ยาขยายหลอดลมTheophylline

Theophylline เป็นยาที่เรียกว่ายาขยายหลอดลมที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืดและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ โรคหืดเป็นปัญหาการหายใจที่เกิดจากการตีบของหลอดลมนอกจากนั้นยังมีเสมหะหรือเมือกสะสม และมีการบวมของเยื่อบุหลอดลม เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการอุดกั้นหลอดลม ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจถี่

ยา Theophylline จะขยายหลอดลมทำให้หายใจได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Theophylline

  • Theophylline ใช้สำหรับการลดการบรรเทาและการป้องกันการกำเริบขอผู้ป่วยที่มีโรคหอบหืด
  • theophylline ยังสามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเมื่อมีกำเริบอาการหลอดลมอุดกั้น

theophylline สามารถใช้ร่วมร่วมกับยาขยายหลอดลมอื่น ๆ เช่น salbuterol

วิธีการใช้ยา Theophylline

ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดและแคปซูลธรรมดา ยาเม็ดและแคปซูลชนิดออกฤทธิ์นาน ขนาด 100, 125, 200, 300 และ 400 มก ยานี้มีทั้งชนิดออกฤทธื์สั้นคือ 6-12 ชั่วโมงซึ่งต้องรับประทานยาวันละ2-4ครั้ง และยาที่ออกฤทธื์นานคือมากกว่า 24 ชั่วโมงทำให้รับประทานยาวันละครั้ง

  • ปริมาณเริ่มต้นที่ 300-600 มิลลิกรัมวันละครั้ง หรือเป็นยาที่แบ่งออกเป็นเวลา 3 ครั้งต่อวันขึ้นกับรูปแบบของยา ปรับยาจนควบคุมอาการได้ โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 400-600 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ยานี้ควรจะรับประทานตอนท้องว่าง ยา theophylline ดีที่สุดในขณะท้องว่างทั้ง 1 ชั่วโมงก่อนหรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร
  • ไม่ควรจะบดหรือเคี้ยว
  • หลังจากรับประทานยาให้ดื่มน้ำตาม

ข้อควรระวัง

  • ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคตับ ผู้ที่เป็นโรคไต ทารก ผู้ที่มีอาการหัวใจวาย หรือผู้ที่มีไข้อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาแม้ว่าจะรับประทานยาขนาดปกติ
  • ควรจะมีการตรวจสอบระดับยาเป็นระยะ เนื่องจากหากระดับยาสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษของยา หากต่ำเกินไปก็ไม่สามารถควบคุมโรคได้

ปัจจัยที่ทำให้ระดับยา Theophylline สูงขึ้น

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ระดับ Theophylline สูงขึ้น ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษจาก Theophylline ปัจจับดังกล่าวได้แก่

อายุ

เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี, หรือผู้สูงอายุอายุมากกว่า 60 ปี

โรคร่วม

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมเฉียบพลัน, โรคหัวใจล้มเหลว โรคปอดเรื้อรัง ไข้สูงกว่า 102 °F เป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือมากกว่า ภาวะโลหิตเป็นพิษที่มีอวัยวะล้มเหลวและะช็อต

การเลิกสูบบุหรี่

ปัจจัยดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยา ดังนั้นจึงต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับยาในเลือด

ยาที่เพิ่มระดับยา Theophylline

ยาที่สามารถเพิ่มระดับของ theophylline ในเลือดได้แก่ อีเฟดรีน, allopurinol , cimetidine , ciprofloxacin (Cipro) clarithromycin , itraconazole , ketoconazole, erythromycin, ยาคุมกำเนิด, fluvoxamine (Luvox) และ propranolol (Inderal) ดังนั้นจะต้องระวังอาการข้างเคียงของยาหากใช้ร่วมกัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดพิษ theophylline ซึ่งจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ชัก กระสับกระส่าย และอันตราต่อชีวิตเนื่องจากการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การตั้งครรภ์:

ไม่มีการศึกษาอย่างเพียงพอในหญิงตั้งครรภ์ที่มี

การพยาบาลมารดา: Theophylline ถูกขับออกมาในนมแม่และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงเช่นหงุดหงิดในเด็กทารก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย, ปวดหัว, หงุดหงิด, และใจสั่น ควรใช้ความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง, โรคแผลในกระเพาะอาหาร, โรคลมชัก และโรคหัวใจที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับจังหวะการเต้นหัวใจ

ลืมรับประทานยา
ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท C 


หอบหืด

โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้จะมีอาการหอบ หรือเหนื่อยเมื่อสัมผัสสารภูมิแพ้ การรักษาต้องหลีกเลี่ยงและใช้ยาพ่นป้องกันอาการหอบหืด โรคหอบหืด



ปอดบวม

โรคปอดบวม

โรคปอดบวมเกิดจากปอดติดเชื้อโรคทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาว และเชื้อโรคในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ ไข้สูง ปอดบวม


หลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบเกิดจากเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ แต่ไม่หอบมาก หลอดลมอักเสบ