jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

ฉลากโภชนาการให้กับผู้บริโภค

 

เนื้อหาที่สำคัญ

ฉลากโภชนาการคืออะไร

การแสดงฉลากโภชนาการ คือการแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆบนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหาร โดยอยู่ภายในกรอบที่มีรูปแบบเดียวกันซึ่งเรียกว่า กรอบข้อมูลโภชนาการ นอกจากนั้นยังรวมถึงการใช้ข้อความกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่นโปรตีนสูง เสริมวิตามินซีเป็นต้น

ดังนั้นจึงกล่าวง่ายๆได้ว่า "ฉลากโภชนาการ" คือฉลากอาหารปรกติทั่วไป ซึ่งต้องมีข้อมูลการแสดงฉลากโดยทั่วไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิต วันผลิต น้ำหนักสุทธิ ฯลฯ อยู่แล้วและฉลากนี้มีการแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้น ในรูปแบบของกรอบข้อมูลซึ่งระบุ

ตามรูปแบบเงื่อนไขที่กำหนด โดยอาจมีข้อความกล่าวอ้าง เช่นแคลเซี่ยมสูง เสริมไอโอดิน ด้วยหรือไม่ก็ได้

ทำไมจึงต้องมีการแสดงฉลากโภชนาการ

ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการรับประทานมีผลต่อสุขภาพ โรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนการมีทั้ง

ดังนั้นการเลือกรับประทานให้ถูกต้องกับภาวะโภชนาการของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพ

ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ

ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภค

การกินอาหารให้ถูกต้องมีความสำคัญโดยตรงในการช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และลดโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้หลายอย่าง ในการกินอาหารทั่วๆไป เราจึงควรเลือกกินอาหารให้ถูกต้องตามแนวทาง

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานจัดทำข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดังต่อไปนี้ คือ

อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ได้บริโภคอาหารที่ซื้อ หรือหุงหาเองซึ่งเป็นอาหารธรรมดา เช่น ข้าว แกง ผัดผักกับหมู ฯลฯอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งเราก็ได้ซื้ออาหารที่เรียกว่า อาหารแปรรูป มาบริโภคด้วยอาหารเหล่านี้แปรรูปไปแล้ว และเราไม่สามารถมองเห็นว่า นี่คือเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือไม่ หรือมีผักผสมอยู่แค่ไหน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจมีรูปร่าง หน้าตาที่แตกต่างไปแล้วอย่างสิ้นเชิง กรณีเช่นนี้ เราจะเลือกซื้อ หรือเลือกกินอาหารได้ โดยดูจาก ข้อมูลปริมาณสารอาหารบนฉลาก เช่น ปริมาณไขมัน ปริมาณโซเดียม ปริมาณวิตามิน หรือปริมาณน้ำตาล

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า หากจะกินอาหารในรูปแบบปกติ เช่น ข้าวเป็นจาน ก๋วยเตี๋ยว ผัด แกง ก็ให้ปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ทั้ง 10 ประการ แต่หากจะเลือกซื้ออาหารแปรรูป ก็ให้ดูจากปริมาณสารอาหารที่แสดงในกรอบข้อมูลโภชนาการนั่นเอง

ฉลากโภชนาการในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดให้มีการแสดง คุณค่าทางโภชนาการของอาหารบนฉลาก เพื่อให้ข้อมูลในการเลือกอย่างเหมาะสมแก่ผู้บริโภค สำหรับในระดับนานาชาตินั้น ในการประชุมสมัชชาระหว่างประเทศว่าด้วยโภชนาการ ( International Conference on Nutrition –ICN ) เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันจัดทำปฏิญญาโลกว่าด้วยโภชนาการและแผนปฏิบัติการด้านโภชนาการโลก

( World Declaration and plan of Action for Nutrition ) ซึ่งได้มีการกำหนดให้จัดให้มีการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหาร( Nutrition Labeling) เป็นกลวิธีหนึ่งของแผน ในด้านของโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศของ FAO/WHO (Codex Alimentarius) หรือเรียกย่อๆว่า Codex ก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับประเทศต่างๆเพื่อใช้ในการพิจารณากำหนดข้อบังคับการแสดงฉลากโภชนาการ

หลักเกณฑ์การแสดงฉลากโภชนาการของ Codex

.ให้ประเทศต่างๆกำหนดให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และภาวะทางโภชนาการของแต่ละประเทศ และ

