หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่
- มดลูกของคุณแม่มีขนาดเท่าลูกฟุบอล ยอดมดลูกอยู่ระหว่างสะดือและชายโครง
- ขนและผมจะดกขึ้น ขนเหล่านี้จะล่วงหลังจากคลอดบุตรแล้ว
- คุณแม่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 11 - 16 กิโลกรัมในช่วง 9 เดือนนี้ และหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มากเกินไป ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7 - 11 กิโลกรัม
- คุณแม่ยังสามารถออกกำลังกายได้ แต่ต้องระมัดระวัง และเน้นเรื่องความปลอดภัย
- เมื่อแปรงฟันอาจจะมีเลือดออกให้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน หากมีเลือดออกก็ไม่จำเป็นต้องหยุดแปรงฟัน แต่ควรจะแปรงเพิ่มขึ้น หากไม่หายให้ปรึกษาแพทย์
- ระยะนี้จะหิวบ่อย แต่ต้องเลือกประเภทอาหารที่รับประทานที่มีคุณภาพ เช่น ขนมปังธัญพืช นมสด ผลไม้ ให้หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารมัน
- คุณแม่ยังคงมีอาการจุกเสียดท้องเนื่องจากขนาดมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นดันกระเพาะ ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อย
- นอกจากนั้นยังมีอาการรู้สึกเหนื่อยง่าย
- มีอาการบวมมือเท้า และหน้า
- หากคุณแม่ำงานจะต้องศึกษาเรื่องการลาว่าจะลาก่อนคลอดได้กี่วัน และลาหลังคลอดได้กี่วัน รวมทั้งสิทธิระหว่างลา
- ขณะนั่งรถให้สวมเขมขัดนิรภัย
- หลีกเลี่ยงจากสถานที่สูบบุหรี่
- ให้นอนตะแคงซ้าย หากนอนหงายจะมีอาการหน้ามืดเนื่องจากมดลูกกดหลอดเลือด
- หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ listeria
การพัฒนาของทารก
- ร่างกายทารกเริ่มมีการสะสมไขมันทำให้มีลักษณะเหี่ยวย่นลดลง
- ในครรภ์มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 34 ซม. และหนักประมาณ 600-660 กรัม
- สามารถจดจำเสียงของคุณพ่อได้แล้วด้วย คุณอาจเปิดเพลงเบาๆ ให้ลูกน้อยฟัง เพราะสมองของลูกพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยพยายามเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยของคุณแม่เริ่มจดจำสิ่งต่างๆ ได้ตั้งแต่ขณะที่อยู่ในครรภ์
- ลูกสะอึกเนื่องจากช่วงนี้ลูกกำลังฝึกการหายใจอย่างขะมักเขม้นเลยทีเดียวค่ะ
- ทารกจะมีการเครื่อนไหวมากขึ้น และรุนแรงขึ้นจนคุณแม่รู้สึกได้
- ทารกจะเริ่มมีการกระพริบตา
- หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 140 ครั้งต่อนาที
- หากมีการคลอดก่อนกำหนดโอกาศที่จะมีชีวิตรอดก็มีเพิ่มเนื่องจากปอดได้สร้างสาร surfactant ฉาบถุงลมแล้ว
- ก้นของทารกจะอยู่ล่างศีรษะจะอยู่บน หรือที่เรียกว่าท่าก้น
การฝากครรภ์
การตรวจในระยะนี้เพื่อค้นหาโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษ
- ในช่วงระยะเวลาการต้งครรภ์24-28 สัปดาห์แพทย์จะนัดเจาะเลือดเพื่อตรวจโรคเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ และโรคโลหิตจาง
- วัดความดันโลหิต
- การตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีน