หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
- เมื่อมดลูกโตขึ้นคุณแม่จะมีอาการปวดท้อง ปวดแป๊บๆบริเวณท้องหรือบริเวณสะโพก อาจจะปวดข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง บางคนปวดร้าวลงบริเวณขาหนีบ เนื่องจากมดลูกที่โตทำให้เอ็นที่ยึดมดลูกมีการยืด
- อาการอื่นๆที่พบได้แก่ ท้องผูก ตะคริว บวมหลังเท้า ปวดหลัง
- ตามผิวหนังจะพบหลอดเลือดขยายเห็นได้ชัดบริเวณใบหน้า ไหล่ แขน
- ฝ่ามือจะมีสีแดงชัดเจนเนื่องจากฮอร์โมน estrogen ที่เพิ่มขึ้น
- จะมีฝ้าขึ้นบริเวณริมฝีปาก แก้ม หน้าฝาก หัวนม บริเวณแผลเป็น อวัยวะเพศ รอยดำดังกล่าวจะค่อยเลือนไปหลังจากคลอดบุตร การป้องกันทำได้โดยการหลีกเลี่ยงแสงแดดซึ่งจะกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์เม็ดสีที่ผิวหนัง
- คุณแม่หลายท่านอาจจะกังวลเนื่องจากฟังคนที่เคยมีประสบการณ์เล่าเรื่อง ขนาดของครรภ์เมื่อเทียบกับอายุครรภ์ ว่าท่านมีขนาดของท้องเล็กหรือใหญ่ไป ท่านไม่ต้องกังวลเนื่องจากการตั้งครรภ์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
- คุณแม่จะมีอาการเหนื่อยง่ายเนื่องจากหัวใจแม่ จะต้องทำงานหนักเพื่อปั๊มเลือดไปเลี้ยงทารก คุณแม่จะต้องรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก means red meat, green leafy vegetables, good quality cereals and fresh fruit.
- คุณแม่จะขี้ร้อน ให้เลือกเสื้อผ้าเหมาะสม และอาบน้ำให้บ่อย ห้องที่นอนควรจะมีพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
- เฝ้าดูเรื่องการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- จุกเสียดแน่นท้องเนื่องจากรกดไหลย้อน ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรจะรับประทานอาหารรสจัด หลังจากรับประทานอาหารแล้วไม่ควรที่จะนอนทันที
การเปลี่ยนแปลงของทารก
- ลูกจึงมีลำตัวยาวประมาณ 19 ซม. แล้ว
- ผิวเด็กยังบาง และเห็นหลอดเลือดที่ผิวหนัง
- ผิวเด็กจะเริ่มมี wax ปกคลุมตัว
- ไตของเด็กทำงานดีขึ้นซึ่งจะขับปัสสาวะออกมาในน้ำคร่ำ
- ทารกจะมีผมมากขึ้น
- พัฒนาการที่สำคัญคือ การเจริญเติบโตของสมอง เซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ที่เชื่อมโยงระหว่างกล้ามเนื้อ และสมองจะพัฒนาเต็มที่ ดังนั้นทารกจึงสามารถสั่งการเคลื่อนไหวของตนเองได้ ใบหูเริ่มคลี่ตัวออกมาจากศีรษะ มีปุ่มฟันแท้ขึ้นมาหลังปุ่มฟันน้ำนม แขน ขามีสัดส่วนมากขึ้น
- หนังศีรษะเริ่มมีผมงอกออกมา เล็บมือและเท้าเริ่มเจริญขึ้น ผิวหนังหนาขึ้นเป็น 4 ชั้น ในช่วงนี้คุณควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสี เพราะนอกจากจะช่วยเสริมการเติบโตของทารกในครรภ์ ก็ยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย สังกะสีมีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และถั่วอบแห้ง
- สัปดาห์นี้ลูกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว เซลล์สมองยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ประสาทไขสันหลังเริ่มหนาตัวขึ้น ตอนนี้ต่อมรับรสของลูกเจริญเต็มที่แล้วและลูกจะเริ่มรับรู้รสหวานของน้ำคร่ำในมดลูกของคุณ ก่อนที่เขาจะลืมตามาดูโลก และสิ่งนี้ ทำให้ลูกรู้สึกชอบรสหวานซึ่งให้ความรู้สึกสงบและอบอุ่น
- การได้ยินซึ่งพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและไวพอที่จะได้ยินเสียงที่สูงหรือต่ำเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะได้ยินอีกด้วย
การดูแลตัวเอง
- ไม่ควรจะซื้อยารับประทานเอง รวมทั้งสมุนไพรทุกชนิดโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
- สมองเด็กมีการพัฒนาระบบการได้ยิน กลิ่น รส การมองเห็น การสัมผัส ดังนั้นให้พูดคุยกับทารกในครรภ์ อ่านหนังสือให้ทารกฟัง ร้องเพลงให้ลูกฟัง
- ออกกำลังกายโดยการยกน้ำหนักเพื่อคุมน้ำหนัก และป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- จะเปลี่ยนท่าจากนอนไปสู่ท่ายืน ให้เปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน หลังจากนั้นจึงจะเป็นท่ายืนเพื่อป้องกันหน้ามืดเป็นลม
- ในระยะนี้แพทย์อาจจะตรวจพิเศษเช่นการตรวจ ultrasound หรือการตรวจเพื่อคนหาเด็กว่ามีความพิการแต่กำเนิดหรือไม่ โดยจะค้นหาในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดบุตรที่พิการแต่กำเนิด