อาหารใดที่มีการกล่าวอ้างคุณค่า คุณประโยชน์เช่น โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ก็จะต้องแสดงฉลากโภชนาการประกอบข้อกล่าวอ้างด้วย และ สารที่อนุญาติให้ระบุจะต้องเป็นสารอาหารที่มีการกำหนดค่าความต้องการต่อวันไว้แล้วเท่านั้น คือ อนุญาตเฉพาะสารอาหารที่คุณค่าประโยชน์และความจำเป็นที่จะต้องได้รับในปริมาณที่กำหนดในแต่ละวันที่ได้รับการยอมรับแล้ว ในหมู่นักโภชนาการทั่วโลก โดยประเทศนั้นๆ ได้นำมาปรับกำหนดเป็นเกณฑ์เป็นแนวในการบริโภคที่เหมาะสมสำหรับประชาชนของตนแล้ว

การดำเนินการของ อย.ที่ผ่านมา

ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจต่ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่อาหารสำเร็จรูปที่มีแพร่หลายอยู่ในท้องตลาดนั้น ผู้ประกอบการ

ยังให้ความสำคัญในด้านคุณค่าทางโภชนาการของตัวอาหารน้อยมาก ในขณะเดียวกันก็มีการโฆษณาโดยใช้โภชนาการเป็นจุดขาย ทั้งที่หลายๆ ผลิตภัณฑ์อาจไม่มีคุณค่าตามที่อ้างจริง นอกจากนั้น ยังมีการกล่าวอ้างทางโภชนาการกันอยู่ทั่วไป โดยไม่มีเกณฑ์ระดับ เช่น แคลเซียมสูง ปราศจากคอเลสเตอรอล อันทำให้ผู้บริโภคสับสน และยังเกิดความไม่เป็นธรรมในหมู่ผู้ประกอบการด้วยกันที่ไม่ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำมาตรฐานการแสดงฉลากโภชนาการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการการพิจารณาการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหารขึ้นเป็นการเฉพาะ และการจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณาสุข( ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 เรื่องฉลากโภชนาการ ได้ยึดแนวทางของ Codex เป็นหลัก จึงจัดได้ว่าเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สำหรับสารอาหารที่ระบุให้ต้องแสดงบนฉลากนั้น ก็เป็นสารอาหารที่ผ่านการพิจารณาแล้วว่ามีความสำคัญต่อภาวะโภชนาการที่ดีของคนไทยปัจจุบัน

หัวใจของการแสดงฉลากโภชนาการ

ในการออกข้อกำหนดการแสดงฉลากโภชนาการนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้คำนึงถึงแนวทางอันถือว่าเป็น "หัวใจ" ของการแสดงฉลากโภชนาการอันได้แก่

1. การกล่าวอ้างต้องเป็นความจริง เช่น บอกว่า มีวิตามินเอ ต้องมีจริง

2. ข้อมูลนั้นให้ความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค แต่ถ้ามีจริงแต่มีน้อยเกินไปก็จะกล่าวว่า"มี"

ไม่ได้ เพราะน้อยเกินกว่าที่จะเป็นประโยชน์ทางโภชนาการต่อร่างกาย ดังนั้น ต้องมีอย่างน้อย 10% ของ

Thai RDI" จึงจะกล่าวว่า " มี" ได้ สำหรับ "สูง" นั้น คือต้องถึง 20 % ขึ้นไป

3. ไม่ทำให้เข้าใจผิด การให้ข้อมูลทั่วไปบนฉลากว่า "แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน" นั้นผู้บริโภคเห็นแล้วก็จะเข้าใจว่าอาหารที่ระบุข้อความนี้มีแคลเซียมอยู่มาก ดังนั้น จะระบุข้อความให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของแคลเซียมเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่ออาหารนั้น "มี" แคลเซียมอย่างน้อย 10% ของ Thai RDI เท่านั้น

  1. การกล่าวอ้างจะต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่ยุติธรรม
  2. หากน้ำมันพืชตราหนึ่งระบุว่า "ปราศจากคอเลสเตอรอล" ผู้บริโภคจะเข้าใจว่าน้ำมันพืชตราอื่นที่ไม่ได้ระบุเช่นนั้น มีคอเลสเตอรอล ทั้งที่จริงแล้วน้ำมันพืชใดๆก็ไม่มีคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ระบุว่า " ปราศจาก" หรือ " ต่ำ" หากอาหารเป็นอย่างนั้นอยู่แล้วเหมือนกันหมดไม่ว่าตราใดเนื่องจากผู้ไม่ระบุจะเสียเปรียบอย่างไม่ยุติธรรม

  3. การกล่าวอ้างของอาหารต้องมีข้อมูลทางโภชนาการของอาหารนั้นประกอบอยู่ด้วย

หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และกล่าวว่า "มีวิตามินเอ" บนฉลากได้ ก็ต้องแสดงให้รู้ด้วยว่ามีคอเลสเตอรอลเท่าไร ระดับไขมันเป็นอย่างไร ฯลฯ โดยแสดงในรูปกรอบข้อมูลโภชนาการตามแบบที่กำหนดประกอบการกล่าวอ้างนั้น

บัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ( Thai Recommended Daily Intakes –Thai RDI)

อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการหรือไม่?

