jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

aaa

การแปรรูปถั่วเหลือง

เราสามารถแปรรูปถั่วเหลืองไปเป็นส่วนประกอบของอาหารหรืออาหารได้มากมาย

แป้งแป้งถั่วเหลือง

โดยการนำถั่วเหลืองไปอบและบดเป็นผงซึ่งจะมีโปรตีนเป็นส่วนผสมร้อยละ 50 แป้งถั่วเหลืองมี 3 ชนิดได้แก่

ข้อดีของโปรตีนชนิดนี้คือไม่มีสาร glutean ทำให้เกิดการแพ้น้อย

แป้งถั่วเหลืองชนิดโปรตีนครบถ้วน

ทำโดยการนำกากถั่วที่ได้จากการสกัดน้ำมันแล้วมาแยกเอาโปรตีนออกจะได้แป้งที่มีส่วนผสมของโปรตีน 90 % และมีกรด amino acid ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย

Lecithin

เป็นสารที่สกัดจากน้ำมันถั่วเหลือง เป็นสารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้เป็นตัวทำละลายไขมัน คลิกอ่านที่นี่

โปรตีนถัวเหลืองโปรตีนจากถั่วเหลือง

โปรตีนนี้เตรียมจากแป้งถั่วเหลืองที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว โปรตีนนี้จะประกอบไปด้วยโปรตีนร้อยละ 50 ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต์ โปรตีนนี้ใช้แทนเนื้อสัตว์ สำหรับขนาดก็แล้วการเตรียมว่าต้องการให้มีขนาดเท่าใด การรับประทานก็เพียงแต่ใส่น้ำและทำให้ร้อนก็สามารถรับประทานได้

น้ำมันถั่วเหลือง

น้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันพืชที่นิยมใช้กันทั่วโลก เป็นน้ำมันที่ไขมันอิ่มตัวต่ำ( saturated ) และมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง( polyunsaturated ) และยังมีไขมัน omega3 เราสามารถนำน้ำมันถั่วเหลืองไปปรุงอาหาร ทำน้ำสลัด แล้วยังสามารถนำไปทำเป็น magarine นอกจากนั้นยังใช้กระบวนการทางเคม ีเพื่อทำให้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันพืชชนิดอื่นมีความข้นหรือมีความทนความร้อนเพิ่มเรียกการทำ Hydrogenation ทำให้ได้กรด tranaminoacid แต่องค์การอาหารและยาพบว่าไขมัน transfatty acid มีอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด

ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่นิยมกันมากในแถมเอเชียและได้มีการดัดแปลงกันมาแต่ในอดีต ที่เป็นที่นิยมกันได้แก่

ถั่วญี่ปุ่น

ถั่วต้มญี่ปุ่น

หากเราเดิมตามห้างจะพบถั่วเหมือถัวพูใส่ถุงแช่เย็นเป็นถุงๆ ความจริงก็คือถั่วเหลืองที่ยังไม่แก่ นำไปต้มด้วยน้ำเกลือให้สุกและเก็บเป็นถุงๆ ถั่วนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีน ใยอาหาร ไม่มี cholesterol เหมาะสำหรับเป็นอาหารว่างหรือใช้ทำอาหาร

มิโซ่Miso

ดูแค่ชื่อก็รู้แล้วว่าเป็นน้ำปรุงรสจากประเทศญี่ปุ่นเตรียมจากถั่วเหลือง ธัญพืช และเกลือ มักไว้ 1-3 ปี การเก็บควรจะเก็บในตู้เย็น ใช้สำหรับปรุงรส หรือมักอาหาร

น้ำซอสถั่วเหลือง

ทางบ้านเราเรียกซี่อี้แต่ทางญี่ปุ่นมีชื่อเรียกหลายชื่อ น้ำถั่วเหลืองไปหมัก โซยุ Shoyu เกิดน้ำถั่วเหลืองไปหมักกับแป้งสาลี Teriyaki เกิดจากหมักถั่วเหลือง น้ำตาล น้ำส้ม พริก เป็นน้ำซอสที่ข้นที่สุด Tamari เป็นซอสที่เหลือจากการเตรียม Miso

