jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคหอบหืด Asthma

โรคหอบหืดมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก  โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี

เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรคหอบหืด รวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศ และของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติและนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง

นิยามโรคหอบหืด Asthma  

โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรังของปอดที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นท่อที่นำอากาศเข้าและออกจากปอด เมื่อคุณเป็นโรคหอบหืด ทางเดินหายใจของคุณอาจอักเสบและตีบแคบลง ทำให้หายใจลำบาก.โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cellต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดและหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้


ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้

Normal Lungs

หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ

Asthmatic Lungs

เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

 

จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการโรคหอบหืด Asthma ดังต่อไปนี้

โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ

การวินิจฉัยโรคหอบหืด Asthma

จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด

หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ

การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้

เคล็ดลับการดูแลตนเองเพื่อจัดการกับโรคหอบหืด

  1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง: ซึ่งรวมถึงยาสูดพ่นบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว (ช่วยชีวิต) เพื่อบรรเทาอาการทันที และยาควบคุมระยะยาว (ควบคุมอาการ) เพื่อป้องกันการเกิดอาการหอบหืด
  2. ระบุและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น:จดบันทึกอาการและระบุปัจจัยกระตุ้นโรคหอบหืดของคุณ เมื่อคุณทราบปัจจัยกระตุ้นแล้ว ให้ดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้
  3. สร้างแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคหอบหืด:ทำงานร่วมกับแพทย์ของคุณเพื่อพัฒนาแผนงานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ระบุยาที่คุณใช้ในแต่ละวัน สิ่งที่ควรทำเมื่ออาการหอบหืดของคุณแย่ลง และเวลาที่ควรไปพบแพทย์ฉุกเฉิน
  4. ตรวจสอบอัตราการไหลสูงสุด:เครื่องวัดอัตราการไหลสูงสุดจะวัดความเร็วของการหายใจเอาอากาศออกจากปอด การตรวจสอบเป็นประจำจะช่วยให้คุณตรวจพบสัญญาณเริ่มต้นของโรคหอบหืดที่แย่ลงได้
  5. ฉีดวัคซีน:ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวมประจำปี เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้
  6. รักษาการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดี:รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ และจัดการกับความเครียดเพื่อให้ปอดของคุณแข็งแรง
  7. เลิกสูบบุหรี่:การสูบบุหรี่และการได้รับควันบุหรี่มือสองสามารถทำให้อาการของโรคหอบหืดแย่ลง และควบคุมโรคหอบหืดได้ยากขึ้น

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน






โรคหอบหืด

การวินิจัยโรคหอบหืด

ความรุนแรงโรคหอบหืด

ยารักษาโรคหอบหืด

แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง

แผนการรักษาหอบหืดเฉียบพลัน

เตรียมตัวก่อนพบแพทย์

อาการที่ต้องพบแพทย์ทันที

ผู้ที่ควรอยู่โรงพยาบาล

โรคหอบในภาวะพิเศษ