คำตอบคือ "ไม่"

การแสดงฉลากโภชนาการตาม ประกาศกระทรวงสาธาราณสุข( ฉบับที่ 182 ) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ เป็นการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับให้อาหารที่มีการกล่าว

อ้างต้องแสดงฉลากโภชนาการโดยบังคับ ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางที่ Codex กำหนด

ดังนั้น สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ถูกบังคับให้แสดงฉลากโภชนาการโดยสมัครใจได้ แต่ต้องเป็นไปตามรูปแบบ และเงื่อนไขที่กำหนดด้วย

อาหารใดเข้าข่ายว่ามีการกล่าวอ้าง?

ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการตาม ประกาศกระรวงสาธารณสุข ( ฉบับที่ 182 ) พ.ศ. 2541

เรื่องฉลากโภชนาการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2541 ได้แก่ อาหารที่จัดว่ามีการกล่าวอ้างต่อไปนี้

1 . อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น แคลเซียมสูง เสริมวิตามิน หรือระบุคุณประโยชน์ เช่น

แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ทั้งนี้ รวมถึงอาหารที่มีการแสดงข้อมูลชนิดและปริมาณสารอาหารด้วย เช่น อาหารที่มีการแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการ

2. อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นคุณค่าทางอาหาร/ โภชนาการ เช่น บำรุงร่างกาย

เพื่อสุขภาพ สดใสแข็งแรง อนึ่ง การระบุคุณค่าในลักษณะของป้องกันหรือรักษาโรค เช่น ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง จะไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงบนฉลากอาหารอยู่แล้ว

3. อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย เช่น สำหรับผู้บริหาร สำหรับเด็ก หรือ สำหรับกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยทั่วไปในลักษณะเดียวกัน โดยที่มิใช่กลุ่มผู้ป่วยและไม่มีกระบวนการตรวจสอบทราบถึง ความเหมาะสมเฉพาะที่อ้าง เนื่องจากอาจไม่มีการกำหนดค่าความต้องการทางโภชนาการเฉพาะไว้แน่ชัด

หรือสาเหตุอื่นๆ การระบุกลุ่มนี้ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการพิเศษเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องถูกบังคับให้แสดงข้อมูลโภชนาการให้ผู้บริโภคมีโอกาสตัดสินใจเลือกความเหมาะสมสำหรับกลุ่มนั้นเองจากกรอบข้อมูลโภชนาการ

นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังอาจประกาศกำหนดให้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแพร่หลายต้องแสดงฉลากโภชนาการก็ได้

ผลบังคับใช้

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ( ฉบับที่ 182 ) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ ได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 115 ตอนที่ 47 ง. ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 กำหนดเวลาบังคับใช้ของประกาศฯฉบับนี้ ดังนี้ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 8 ธันวาคม 2541

อาหารที่ยังไม่เคยขออนุญาต

- อาหารใหม่ที่ต้องยื่นขออนุญาตอยู่แล้ว เช่น อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน อาหารกำหนดฉลากต่างๆ ที่เข้าข่ายตามประกาศฯ ก็จะต้องแสดงฉลากโภชนาการตามเกณฑ์ในประกาศนี้ด้วย

- อาหารใหม่ที่เดิมไม่ต้องยื่นขออนุญาตใช้ฉลาก เช่น อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที หรืออาหารทั่วไป หากเข้าข่ายตามประกาศฯ ก็จะต้องแสดงฉลากโภชนาการตามเกณฑ์ในประกาศนี้ และต้องยื่นขออนุญาตใช้ฉลากตามแบบ ฉ .2 ด้วย

อาหารที่ได้รับอนุญาตไปแล้วก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2541 ที่ เข้าข่ายตามประกาศฯ ก็จะต้องแสดงฉลากโภชนาการตามเกณฑ์ในประกาศนี้ โดยต้องยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงฉลากอาหารภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ( ไม่เกิน 5 มิถุนายน 2542 ) ดังนี้

ข้อมูลโภชนาการที่แสดงบนฉลาก แบ่งเป็น

นอกจากนั้น ยังบังคับเพิ่มเติมในกรณีต่อไปนี้ด้วยคือ
  1. ข้อมูลที่ไม่บังคับ (นอกจากที่กำหนดในข้อมูลบังคับ ) ก็สามารถใส่ในฉลากได้ เช่น วิตามิน เกลือแร่ แต่ต้องระบุต่อท้ายจากเหล็ก และเรียงจากมากไปหาน้อยด้วย

