a

การออกกำลังแบบยืดกล้ามเนื้อ Streching หรือการบริหารแบบflexibility

กล้ามเนื้อ ข้อและเอ็นหากไม่ได้ใช้นานๆ จะเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อและเอ็นทำให้ขยับได้ลำบาก การยืดกล้ามเนื้อจะทำให้การขยับกล้ามเนื้อและเอ็นได้ง่ายขึ้น การบริหารชนิดนี้สามารถทำได้ทุกเวลาโดยเฉพาะก่อนการออกกำลังชนิด aerobic ข้อสำคัญในการยืดกล้ามเนื้อคือ

  • การยืดกล้ามเนื้อให้ค่อยยืดจนกระทั่งกล้ามเนื้อมัดนั้นเริ่มตึงตัว คงท่านั้นไวนาน 10-20 วินาทีไม่มีการโยก
  • การยืดต้องค่อยๆทำ หากปวดหลังยืดแสดงว่าคุณยืดมากไป
  • เวลายืดกล้ามเนื้ออย่ากลั้นหายใจ ให้หายใจเข้าออกยาวๆ

ท่าสำหรับการยืดกล้ามเนื้อ

การยืดกล้ามเนื้อคอ

(1) Neck Stretch จะยืนหรือนั่งก็ได้ หากมีอาการเวียนหัวควรจะทำในท่านั่ง

เอียงศีรษะด้านขวาให้หูใกล้หัวไหล่ขวา หมุนศีรษะมาทางด้านหน้า ก้มหน้าให้คางชิดอก ค่อยหมุนจนหูซ้ายอยู่ชิดไหล่ซ้าย และหมุนไปด้านหลัง จนหน้าแหนงศีรษะไปทางด้านหลัง


การยืดกล้ามเนื้อแขนและมือ
arm

นั่งหรือยืนก็ได้

ยื่นแขนไปข้างหน้า ระดับเสมอไหล่

เหยียดนิ้วทั้งห้า แล้วกำมือ ทำสลับกัน

หมุนข้อมือตามเข็มนาฬิกา หมุนข้อมือทวนเข็มนาฬิกา


ไหล่

stres ท่ายืนหรือนั่ง

ยกไหล่ทั้งสองข้างให้ชิดหู แล้วยกลง ทำซ้ำ

หมุนไหล่ขวาเป็นรูปวงกลม แล้วหมุนไหล่ซ้ายเป็นรูปวงกลม


หน้าอกและกล้ามเนื้อหลัง

stres2 ท่ายืนหรือนั่ง

มือจับไหล่ แขนกางออก

หมุนข้อศอกเป็นวงกลม

หลังจากนั้นนำข้อศอกมาชิดกัน



ยืดกล้ามเนื้อด้านข้าง

stres3 ท่ายืนหรือนั่ง

ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ

โยกตัวไปทางซ้าย โยกตัวไปทางขวา จนกล้ามเนื้อตึง

ยกแขนลง


ต้นขา

stres4 นั่งหลังตรง

ใช้มือสองข้างดึงเข่าเข้าหาลำตัว พร้อมกับโน้มตัวมาชิดเข่า

คางชิดอกให้หน้าผากติดเข่า ค้างท่านี้ไว้

ยกเท้าลงพร้อมกับนั่งหลังตรง


ต้นขา

stres5 นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางบนพื้น

มือจับเก้าอี้เพื่อทรงตัว

ยกเท้าขึ้นจนเข่าตึง

กระโดกข้อเท้าขึ้น และเหยียดข้อเท้า ทำซ้ำหลายครั้ง

หมุนข้อเท้าเป็นรูปวงกลม

ทำสลับเท้า


กล้ามเนื้อน่อง

stres6 ยืนใช้มือจับพนักเก้าอี้

ก้าวเท้าซ้ายมาข้างหน้า ส้นเท้าขวาติดพื้น โยกตัวมาทางหน้า จนกล้ามเนื้อน่องเริ่มรู้สึกตึง

