การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32


การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ขนาดมดลูกยังโตขึ้น ยอดมดลูกจะอยู่เหนือสะดือ 5 นิ้ว ทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้อง เนื่องจากมดลูกดันกระเพาะอาหาร น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มสัปดาห์ละ 5 ขีด ปริมาณเลือดของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40-50

เมื่อหัวทารกเคลื่อนลงอุ้งเชิงกรานจะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณรอยต่อของกระดูกเชิงกราน และกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะทำให้เกิดปัสสาวะบ่อย คุณแม่บางท่านจะมีอาการปัสสาวะเร็ดเมื่อไอหรือจาม ริดสีดวงทวารจะเป็นมากขึ้น เนื่องจากแรงดันในหลอดดำเพิ่มขึ้น บางทีริดสีดวงทวารทำให้เลือดออกได้

คุณแม่จะรู้สึกหายใจลำบากเนื่องจากยอดมดลูกอยู่บริเวณชายโครงของคุณแม่ พยายามยืนหรือนั่งหลังตรง และนอนให้ไหล่และศีรษะอยู่สูงซึ่งจะลดอาการหายใจลำบาก

การเปลี่ยนแปลงของทารก

เมื่อจะสิ้นสุดปลายเดือนที่แปดนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 36-40 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2 กิโลกรัม การทำงานของอวัยวะเกือบสมบูรญจะมีชีวิตรอดได้หากคลอดออกมาในเดือนนี้

ปอดมีการพัฒนาเกือบจะสมบูรญ์แต่ยังคงต้องสร้างฮอร์โมนเพื่อให้ปอดทำงานได้สมบูรญ์ขึ้น เมื่อคลอดโดยอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจเพราะปอดมีความสมบูรณ์มาก

ในสี่สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอดทารกจะมีการพัฒนาในเรื่องของน้ำหนัก และการสร้างชั้นไขมันใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันและรองรับแรงที่จะเกิดขึ้นระหว่างการคลอด

สมองมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในเดือนนี้ ทารกสามารถเรียนรู้สิ่งที่อยู่ภายนอก ลองคุยกับลูก หรือ เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคย

ใบหน้าของทารก เมื่อคลอดจะมีลักษณะกลมและขอบตาอาจมีสีคล้ำ แต่หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและสีผิว

แขนขาของทารกนั้นได้มีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ กระดูกมีความแข็งแรง และนิ้วมีนิ้วเท้ามีเล็บขึ้นเต็มปลายนิ้วพอดี

ขนอ่อนๆตามตัวของทารกนั้นได้หายไปเกือบหมดในเดือนที่แปด แต่บางส่วนก็ยังมีเหลืออยู่ให้เห็นหลังคลอด ผิวหนังของทารกจะมีสีซีด ลอกเป็นขุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฝ่ามือทั้งสองข้าง

อวัยวะของระบบสืบพันธุ์ในทารกเพศหญิงจะมีเนื่อเยื่อที่จะเจริญไปเป็นเต้านม และหัวนมเริ่มเห็นชัดเจน ในทารกเพศชาย ลูกอัณฑะที่เคยอยู่ในช่องท้องตอนนี้ได้เคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว

ในเดือนที่แปดนี้จะหมุนตัวกลับเอาศีรษะลงไปสู่เชิงกรานของแม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด คุณแม่จะรู้ได้โดยจะมีอาการเจ็บบริเวณหัวเหน่า มีอาการแน่นท้องน้อย ปัสสาวะบ่อย มีอาการจุกหน้าอกลดลง และคุณสามารถพบว่าส่วนที่แข็งๆและเป็นศีรษะของทารกอยู่บริเวณชายโครง และเท้าเล็กๆถีบลงบนบริเวณท้องส่วนล่างของคุณ คุณหมอสามารถตรวจพบได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ หากในเดือนที่เก้าทารกยังคงไม่หมุนศีรษะกลับลงมาสู่อุ้งเชิงกราน การผ่าตัดคลอดก็จะถูกกำหนดขึ้น

 

การดูแลตัวเอง

  • หากการตั้งครรภ์ดำเนินตามปกติไม่มีภาวะเสี่ยงหรือโรคแทรกซ้อนแพทย์จะนัดตรวจเดือนละครั้ง ต่อไปจะนัดทุกสองสัปดาห์ เมื่อใกล้คลอดจะนัดสัปดาห์ละครั้ง
  • หากมีอาการเจ็บท้องเตือนบ่อยก็มีวิธีที่จะลดการเจ็บท้องเตือนดังนี้
    • การเปลี่ยนท่า จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นยืน หรือเดิน
    • อาบน้ำอุ่นสัก 30 นาที
    • ดื่มน้ำสองแก้ว หรือนมอุ่น
  • เรียกรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนด
  • การตรวจหาความพิการของทารก

แพทย์จะแนะนำเรื่อง

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่31 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่33

 

เพิ่มเพื่อน