สำหรับรูปแบบมาตรฐานของกรอบข้อมูลโภชนาการนั้น ใช้ แบบเต็มเป็นหลัก โดยอาหารที่มีสารอาหารไม่กี่อย่าง ( ตามเกณฑ์ ) จะได้รับอนุญาตให้เลือกแสดงแบบย่อก็ได้ สารอาหารที่บังคับ มีดังนี้

สารอาหารบังคับ สารอาหารบังคับ

ในกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็ม

มี 15 ตัว ได้แก

สารอาหารบังคับ สารอาหารบังคับ

ในกรอบข้อมูลโภชนาการแบบย่อ

มี 6 ตัว ได้แก่

พลังงานทั้งหมด พลังงานจากไขมัน

ไขมันทั้งหมด

         ไขมันอิ่มตัว 

คอเลสเตอรอล 

โปรตีน

คาร์โบไฮเดรดทั้งหมด

          ใยอาหาร 

          น้ำตาล

โซเดียม

วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 

แคลเซียม เหล็ก 

พลังงานทั้งหมด

ไขมันทั้งหมด

-

-

โปรตีน

คาร์โบไฮเดรดทั้งหมด

-

น้ำตาล

โซเดียม

-

-

โซเดียม โซเดียม

กรอบข้อมูลโภชนาการแบบย่อให้เลือกใช้ได้หากอาหารนั้นมีสารอาหารบังคับตามแบบเต็ม จำนวน 8รายการขึ้นไปจาก 15รายการอยู่ในปริมาณน้อยมาก

การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็ม

ข้อมูลโภชนาการ

ส่วนที่ 1 หนึ่งหน่วยบริโภค………………………….(……..)

จำนวนหน่วยบริโภคต่อ …………… : ……….

ส่วนที่ 2 คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

ช่วงที่ 1 พลังงานทั้งหมด ……………กิโลแคลอรี ( พลังงานจากไขมัน………กิโลแคลอรี)

ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

ไขมันทั้งหมด……………………..ก …………..%

ไขมันอิ่มตัว …………………...ก ……………%

คอเลสเตอรอล……………………มก ……………%

โปรตีน ………………………ก

ช่วงที่ 2 คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด ………………..ก ……………%

ใยอาหาร ……………………ก. ……………%

น้ำตาล……………………….ก. ……………%

โซเดียม …………………….มก ……………%

ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

วิตามินเอ ………………..% วิตามินบี 1 ………..%

วิตามินบี 2………………….% แคลเซียม…………….%

ช่วงที่3 เหล็ก ……………… %

ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

( Thai RDI ) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี

ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่

ควรได้รับสารอาหารต่างๆดังนี้

ส่วนที่3. คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มก.

คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 300 ก.

ใยอาหาร 25 ก.

โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มก.

พลังงาน ( กิโลแคลอรี) ต่อกรัม : ไขมัน = 9 : โปรตีน = 4 : คาร์โบไฮเดรต = 4

การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบย่อ

ข้อมูลโภชนาการ

หนึ่งหน่วยบริโภค : …………………………( …….)

จำนวนหน่วยบริโภคต่อ ………………… : ………

คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

พลังงานทั้งหมด ………………. กิโลแคลอรี

ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

ไขมันทั้งหมด …………………..ก. ……………. %

โปรตีน …………………ก.

คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด ………………ก. ……………. %

น้ำตาล ……………..ก.

โซเดียม ………………มก. …………….%

ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

( Thai RDI ) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000. กิโลแคลอรี่

การอ่านฉลากโภชนาการ

หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง" กินครั้งละ " นั่นเอง เป็นปริมาณที่ผู้ผลิต แนะนำให้ผู้บริโภคกิน ซึ่งเมื่อกินในปริมาณเท่านี้แล้ว ก็จะได้รับสารอาหารตามที่ระบุอยู่ในช่วงต่อไปของกรอบข้อมูลโภชนาการ

หนึ่งหน่วยบริโภค จะต้องแสดงเป็น 2 ส่วนอยู่ด้วยกัน ส่วนแรกคือบอกปริมาณที่เห็นได้ง่าย เช่น กระป๋อง ชิ้น ถ้วย แก้ว เป็นต้น เสร็จแล้วกำกับด้วยน้ำหนัก หรือปริมาตร เป็นระบบเมตริก ตัวอย่าง เช่น" 1 กระป๋อง ( 325 มิลลิลิตร ) " เครื่องดื่มอัดลม

" 4 ลูก ( 140 กรัม รวมน้ำเชื่อม ) " ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น บรรจุกระป๋อง

จำไว้ว่า ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคนี้ ไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป

. ถ้ากินหมดในครั้งเดียว ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค คือ น้ำหนัก หรือ ปริมาตรสุทธิของอาหารนั้น

