jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์

 

 

สำหรับท่านสุภาพสตรีที่คิดว่าจะมีบุตรนั้นมักจะมีประวัติขาดประจำเดือนมาก่อน และตามด้วยอาการของคนตั้งครรภ์ อาการของคนตั้งครรภ์แต่ละคนจะไม่เหมือนกันมากบ้างน้อยบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีครบ อาการที่พบบ่อยได้แก่

อาการขาดประจำเดือน

ส่วนใหญ่เกือบทั้งร้อยจะสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ต่อเมื่อขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนเลื่อนออกไป บางท่านอาจจะมีเลือกออกกระปริดกระปอยในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่เลือกออกไม่มากเหมือนประจำเดือน แต่สำหรับท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ท่านอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว คงต้องอาศันอาการอื่นร่วมด้วย

การเปลี่ยนแปลงร่างกาย

อาการปวดหลัง

อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยเกิดได้ตั้งแต่เดือนแรกจนใกล้คลอด สาเหตุเกิดจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นทำให้หลังต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งมีวิธีป้องกันดังนี้

คลิกที่นี่แสดงการบริหารเพื่อป้องกันการปวดหลัง ปวดหลัง

 

ปัสสาวะบ่อย

ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์คุณแม่คงจะมีความรู้สึกอยากปัสสาวะแม้ว่าจะเพิ่งไปปัสสาวะมาเนื่องจากมดลูกที่โตกดกระเพาะปัสสาวะ และฮอร์โมน human chorionic gonadotrophin (hCG) อาการปัสสาวะบ่อยจะดีขึ้นเมื่อมดลูกเจริญเข้าในท้องและจะเริ่มมีอาการอีกครั้งเมื่อเด็กใกล้คลอด เมื่อมีปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

อาการปวดท้องน้อย

เมื่อมดลูกใหญ่ขึ้นจะทำให้เอ็นทียึดมดลูกตึงตัว คุณแม่จะรู้สึกตึงหน้าท้องบางครั้งข้างเดียวบางครั้งสองข้างลักษณะจะปวดตึงๆมักจะเริ่มขณะอายุครรภ์ 18-24 สัปดาห์ การป้องกัน

อาการปวดศีรษะและอารมณ์แปรปวน

เป็นอาการที่พบได้บ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ความถี่ของการปวด และความรุนแรงจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนอาจจะร้องไห้ บางคนก็ปวดศีรษะ สำหรับท่านที่รับประทานยาเป็นประจำโปรดปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางประเภทไม่ควรจะรับประทานในคนท้อง โปรดปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

ริดสีดวงทวาร

เป็นหลอดเลือดที่โป่งพองมักจะพบในคนที่ท้องผูก หลังคลอดอาการท้องผูกจะดีขึ้น การป้องกัน

รูปใยอาหาร

อ่านเรื่องริดสีดวงทวาร

อาการจุกเสียดแน่นท้อง

คุณแม่จะมีอาการจุกเสียดท้องอาการจุกจะเริ่มจากกระเพาะไปสู่หลอดอาหารเกิดเนื่องจากมีกรดมาก อาหารย่อยช้าและมดลูกที่ดันกระเพาะปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้แน่นท้อง วิธีป้องกันอาการแน่นท้อง

นอนไม่หลับ

มดลูกเริ่มโตขึ้นคุณแม่จะหาท่าสบายๆนอนยากเต็มแต่ก็มีเคล็ดในการนอนคือ

ตะคริว

คุณแม่เมื่อใกล้คลอดจะมีอาการตะคริวที่เท้าทั้งสองข้างโดยมากมักจะเป็นขณะนอน มีวิธีป้องกันดังนี้

อ่านเรื่องตะคริว

อาการเหนื่อยหอบ

เมื่ออายุครรภ์ได้31-34 สัปดาห์มดลูกใหญ่ขึ้นจนดันกำบังลมทำให้รู้สึกหายใจไม่อิ่ม คุณแม่ไม่ต้องกังวลกับอาการนี้ว่าลูกจะได้ oxygen เพียงพอหรือไม่เด็กยังคงได้รับ oxygen อย่างเพียงพอ เมื่อใกล้คลอดอายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์จะเริ่มหายใจสะดวกขึ้นเนื่องจากเด็กเคลื่อนตัวลงช่องเชิงกรานวิธีป้องกันไม่หายเหนื่อย

การเปลี่ยนผิวหนังในคนท้อง

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่พบบ่อยๆคือ

อาการบวมและเส้นเลือดขอด อ่านที่นี่

ผู้ป่วยที่ใกล้คลอดอาจจะมีอาการบวมหลังเท้าวิธีแก้ให้นั่งหรือนอนยกเท้าสูง ห้ามซื้อยาขับปัสสาวะมารับประทานเด็ดขาด ถ้าหากบวมแขนหรือหน้าต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ

เส้นเลือดขอดเกิดจากมดลูกกดทับเส้นเลือดดำอาจจะเกิดบริเวณขา อวัยวะเพศหลังคลอดจะหายไปวิธีป้องกัน

การตั้งครรภ์