ยาขยายหลอดลม Salbutamol
salbutamol เป็นยากระตุ้น β2-adrenergic ที่จำเพาะทำให้ลดการหดเกร็งของหลอดลม หลอดลมมีการขยาย bronchodilator Salbutamoใช้เพื่อบรรเทาอาการหลอดลมหดหรือเกร็งตัวในผู้ป่วย โรคหอบหืด asthama โรคหลอดลมอักเสบเรื้อ COPD โรคถุงลมโป่งพอง Emphysemaและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ที่หลอดลมมีการหดเกร็ง
ยาSalbutamol ใช้สำหรับ
- ยานี้เป็นยาขยายหลอดลม ใช้เพื่อช่วยป้องกันและรักษาอาการหายใจหวีดเนื่องจากหายใจขัด (wheezing) หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ซึ่งมีสาเหตุจากโรคปอดที่มีหลอดลมหดตัวและมีการอุดั้นทางเดินหายใจเช่น
- โรคหอบหืด asthama
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งรวมถึงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและภาวะอวัยวะ
- หลอดลมหดตัวเนื่องการออกกำลังกาย Salbutamol ถูกนำมาใช้ในการป้องกันการหลอดลมหดตัวเนื่องจากการออกกำลังกาย
- ภาวะอื่นๆที่หลอดลมหดเกร็ง
วิธีการใช้ยา Salbutamol
salbutamol สามารถใช้ได้เป็นแท็บเล็ต, น้ำเชื่อม, ยาพ่น nebulizer และรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือทางหลอดเลือดดำ
- ชนิดเม็ดมีขนาด 2หรือ4 มิลิกรัม และชนิด 8 มิลิกรัมซึ่งเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์นาน
- ชนิดน้ำเชื่อม มีตัวยา 2 มิลิกรัมต่อน้ำเชื่อม 5 มิลลิลิตร
- ชนิดพ่น Inhaler ปัจจุบันมีสองประเภทคือ
- ยาสูดพ่นยา salbutamol มิเตอร์ (MDI) มี salbutamol ในรูปแบบสเปรย์ที่มีแรงดัน มันถูกใช้โดยการสูดดมในช่องปากเท่านั้น การสูดดมแต่ละคนมี 100 ไมโครกรัม salbutamol ใน HFA (hydrofluoroalkane) จรวด HFA เป็นโอโซนใจดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, สาร CFC ฟรี propellant
- และอีกอย่างก็คือยาสูดพ่นผงแห้ง salbutamol (DPI) นำเสนอในรูปแบบแคปซูล แคปซูลมี 200 ไมโครกรัม salbutamol ในรูปแบบผงแห้ง แคปซูล DPI นี้จะใช้เฉพาะเมื่อสูดดมในช่องปากผ่านทางอุปกรณ์การสูดดม
- ชิดสารละลายสำหรับผ่นผ่านทางหน้ากาก Nebulizerละมิลลิลิตรจะมยา ี 5 มิลลิกรัม
- รูปแบบฉีดยาฉีด 1 มิลิลิตรจะมียา 50 ไมโครกรัม
ขนาดยาที่ใช้
- โดยการรับประทานผู้ใหญ่ให้ salbutamol 2-4 มก. วันละสามครั้ง ส่วนเด็กให้วันละ 1-2 มก. วันละสามครั้งต่อวัน
- ย่าพ่น Inhalerให้หนึ่งถึงสองพัฟ (100-200 ไมโครกรัม) ของยาสูดพ่นยา salbutamol ชนิดอัดก๊าซ ส่วนชนิดผงให้ 1-2 แคปซูล (200-400 ไมโครกรัม)
- ชนิดพ่น Nebulizer ให้ยา 1-2 มล.และเจือจางด้วยน้ำเกลือ เป็น 2-4 มล. พ่นผ่านทางเครื่องพ่นจนน้ำยาหมด
- รูปแบบแบบแีดให้ฉีดเข้ากล้ามในกรณีที่มีอาการรุนแรง
ผลข้างเคียง Salbutamol
ผลข้างเคียงของยาขึ้นกับปริมาณของยา วิธีการให้ และตัวผู้ใช้ แต่มักจะไม่รุนแรง อาการชนิดรุนแรงที่ต้องหยุดยาและแจ้งแพทย์ทันทีได้แก่
- เจ็บแน่นหน้าอกและหัวใจเต้นเร็ว แรง ผิดปกติ
- หายใจติดขัดมากขึ้น
- หายใจหวีดเนื่องจากหายใจขัด (wheezing) ที่มีอาการเพิ่มมากขึ้นหรืออาการไม่หายไป
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- ไข้
- ตะคริวกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ชาตามปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า