. ถ้าต้องแบ่งกิน ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคต้องใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของการกินอาหารประเภทนั้น ค่าเฉลี่ยของการกินอาหารประเภทนั้น ค่าเฉลี่ยนี้ เรียกว่า" หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง ( Reference Amount )"

ผู้ผลิตจะเป็นผู้คำนวณตามกฏที่กำหนดในประกาศฯ

ดังนั้น เราอาจเห็นอาหารยี่ห้อเดียวกัน แสดงปริมาณการ" กินครั้งละ" ต่างกันสำหรับแต่ละขนาดบรรจุก็ได้ ดังนี้

นมพร้อมดื่มขนาดบรรจุกล่องละ 250 มิลลิลิตร

หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กล่อง ( 250 มิลลิลิตร ) …………………250

จำนวนหน่วยบริโภคต่อกล่อง : 1

นมพร้อมดื่มขนาดบรรจุขวดละ 1 ลิตร ( 1,000 มิลลิลิตร )

หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 แก้ว ( 200 มิลลิลิตร ) ……………………..200

จำนวนหน่วยบริโภคต่อขวด : 5

เพราะฉะนั้น สารอาหารที่ได้จากการกินแต่ละครั้งก็จะไม่เท่ากันด้วย

จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ หมายถึง ห่อนี้ ขวดนี้กล่องนี้ กินได้กี่ครั้ง นั่นเอง ตามตัวอย่างนมพร้อมดื่มข้างบน หากให้กินหนึ่งครั้งหมดกล่องเลยคือ 250 มิลลิลิตร จำนวนครั้งที่กินได้คือ 1 แต่หากเป็นขวดลิตร กินครั้งละ 200 มิลลิลิตรได้ 5 ครั้งจึงจะหมด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หมายความว่า ถ้ากินครั้งละ ตามปริมาณที่ระบุแล้วจะได้สารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณน้ำหนักจริงเท่าใด และปริมาณนี้ คิดเป็นร้อยละเท่าไรของปริมาณที่เราควรได้รับในวันนี้ อนึ่ง สำหรับวิตามินและเกลือแร่นั้นระบุแต่ปริมาณร้อยละของที่ต้องการต่อวันเท่านั้น เพราะค่าน้ำ

หนักจริงมีค่าน้อยมาก ทำให้เข้าใจตัวเลขได้ยาก

ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หมายถึง สารอาหารที่มีในอาหารจากการกินครั้งละนี้ เมื่อคิดเทียบกับที่ควรได้รับแล้ว คิดเป็นร้อยละเท่าไร ถ้าอาหารนี้ให้คาร์โบไฮเดรต 8% ของที่ต้องการต่อวันก็หมายความว่าเราต้องกินจากอาหารอื่นอีก 92 %

โปรดสังเกตว่า โปรตีน และน้ำตาล จะแสดงแต่ค่าน้ำหนักเท่านั้น เนื่องจากโปรตีนมีหลากหลายชนิดและคุณภาพแตกต่างกันการระบุเป็นร้อยละจะทำให้เข้าใจผิดได้ จึงกำหนดให้ระบุแต่เพียงน้ำหนัก และผู้บริโภคสามารถทราบแหล่งของโปรตีนได้จากส่วนประกอบที่แสดงอยู่บนฉลากอยู่แล้ว สำหรับน้ำตาลนั้น แสดงร้อยละ เป็นส่วนหนึ่งของคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดแล้ว

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวันของสารอาหารที่สำคัญบางตัว ได้แก่ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด ใยอาหาร โซเดียม ได้มีการระบุไว้เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบในตอนท้ายของกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็ม ข้อมูลนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สำคัญเท่านั้น ที่จริงแล้ว บัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ( Thai Recommended Daily Intakes หรือ Thai RDI )

ได้กำหนดสารอาหารไว้รวม 34 ชนิดด้วยกัน

ข้อความกล่าวอ้าง การกล่าวอ้างที่บอกปริมาณสารอาหาร เช่น มีแคลเซียม ไขมันต่ำ วิตามินบี 1 สูง ที่เรียกว่า Nutrient content claim นั้น ระดับที่จะกล่าวอ้างได้ และเกณฑ์กำหนดประกอบอื่นมีการกำหนดไว้ชัดเจนในบัญชีหมายเลข 4 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ( ฉบับที่ 182 ) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ การกล่าวอ้างปริมาณ ต้องใช้คำต่างๆที่กำหนดให้ โดยไม่อนุญาตให้มีการคิดค้นศัพท์ใหม่แปลกๆ

ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น เข้าใจว่า" แคลเซียมสูง " นั้น หมายถึงอย่างไรโดยจะมีความหมายเดียวกันคือมีในระดับเดียวกันไม่ว่าจะเป็นอาหารอะไร แต่หากอนุญาตให้ใช้คำตามแต่จะคิดค้น เช่น "แคลเซี่ยมเพียบ" ผู้บริโภคก็อาจจะสับสนสงสัยได้ว่า " สูง " กับ " เพียบ" นี้ คำใดจะมีมากกว่ากัน !

