หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18
การเปลี่ยนแปลงสำหรับคุณแม่
- สำหรับคุณแม่มือใหม่สัปดาห์คุณแม่อาจจะตื่นเต้น เพราะคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้นซึ่งเกิดจากเด็กเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น
- อาจพบว่าบางครั้งรู้สึกเกิดอาการวิงเวียน นั่นก็เป็นเพราะว่าหัวใจของคุณทำงานหนักขึ้น 40 - 50 เท่า เมื่อเทียบกับตอนก่อนตั้งครรภ์
- คุณแม่จะเริ่มมีอาการหิวบ่อย และเสื้อผ้าคับ
- มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะเริ่มกดเส้นเลือดบางส่วน คุณแม่จะรู้สึกหน้ามืดบ้างเป็นบางครั้งหากเปลี่ยนท่าไว และควรระมัดระวังในการลุกนั่ง พยายามอย่าลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว
- สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องพักผ่อนบ่อยๆและควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว อาจทำให้คุณวิงเวียนได้ ทั้งนี้ ควรพยายามทานสารอาหารที่ย่อยสลายช้า เช่น สารอาหารที่พบในข้าวโอ๊ตหรือผลไม้และผัก แทนที่จะทานขนมหวาน
- ตั้งแต่การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่18-22 แพทย์จะนัดตรวจ Ultrasound เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารกว่าเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่
- ในระยะนี้สามารถแยกเพศจาก ultrasound ได้
- ในระยะนี้ควรจะนอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดเส้นเลือด
การพัฒนาของทารก
- ลูกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและตอนนี้มีลำตัวยาวประมาณ 18 ซม. แล้ว
- ลูกดูดหัวแม่มือได้แล้วและกำลังฝึกหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าปอดและหายใจออกโดยการปล่อยน้ำคร่ำออกมา
- ผิวหนังของลูกยังย่นอยู่เพราะยังไม่มีการสร้างไขมันใต้ผิวหนัง
- ตำแหน่งของหูอยู่ในตำแหน่งเหมือนคนปกติ
- จังหวะแห่งชีวิตเริ่มลงตัวและเริ่มมีพัฒนาการของนิสัยในการนอน
- นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ที่คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวไปมา
- เริ่มมีลายนิ้วเฉพาะของตนบนนิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆ ถ้าลูกของคุณเป็นเด็กผู้ชาย ระยะนี้ก็จะเป็นช่วงที่คุณได้เห็นอวัยวะเพศของเขาได้ชัดเจนและง่ายขึ้นหากตรวจอัลตราซาวนด์
- อวัยวะสืบพันธ์เช่น รังไข่หรือท่อรังไข่จะอยู่ในตำแหน่งของคนปกติ
- กระดูกมีความแข็งแรงขึ้นดังนั้นคุณแม่จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมได้แก่ นม โยเกิตร์ ชีส custard, ice-cream, ผักใบเขียว
การดูแลการตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์
- แพทย์จะทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจการพัฒนาของทารก และสามารถตรวจความพิการของทารก
- แพทย์เจาะเลือดคุณแม่ตรวจ alfa-Fetoprotein ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติของการพิการแต่กำเนิดของทารกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจ triple test screening
การปฏิบัติตัวสำหรับคุณแม่
- การเปลี่ยนท่าจากนอนมาเป็นท่ายืนจะต้องเปลี่ยนเป็นท่านั่งสักครู่จึงเปลี่ยนเป็นท่ายืน เนื่องจากมดลูกกดทับหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตต่ำ
- ต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง
- ให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันมดลูกกดทับหลอดเลือด
- ให้มีการนอนพักในเวลากลางวันวันละประมาณ 30 นาที