เต้าหู้เต้าหู้

เตรียมจากน้ำเต้าหู้ทำให้ข้นขึ้นโดยใช้สารเคมีช่วยเต้าหู้จะมีโปรตีนสูง วิตามินบีแต่มีเกลือต่ำเหมาะสำหรับเป็นโปรตีนแทนโปรตีนจากสัตว์ เต้าหู้มีสองชนิดคือเต้าหู้แข็งซึ่งมีโปรตีน แคลเซียม ไขมันสูงกว่าชนิดอื่น เต้าหู้อีกชนิดได้แก่เต้าหู้อ่อนหรือเต้าหู้หลอด

น้ำเต้าหู้น้ำเต้าหู้

เป็นเครื่องดื่มที่บำรุงสุขภาพและเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน จะดื่มร้อนหรือเย็นก็ได้ นมถั่วเหลืองจะไม่มี lactose และ casein ทำให้คนที่แพ้นมวัวสามารถดื่มได้โดยที่ท้องไม่เสีย บางบริษัทอาจจะเติมแคลเซียม วิตามินดีหรือวิตามินบี บางบริษัทอาจจะปรุงรสได้หลายชนิด การเก็บรักษานมที่ใส่ถุงหากแช่ตู้เย็นสามารถเก็บได้ถึง 5 วัน แต่หากเป็นนมกล่องที่ผ่านการฆ่าเชื้อสามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้หลายเดือน เมื่อแกะกล่องต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

เต้าเจี้ยว

เป็นการหมักของถั่วเหลือและเกลือ โปรตีนในเต้าเจี้ยวจะย่อยง่ายกว่าถั่วเหลือง ใช้ปรุงอาหาร รับประทานกับข้าวต้ม หรือใส่ในน้ำซุป

ฟองเต้าหู้

เตรียมจากครีมที่ลอยบนน้ำเต้าหู้ที่เข้มข้น อุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามิน นำไปรับประทานสดๆหรือใช้ปรุงอาหาร

นอกจากนั้นยังนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไปแปรรูปอาหารได้อีกมากมายดังเช่น

 

เนื้อเทียม

เนื้อสัตว์เทียม

โดยนำเต้าหู้มาผสมกับส่วนผสมอื่นๆเพื่อเลียนแบบเนื้อสัตว์ทั่งรูป รส กลิ่น ให้ใกล้เคียงเนื้อสัตว์ ใช้ประกอบอาหารเหมือกับเนื้อสัตว์ที่เลียนแบบ อาหารนี้ก็มีคุณค่าเหมืออาหารที่เตรียมจากถั่วเหลือง

 

เนยแข็ง

เนยแข็งจากถั่วเหลือง

เตรียมจากน้ำเต้าหู้ สามารถใช้ปรุงอาหารแทนเนยแข็งได้

 

เนยถั่วเหลือง

เนยถั่วเหลือง

เตรียมจากถั่วเหลืองไปอบ บด คลุกกับน้ำมันถั่วเหลืองและสารประกอบอื่น จะมีไขมันน้อยกว่าเนยถั่วลิสง มีคุณค่าอาหารเหมือนถั่วเหลือง

นอกจากนั้นยังสามารถนำถั่วเหลืองมาแปรรูปเป็นนมสำหรับเด็ก yogurt ไอครีม ซึ่งคงคุณค่าอาหาร

การแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม

เราสามารถแปรรูปถั่วเหลืองให้เป็นเครื่องดื่มหลากหลายชนิดโดยที่ยังคงคุณค่าทางอาหาร

เช่น น้ำ strawberry นมถั่วเหลืองส่วนผสมได้แก่

นำส่วนผสมมาปั่นให้เข้ากัน ก็จะได้น้ำผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหาร นอกจากนั้นยังยังสามารถดัดแปลงเป็นขนมขบเคี้ยว คุกกี้ และสลัด

เครื่องดื่ม คุกกี้ สลัด

บทสรุปส่งท้าย

รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองวันละ 25 กรัมจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ปริมาณถั่วเหลืองที่มีโปรตีน 25 กรัมดังรูปข้างล่าง

ถั่วเหลือง