การกล่าวอ้างถึงคุณประโยชน์นั้น แม้ไม่มีคำกำหนดไว้แน่นอนแต่การกล่าวอ้างที่จะใช้ได้ก็ต้องเป็นการกล่าวอ้างของคุณค่าด้านอาหารเท่านั้น โดยต้องไม่ทำให้เข้าใจผิด หรือหลอกลวง หรือไม่เหมาะสมการกล่าวอ้างในเชิงป้องกัน หรือรักษาโรครนั้น เป็นการกล่าวอ้างทางยาและไม่สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารได้ อนึ่ง แม้ว่าสารอาหารต่างๆจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสภาวะทางสรีระของร่างกาย แต่ปัจจัยในการก่อให้เกิดโรคต่างๆ นั้นยังขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ เพศ อายุ และสภาวะอื่นๆ อีกมาก ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ดังนั้น การอวดอ้างโดยชี้เสมือนว่าอาหารหรือสารนั้นๆ เป็นปัจจัยเพียงประการเดียว ซึ่งเมื่อบริโภคลดลงหรือเพิ่มขึ้นแล้วจะมีผลอย่างแน่นอนกับการเกิดหรือไม่เกิดโรค จึงเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิด

ความสำคัญของสสารอาหารที่บังคับให้แสดงพลังงาน

คนทั่วไปที่ทำงานหนักปานกลาง ต้องการพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรีผู้ที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร นักกีฬา ก็จะต้องการพลังงานมากกว่านี้ หรือ ผู้ที่ทำงานเบากว่า ก็จะต้องการพลังงานน้อยกว่านี้

สารอาหารที่ให้พลังงาน คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ปริมาณสารอาหารทั้งสามที่แนะนำให้บริโภคในฉลากโภชนาการนั้น เทียบสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี หากต้องการพลังงานมากหรือน้อยกว่านี้ ก็ปรับกินเพิ่ม หรือลดลงตามส่วน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกินให้ได้พลังงานจากอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น กินแต่แป้งจำนวนมากทั้ง 2,000 กิโลแคลอรี่ แต่ควรกินให้เป็นสัดส่วนดังนี้ คือ จากพลังงานทั้งหมดที่ต้องการต่อวัน ควรเป็น

. พลังงานที่ได้จาก คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60

. พลังงานที่ได้จาก โปรตีน ร้อยละ 10 และ

. พลังงานที่ได้จาก ไขมัน ร้อยละ 30 ทั้งนี้ ปริมาณไขมันดังกล่าวก็ควรเป็นไขมันอิ่มตัวไม่เกิน ร้อยละ 10 ด้วย

การคำนวณพลังงานนั้น คิดเทียบจาก คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม ในขณะที่ไขมันจะให้พลังงานมากกว่าถึงสองเท่าคือ 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม

สมมติ เราทำงานหนักปานกลาง ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ก็จะสามารถคำนวณหาปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ที่ควรกินในแต่ละวันได้ ดังนี้

พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 จากทั้งหมด 2,000 กิโลแคลอรี

คิดเป็น ( 60/100 ) x 2,000 = 1,200 กิโลแคลอรี

ซึ่งจะต้องได้จาก คาร์โบไฮเดรต 1,200/4 = 300 กรัม

พลังงานจากโปรตีน ร้อยละ 10 จากทั้งหมด 2,000 กิโลแคลอรี

คิดเป็น ( 10/100) x 2,000 = 200 กิโลแคลอรี

ซึ่งจะต้องได้จากโปรตีน 200/4 = 50 กรัม

พลังงานจากไขมัน ร้อยละ 30 จากทั้งหมด 2,000 กิโลแคลอรี

คิดเป็น ( 30/100) x 2,000 = 600 กิโลแคลอรี

ซึ่งจะต้องได้จากไขมัน 600/9 = ประมาณ 65 กรัม

พลังงานจากไขมันอิ่มตัว ร้อยละ 10 จากทั้งหมด 2,000 กิโลแคลอรี

คิดเป็น ( 10/100 ) x 2,000= 200 กิโลแคลอรี

ซึ่งจะต้องได้จาก ไขมันอิ่มตัว 200/9 = ประมาณ 20 กรัม

ไขมัน

ไขมันไม่ใช่มีแต่โทษจนต้องคอยหลีกเลี่ยงอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย คือ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานดังกล่าวแล้ว ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและยังช่วยเป็นตัวละลายและช่วยในการดูดซึมวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน และสารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เราควรกินไขมันให้หลากหลายต่างชนิดต่างแหล่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลืองบ้าง น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันอื่นๆบ้างคละสลับกันไป โดยไม่กินเพียงอย่างเดียวซ้ำๆแต่อย่าลืมจำกัดปริมาณอย่าให้มากเกินไปด้วย

