การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไต

การที่ร่างกายคนเราจะมีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อที่เป็นพิษ และการออกกำลังกาย ข้อกำหนดดังกล่าวสามารถใช้ได้กับคนปกติ แต่ก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่เป็นโรคต่างๆโดยเฉพาะโรคไต ซึ่งในที่นี้หมายถึงโรคไตวายเรื้อรังซึ่งมีสุขภาพดี

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย ก็มีหลักการเหมือนการออกกำลังกายสำหรับคนทั่วไป คือจะต้องประกอบด้วย การยืดกล้ามเนื้อ [flexibility]  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ[strenfth]  ความแข็งแรงของปอดและหัวใจ[cardiovascular]หรือที่เรียกว่า aerobic exercise ผู้ป่วยควรจะเน้นเรื่องความแข็งของปอดและหัวใจให้มากกว่าการออกกำลังกายชนิดอื่น สำหรับขั้นตอนของการออกกำลังกายต้องประกอบด้วย

  • การอบอุ่นร่างกายหรือที่เรียกว่า warm up ใช้เวลาในการอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาที
  • การออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ 5 นาที
  • การออกกำลังกาย อาจจะเป็นการเดินเร็วๆ ขี่จักรยาน หรือการจ๊อกกิ้ง ใช้เวลา 5-30 นาที แล้วแต่ความแข็งแรงของร่างกาย
  • การอบอุ่นร่างกายใช้เวลา 5-10 นาที

ควรจะออกถี่แค่ไหน

  • โดยทั่วไปควรจะออกกำลังแบบยืดกล้ามเนื้อทุกวัน
  • การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ออกวันเว้นวัน
  • การออกกำลังแบบ aerobic ให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 4-5 วัน

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

  • ทำให้สุขภาพดีขึ้น
  • ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
  • การควบคุมความดันโลหิตง่ายขึ้น
  • ไขมันในเลือดลดลง
  • น้ำหนักลดลง
  • นอนหลับดีขึ้น


ท่านต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายหรือไม่

แน่นอนว่าท่านต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย แพทย์จะแนะนำถึงวิธีการออกกำลังกายเช่น

  • ชนิดของการออกกำลังกาย
  • ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย
  • ความถี่ของการออกกำลังกาย
  • ความหนักของการออกกำลังกาย โดยทั่วไปไม่ออกกำลังจนพูดไม่ได้ประโยค หรือเหนื่อยมาก หรือปวดกล้ามเนื้อมาก

ควรออกกำลังเวลาไหน

  • ไม่ออกกำลังเมื่ออากาศร้อนจัด
  • ไม่ออกกำลังกายทันทีหลังอาหารให้พักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ไม่ออกกกำลังกายก่อนนอน 1 ชั่วโมง
  • ช่วงดีที่สุดคือเวลา เช้าหรือเย็น

เมื่อไรจึงหยุดออกกำลังกาย

  • หากคุณรู้สึกเหนื่อยมาก
  • หากคุณหายใจหอบถี่
  • หากคุณมีอาการแน่นหน้าอก
  • หากคุณรู้สึกหัวใจเต้นเร็วมาก หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หากคุณรู้สึกแน่นท้อง
  • หากคุณรู้สึกเวียนหัว
  • หากคุณเป็นตะคริว

ไม่ควรออกกำลังกายในภาวะอะไร

  • เมื่อคุณมีไข้
  • เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตารางการฟอกเลือด
  • เมื่อมีการเปลี่ยนยารับประทาน
  • เมื่อสุขภาพเปลี่ยนไป
  • เมื่อคุณรับประทานอาหารมากเกินไป
  • อากาศร้อนเกินไป
  • คุณปวดข้อ

การออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคไต ท่าในการออกกำลัง การออกกำลังเพื่อความแข็งแรงของหัวใจ

การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน