแรง
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- ความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุเรียกว่า Primary hypertension
- ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ความดันโลหิตสูงเรียก Secondary hypertension
- ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 95 เชื่อว่ามีสาเหตุหลายชนิดมารวมกันทำให้ความดันสูง
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
แม้ว่าท่านยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จะมีโอกาศเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อท่านลดปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ความดันของท่านก็จะลดลง
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
- ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม
- ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นความดัน
การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง
สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง
การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง จะได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง หากใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม หรือการวัดผิดวิธีก็จะได้ค่าความดันผิด การวัดความดันโลหิตจะต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง การเตรียมตัวที่ถูกต้อง การวัดที่ถูกต้อง วิธีวัดความดันโลหิตมีได้หลายวิธี อ่านเรื่อง การวัดความดันโลหิตที่นี่
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ทำไมต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูง มักจะไม่มีอาการ หายท่านไม่ยอมรับประทานยา หลายท่านหยุดยาเมื่อรับประทานยาได้สักระยะหนึ่ง หลายท่านกลัวว่าหากรับประทานยามากๆ จะทำให้เกิดโรคไต แต่ผู้ป่วยและญาติคงต้องทราบว่าหากไม่รักษา จะเกิดอะไรได้บ้าง ผลดีของการรักษา
- ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนทางสมอง
- ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด
- ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนทางไต
- ลดอาการของโรคความดันโลหิต
เมื่อไรจึงจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง
การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิต
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด
เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
- ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
- งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
- รับประทานอาหารไขมันต่ำ
- งดการสูบบุหรี่
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
- ไปตามแพทย์นัด
- ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
- รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
- แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต
ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต
การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนั้นยารักษาความดันบางชนิดยังลดการเกิดโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ซึ่งหากไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอก็จะเกิดเสียหายต่ออวัยวะนั้น และหากกิดลิ่มเลือดจากผนังหลอดเลือด ก็จะเกิดโรคที่อวัยวะนั้นแบบเฉียบพลัน โรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตา
สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้
การป้องกันความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถนำมาใช้กับผู้ที่ร่างกายปรกติ หรือกลุ่มที่ความดันเริ่มจะสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแล้ว การป้องกันความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 20 มม.ปรอท
- ควบคุมน้ำหนักมิให้ดัชนีมวลกายเกิน23
- ออกกำลังกายวันละ30นาที่สัปดาห์ละ5วัน
- ทานอาหารที่มีเกลือต่ำ
- งดบุหรี่
- ดื่มสุราให้น้อยลง
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
- รับประทานอาหาร Dash
ความดันโลหิตและสุภาพสตรี
โรคความดันโลหิตสูง และสตรีมีเรื่องพิจารณามากว่าผู้ชายกล่าวคือ เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อความดัน การตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความดันโลหิตสูง วัยทอง รวมทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของสตรี สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง
ความดันโลหิตต่ำ
ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
- ผู้ที่นอนป่วยนานไป
- ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด
ความดันโลหิตสูงในเด็ก
เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูง การค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรก จะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน
คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
นิยามความดันโลหิตสูง |
เรื่องความดันที่น่าสนใจ
- ความดันโลหิตสูงตามแนวทางยุโรป
- ความดันโลหิตคืออะไรและถ้าสูงจะทำให้เกิดปัญหาอะไร
- ใครมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตวัดได้อย่างไร
- ความดันที่ดีต้องเท่าไร
- การตรวจพิเศษเมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
- อวัยวะที่เสียหายจากโรคความดันโดยที่ไม่เกิดอาการ
- เครื่องมือวัดความดันโลหิต
- โรคความดันโลหิตสูงกับผู้หญิง
- การใช้ยาลดความดันโลหิต
- เป้าหมายของระดับความดันโลหิต
- การเลือกยาที่ใช้ลดความดันโลหิต
- การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีโรคแทรกซ้อน
- โรคความดันที่ดื้อต่อการรักษา
- การใช้ยาชนิดเคียวรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยา
- การรักษาความดันโลหิตสูง
- รับประทานเกลือน้อยจะลดการเกิดโรคหัวใจ
- ถั่วเหลืองช่วยลดความดันโลหิต 18/1/2008 อ่านที่นี่
- ดื่มสุราปานกลางลออัตราการเสียชีวิต 19/1/2008 อ่านที่นี่
- เกลือโพแทสเซี่ยม
- เกลือและสุขภาพ
- คำถามที่พบบ่อย
- การรักษาโรคโดยไม่ต้องรับประทานยา
- รับประทานผลไม้สีเข้มป้องกันโรคความดันโลหิคตสูง 22/01/2011
- การวัดความดันโลหิตแขนสองข้าง 15/10/2559
- Whelton PK, Carey RM, Aronow WS, Casey DE, Collins KJ, Dennison C, et al. 2017 ACC/AHA/AAPA/ABC/ACPM/AGS/APhA/ASH/ASPC/NMA/PCNA Guideline for the prevention, detection, evaluation, and management of high blood pressure in adultsexternal icon. Hypertension. 2018;71(19):e13–115.