คอเลสเตอรอล

เป็นไขมันจำเป็นชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อไปสร้างส่วนประกอบของเชลล์ประสาทและสมอง สร้างฮอร์โมน และน้ำดีซึ่งช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน ร่างกายจะสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นเองได้ประมาณร้อยละ 80 ของความต้องการของร่างกายโดยตับเป็นผู้สร้าง นอกจากนั้น เราก็ได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น ไข่ ตับ นม เนย อย่างไรก็ตาม การได้รับมากเกินไป เกินกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวันแล้วอาจทำให้สะสมและก่อให้เกิดอาการเช่น เส้นเลือดตีบตัน ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้

โปรตีน

ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ คุณภาพของโปรตีนแตกต่างกันตามแหล่งของโปรตีนนั้น โปรตีนคุณภาพดีคือมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบ แหล่งที่ดีได้แก่ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นม ไข่ การสร้างโปรตีนของร่างกายนั้นต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกตัวในปริมาณที่พอเหมาะในเวลาเดียวกัน ถ้าขาดตัวใดหรือสัดส่วนไม่พอเหมาะ เด็กก็จะหยุดโต ผู้ใหญ่ก็จะมีการสลายของเนื้อเยื่อเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้ นอกจากนั้น ร่างกายยังไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนได้ดีนัก ดังนั้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จึงควรกินโปรตีนคุณภาพดีทุกวัน โปรตีนเป็นสารให้พลังงานด้วย เมื่อใดที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันไม่เพียงพอร่างกายก็จะเผาผลาญโปรตีนแทน

คาร์โบไฮเดรต

เป็นแหล่งพลังงานหลัก หรือ เชื้อเพลิงของชีวิต นอกจากนั้นยังมีความสำคัญในการเผาผลาญไขมันด้วย ไขมันจะเผาไหม้ได้ไม่สมบรูณ์หากมีคาร์โบไฮเดรตไม่พอ โดยจะทำให้เกิดสารพิษขื้นในเลือดและปัสสวะ( Ketone bodies) ส่งผลให้ความเป็นกรดด่างของร่างกายเปลี่ยนไป และอวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติจนถึงขั้นหมดสติ

( coma ) ได้ เราจึงควรได้รับคาร์โบไฮเดรตทุกวัน แม้ว่าจะอยู่ในช่วงจำกัดอาหารหรือควบคุมน้ำหนักก็ตาม

เพื่อป้องกันสภาวะดังกล่าว

ใยอาหาร

ใยอาหาร เป็นคาร์โบไฮเดรตอย่างหนึ่งที่ร่างกายย่อยไม่ได้เมื่อกินใยอาหารจึงมีผลในการเพิ่มปริมาตรอุจจาระ

ทำให้ขับถ่ายสะดวกทุกวันไม่คั่งค้าง จึงกำจัดสารพิษต่างๆออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงควรกินผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน

โซเดียม

เป็นสารสำคัญในเชลล์ช่วยควบคุมระดับสมดุลของน้ำโดยทำให้เกิดแรงดันออสโมซิส มีส่วนในการควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ถ้าได้รับมากเกินไป ไตก็จะขับออกทางปัสสาวะอย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับมากนานๆ อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ดังนั้น ผู้เป็นโรคหัวใจ ความดัน และโรคไตบางชนิดจึงควรกินอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมต่ำ

วิตามินและเกลือแร่

วิตามิน เอ มีมากในอาหารพวกตับ เนย ไข่แดง นม ในพืชไม่พบวิตามินเอ แต่พืชสีเหลือง แสด เขียว เช่น มะเขือเทศ ผลไม้แครอท ฟักทอง จะพบแคโรทีน ซึ่งเมื่อคนกินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ผนังลำไส้เล็ก

วิตามินชนิดนี้จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย การมองเห็นที่ดี และสุขภาพที่ดีของเส้นผม ผิวหนัง ช่วยให้เหงือกและฟันแข็งแรง

วิตามินบี 1 หรือ ไธอะมิน ( thiamin ) มีมากในอาหารพวกข้าวซ้อมมือ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง เราจำเป็นที่จะต้องได้รับวิตามินบี 1 ให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องใช้ในการเผาผลาญสารอาหารที่ให้พลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบไฮเดรต นอกจากนั้นวิตามินบี 1 ยังเสริมสร้างการทำงานที่ดีของระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจ

วิตามินบี 2 พบในอาหารพวกเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลา นม และเนย มีส่วนในการใช้พลังงานของร่างกาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ ไขมัน ทำงานร่วมกับร่างกายในการส่งพลังงานไปตามเชลล์ต่างๆจำเป็นต่อสุขภาพที่ดีของผิวหนัง ผม เล็บ

แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันนอกจากนั้น แคลเซียมในเลือดยังมีบทบาทในการแข็งตัวของเลือดการทำงานของเนื้อเยื่อประสาท ถ้าแคลเซียมในเลือดลดลงมากๆจะทำให้เกิดอาการชักเกร็ง ถ้ามากไปก็จะทำให้ประสาทเกิดอาการเฉี่อยชา ปริมาณที่พอเหมาะมีความสำคัญยิ่งต่อการเต้นของชีพจร และหัวใจ

เหล็ก ร่างกายต้องการเหล็กในการสร้างเม็ดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮิโมโกลบินในเลือดซึ่งจะนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย อย่างไรก็ตาม การได้รับเหล็กมากเกินไปจะทำลาย ตับ ตับอ่อน

หัวใจ และทำให้อวัยวะอื่นๆ เกิดการแปรปรวนได้

ส่งท้าย

ข้อควรสังเกตบางประการในการอ่านฉลากโภชนาการ

เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าของอาหาร 2 อย่างโดยดูจากกรอบข้อมูลโภชนาการ ให้ดูปริมาณ หนึ่งหน่วยบริโภค ที่แสดงบนฉลากซึ่งอาจไม่เท่ากันด้วย ! ( เพราะคุณค่าทางโภชนาการที่แสดงก็จะเป็นคุณค่าที่มีในอาหารต่างปริมาณกัน )

สังเกตหน่วยน้ำหนักว่าต้องถูกต้อง เช่น โปรตีน กำหนดให้ต้องแสดงเป็น กรัม โปรตีน 1 กรัมถ้าแสดงเป็น มิลลิกรัม ก็จะได้ถึง 1,000 มิลลิกรัม ดูเผินๆ จะเข้าใจว่ามีมาก ถ้าแสดงแบบนี้ก็เป็นฉลากที่ผิด

ปริมาณน้ำหนัก ต้องเป็นจำนวนเต็มเสมอ ( ยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ ไขมันที่ปริมาณต่ำกว่า 5 กรัม จะมีทศนิยมได้ทีละ 0.5 กรัม คือ เป็น 0.5 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 4.5 กรัมได้ ) ดังนั้น หากพบว่ามีการใช้ทศนิยม ก็เป็นฉลากที่ผิด

ตัวเลขแสดงปริมาณ ร้อยละ ต้องเป็นจำนวนเต็มเสมอ

สีตัวอักษรในกรอบ ต้องเป็นสีเดียวกันหมด ห้ามเล่นสีตัวอักษรต้องใช้ตัวหนา และตัวธรรมดาตามรูปแบบที่กำหนด

สีพื้นภายในกรอบข้อมูลโภชนาการต้องเป็นสีเดียวเท่ากันหมด ห้ามเล่นเฉดสี หรือเน้นเฉพาะแห่ง

สังเกตว่าหากเป็นอาหารประเภทเดียวกัน สูตรส่วนประกอบเหมือนกัน สารอาหารก็น่าจะใกล้เคียงกันด้วย

ถ้ามีการกล่าวอ้าง ต้องมีกรอบข้อมูลโภชนาการประกอบด้วยเสมอ !!!!!! อนึ่ง การกล่าวอ้างในทางป้องกัน หรือรักษาโรคจัดเป็นการกล่าวอ้างสรรพคุณทางยา และไม่สามารถใช้กับอาหารได้

ขอให้มีสุขภาพดี สดชื่น แข็งแรงกันทุกๆท่าน อย่าลืมว่า กรอบข้อมูลโภชนาการมีไว้เพื่อผู้บริโภคโดยเฉพาะโปรดอ่านและใช้ให้เป็นประโยชน์

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม หรือ download สำเนาประกาศกระทรวงสาธารณสุข ( ฉบับที่ 182 ) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ ได้ท ี่www.fda.moph. go.th หรือรับฟังข้อมูลทางสายด่วนผู้บริโภคหมายเลข 1556 กด 0226

โภชนาการก

  1. ในอนาคต เมื่อ ผุ้บริโภคสนใจ ต้องการข้อมูลโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตก็จะแข่งขันกันผลิตอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าแทนการแข่งขันในเรื่องหีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่นๆ