ย่อตัวลงจะรู้สึกตึงกล้ามเนื้อของเท้าหน้า

ทำซ้ำ

การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Strength

การบริหารนี้จะเป็นการบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถทำได้โดยการยกน้ำหนัก ใช้ยางยืด หรือใช้น้ำหนักของตัวเอง หลักการง่ายที่จะนำท่านไปสู่ความสำเร็จ

  • ให้เริ่มครั้งละน้อย เพราะหากใช้น้ำหนักมากเกินไปอาจจะทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ
  • ค่อยๆเพิ่มน้ำหนักครั้งละน้อย และยกซ้ำบ่อยๆ
  • ก่อนการยกน้ำหนักให้อบอุ่นร่างกายก่อน และตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อ หลังจากนั้นจึงบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงโดยการยกน้ำหนัก
  • การบริหารต้องทำให้ถูกต้อง เพราะการบริหารที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เจ็บกล้ามเนื้อ
  • ขณะที่ต้องใช้แรงให้หายใจออก เมื่อกำลังผ่อนคลายให้หายใจเข้า เพราะจะช่วยลดระดับความดันโลหิต อย่ากลั้นหายใจ
  • พยายามยกขึ้นหรือลงอย่างช้าๆ เพราะเร็วไปอาจจะทำให้เจ็บกล้ามเนื้อ
  • หากมีอาการปวดหรือเจ็บให้หยุดทันที

วิธีการยกนำหนัก

1.กล้ามเนื้อแขนด้านหน้า
(1) Arm Curl

ยืนหรือนั่งบนเก้าอี้

แขนแนบลำตัว ข้อศอกชิดลำตัว

ผ่ามือหงาย ในเริ่มแรกให้ยกมือจนฝ่ามือแตะหัวไหล่ โดยที่ยังไม่ต้องยกน้ำหนัก เมื่อแข็งแรงจึงใส่น้ำหนัก

ยกที่ละข้างสลับกัน


2.กล้ามเนื้อแขนด้านหลัง
(2) Arm Extension จะนั่งหรือยืนก็ได้

งอข้อศอกไปด้านหลัง ข้อศอกแนบหู

เหยียดแขนให้มืออยู่เหนือศีรษะ เหมือนเราจะขว้างลูกบอล

ทำสลับข้าง

หากแข็งแรงอาจจะใช้ยางยืดเพื่อเพิ่มกำลัง


3.กล้ามเนื้อต้นขา

(3) Lower Leg Extension นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางไว้บนพื้น

มือจับขอบเก้าอี้

เหยียดขาข้างหนึ่งแล้วเกร็งไว้ หากแข็งแรงอาจจะเพิ่มน้ำหนักที่ข้อเท้า

ทำสลับข้าง


4.กล้ามเนื้อต้นขา
(4) Straight Leg Extension นั่งพิงบนเก้าอี้

มือทั้งสองข้างจับที่พักแขน

เขาเหยียดตรงและยกขาขึ้นจากเก้าอี้ นับหนึ่งถึง5แล้วนำเท้าลง

ทำสลับข้าง

 


5.หน้าท้องและหน้าขา
(5) Seated Marching นั่งพิงบนเก้าอี้

มือทั้งสองข้างจับที่พักแขน

ยกขาขึ้น งอเข่าชิดหน้าอก แล้วเหยียดออก เหมือนขี่จักรยาน

ทำสลับข้าง


6.กล้ามเนื้อด้านหลังขา
(6) Back Leg Swing ยืน มือจับพนักเก้าอี้

หลังตรง แกว่งเท้าไปทางข้างหลัง

หากแข็งแรง อาจจะใช้น้ำหนักถ่วงข้อเท้า


7.กล้ามเนื้อน่อง
(7) Heel Raise ยืนหลังตรง มือจับพนักเก้าอี้

ยืนแขย่งเท้าขึ้นอย่างช้าๆ และหย่อนลงอย่างช้าๆ

หากร่างกายแข็งแรงก็ไม่ต้องจับพนัก ให้เอามือจับที่เอว


8.กล้ามเนื้อขาด้านข้าง
(8) Side Leg Lift นอนตะแคง ศีรษะหนุนแขนข้างหนึ่ง แขนอีกข้างพยุงตัว