- บวมบริเวณใบหน้า ลำคอ ลิ้น ริมฝีปาก ดวงตา มือ เท้า ข้อเท้า หรือขาช่วงล่าง เสียงแหบ จุกปาก จุกคอ (anigioedema) ความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดอาการวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อาเจียน ผื่นลมพิษ ผื่นคัน
ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท C ให้ใช้ในกรณีที่จำเป็น
การใช้ salbutamol ในระหว่างการให้นมบุตร
salbutamol อาจจะถูกขับออกมาในน้ำนมของมนุษย์ แต่ความเข้มข้นไม่เป็นที่รู้จัก เท่าที่มีรายงานยังไม่พบว่าเกิดผลเสียต่อทารกในรายที่ได้รับยาพ่นสูดดม
การใช้ในเด็ก
salbutamol ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่าสองปี
การใช้งานผู้สูงอายุ:
ควรจะเริ่มต้นการใช้ salbutamol ที่ปริมาณที่ต่ำไว้ก่อน
ข้อควรระวัง:
- ควรจะระมัดระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคีหัวใจเต้นผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, hyperthyroidism, โรคชักและโรคเบาหวาน
- จะต้องดำเนินการการใช้ยาในผู้ที่ได้รับยา tricyclicยา (ต้านซึมเศร้า) , ยาขับปัสสาวะ,ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ปิดกั้น Beta
ยาเกินขนาด:
อาการที่พบบ่อยที่สุดของยาเกินขนาดกับ salbutamol มีสั่นใจสั่นหัวใจเต้นเร็วและ ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ชักหงุดหงิด อ่อนเพลียวิงเวียนปวดศีรษะเวียนศีรษะนอนไม่หลับ, อาจจะมีอาการมือสั่น หงุดหงิดง่าย รู้สึกไม่สบายหน้าอก, ปวดกล้ามเนื้อปวดศีรษะ ปากแห้งและแม้กระทั่งหัวใจหยุดเต้น
ข้อห้ามใช้ยา salbutamol
- ในผู้ที่มีประวัติของการเกิดปฏิกิริยาแพ้ (ลมพิษ angioedema ผื่น)เมื่อใช้ยา salbutamol หรือส่วนใด ๆ ของส่วนประกอบของ salbutamol
- มีข้อห้ามในผู้ป่วยที่มี tachyarrhythmias การเต้นของหัวใจจังหวะเร็วเกินไป
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
- ประวัติการแพ้ยา salbutamol หรือส่วนประกอบใดๆ ในยานี้ รวมถึงประวัติการแพ้ยาอื่นๆ เช่น sulfa หรือแพ้อาหาร สี สารกันเสีย
- ใช้หรือกำลังจะใช้ ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร
- มีหรือเคยมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) เบาหวาน ลมชัก ภาวะระดับเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ โรคปอด และโรคฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) ซึ่งเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง
- ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
โดยทั่วไปถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับการรับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยาในครั้งต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า
|
โรคหอบหืด
โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้จะมีอาการหอบ หรือเหนื่อยเมื่อสัมผัสสารภูมิแพ้ การรักษาต้องหลีกเลี่ยงและใช้ยาพ่นป้องกันอาการหอบหืด โรคหอบหืด |
|
โรคปอดบวม
โรคปอดบวมเกิดจากปอดติดเชื้อโรคทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาว และเชื้อโรคในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ ไข้สูง ปอดบวม |
|
โรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบเกิดจากเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ แต่ไม่หอบมาก หลอดลมอักเสบ |