ยกขาข้างหนึ่งขึ้นอย่างช้าๆ และค้างไว้ และนำลงอย่างช้าๆ

ทำสลับข้าง

 


9.กล้ามเนื้อหน้าท้อง
(9) Abdominal Curl นอนหงาย ชั้นเข่าทั้งสองข้าง

มือกอดอก

ยกศีรษะและไหล่ขึ้นจากพื้น และค้างไว้

นอนราบสู่ท่าปกติ


10.กล้ามเนื้อหน้าอก
(10) Wall Push-up ยืนหันหน้าหากำแพง ห่างกำแพง 1-2 ฟุต

มือทั้งสองยันกำแพง

โน้มตัวมาชิดกำแพง

มือดันตัวออกจนแขนเหยียดตรง

 


11.กล้ามเนื้อต้นขา
(13) Stair Step ยืนจับราวสะพานหากแข็งแรงก็เท้าสะเอว

เก้าขึ้นบันไดด้วยเท้าข้างหนึ่ง

เท้าอีกข้างเก้าตาม

ลงบันไดด้วยเท้าแรก

เท้าสองก้าวลงตามมา


12.กล้ามเนื้อต้นขา
(14) Chair Squat ยืนห่างเก้าอี้เล็กน้อย

มือทั้งสองข้างจับที่วางแขน

หย่อนก้นเหมือนจะนั่งเก้าอี้ แต่ค้างไว้

คงท่านั้นไว้ นับ 5-10 แล้วจึงหย่อนก้นนั่ง

การออกกำลังเสริมกำลังกล้ามเนื้อให้ทำตั้งแต่ท่า 1-9 ให้ทำเป็นประจำ วิธีการบริหารมีดังนี้

  • ให้เริ่มตั้งแต่ท่าที่1 ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  • เปลี่ยนเป็นท่าที่ 2,3,4 ถึงท่าที่ 9 ท่าละ 10 ครั้ง เรียกว่า 1 เซต
  • เมื่อร่างกายแข็งขึ้นจึงเพิ่มเป็น 15 ครั้งต่อ 1 เซต และเมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้นค่อยเพิ่มเป็น 2 เซต
  • เมื่อทำได้ 3 เซต เซตละ 15 ครั้งจึงเริ่มทำท่า 10-12
  • เมื่อร่างกายแข็งแรงสามารถทำได้ 3 เซต เซตละ 15 ครั้งจึงเริ่มเพิ่มน้ำหนัก

การเพิ่มน้ำหนักเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ

การเริ่มต้นใช้น้ำหนักให้ใช้น้ำหนักน้อยที่สุดก่อน อาจจะเริ่มครึ่งกิโลกรัม หรืออาจจะใช้เครื่องครัว เช่น ขวดน้ำมันพืช นม กระป๋องผลไม้ เป็นต้นดังตารางข้างล่างนี้

สัปดาห์ที่ ท่าที่บริหาร จำนวนครั้ง จำนวนเซต น้ำหนักที่ใช้
1 #1-#9 10 1 --
2 #1-#9 12 1 --
3 #1-#9 15 1 --
4 #1-#9 15 1-2 --
5 #1-#9 15 2 --
6 #1-#9 15 2-3 --
7 #1-#9 15 3 --
8 #1-#14 10 3 --
9 #1-#14 12 3 --
10 #1-#14 15 3 --
11 #1-#14 10 3 ครึ่ง กก.
12 #1-#14 12 3 ครึ่ง กก.
13 #1-#14 15 3 ครึ่ง กก.
14 #1-#14 10 3 หนึ่ง กก.
15 #1-#14 12 3 หนึ่ง กก.
16 #1-#14 15 3 หนึ่ง กก.

การออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคไต ท่านในการออกกำลัง การออกกำลังเพื่อความแข็งแรงของหัวใจ

การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน